ความแตกต่างระหว่าง ถ่านชีวภาพ ไบโอชาร์ กับถ่านเชื้อเพลิง คาร์บอนกัมมันต์
วันที่เขียน 10/6/2564 22:31:38     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 11/10/2567 13:22:09
เปิดอ่าน: 2299 ครั้ง

ในกระบวนการเผาถ่าน เราจะพบว่าของแข็งที่เผาได้มีสีดำ เราจะแยกได้อย่างไร ว่าเป็นถ่านไบโอชาร์ หรือถ่านชีวภาพ หรือเป็นถ่านเชื้อเพลิง หรือถ่านกัมมันต์

ก่อนอื่นเรามารู้จัก กระบวนการเผากันก่อน 

  • กระบวนการเผาของแข็งให้เป็นถ่าน นั้นเป็นกระบวนการเผาแบบใช้อากาศน้อย สิ่งที่ต้องการเพื่อให้มีของแข็งเหลืออยู่จำนวนมาก หากเราใช้อากาศมากจะได้แก๊สมากกว่าและเหลือของแข็งออกมาน้อย

ถ่านชีวภาพ หรือไบโอชาร์ 

  • อุณหภูมิในการผลิตถ่านชีวภาพทั่วไปจะไม่เกิน 700 องศาเซลเซียส ถ้าสูงกว่านี้จะได้ถ่านที่มีคาร์บอนปริมาณสูง
  • วิธีสังเกตุว่าเป็นถ่านชีวภาพ ง่ายๆ  นำมาบีบ หรือหัก  จะแตกง่าย หักง่าย ถ้าเทียบกับชีวมวลหรือกิ่งไม้ ก่อนเผา จะหักยากกว่า
  • ถ่านชีวภาพที่แตกง่าย เมื่อนำมาใช้ปรับปรุงดินผสมดิน จะทำให้ดินร่วน และช่วยอุ้มน้ำ และเพิ่มช่องว่างในดิน
  • ถ่านชีวภาพที่ได้จะมีประจุลบ ที่เหมาะสำหรับนำไปใช้ปรับปรุงดินและแร่ธาตุในดินที่มีทั้งประจุบวกและประจุลบ

ถ่านเชื้อเพลิง

  • อุณหภูมิในการเผาถ่าน จะสูงกว่า 700 องศาเซลเซียส   และในการเผาจะได้น้ำส้มควันไม้ออกมา
  • ถ่านเชื้อเพลิง ถ่านเชื้อเพลิงจะแข็ง เคาะแล้วมีเสียงดัง ในการเผาจะเหลือสารระเหยในถ่านน้อย และเมื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงจุดไฟ 
  • มีค่าการนำไฟฟ้าสูงหรือมีต้านท่านต่ำ หากวัดความต้านทาน จะมีความต้านทานต่ำ ซึ่งเราสามารถ
  • มีค่าความร้อนสูงกว่าถ่านชีวภาพ  เหมาะสำหรับนำไปใช้ให้ความร้อน

หากต้องการทราบสมบัติของถ่านชีวภาพที่ผลิตได้สามารถส่งวิเคราะห์ หรือสอบถามรายละเอียดการวิเคราะห์

รายละเอียดการวิเคราะห์สมบัติของถ่านชีวภาพ 

https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1260

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ถ่านชีวภาพ » การวิเคราะห์สมบัติของถ่านชีวภาพตามมาตรฐาน
ถ่านชีวภาพที่ผลิตได้จะมีสมบัติแตกต่างกันตามกระบวนการและวัสดุที่ใช้ในการผลิต หากจะนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการนำมาใช้ในการเกษตร พืชก็มีความต้องการสมบัติของ ดิน น้ำ ถ่านชีวภาพที่มีความเหมาะสมกับชนิดแล...
ถ่านชีวภาพ มาตรฐาน การวิเคราะห์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ผู้เขียน ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย  วันที่เขียน 17/3/2565 14:57:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/10/2567 15:16:28   เปิดอ่าน 1900  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง