จากประกาศของกระทรวงสาธารณสุข http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/118/T_0017.PDF
ได้ประกาศเกี่ยวกับมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ได้กำหนดปริมาณสูงสุดของโลหะหนัก เช่น แคดเมียม ดีบุก ตะกั่ว ปรอท สารหนู เป็นต้น
โดยมีอยู่ในเมล็ดธัญพืช ข้าว ผักใบ ลำต้น ก้าน ผล รากและหัว รวมถึงในชา ชาสมุนไพร สาหร่าย ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ผลไม้ เป็นต้น
มีงานวิจัยที่ได้มีการศึกษาการใช้ถ่านชีวภาพหรือไบโอชาร์เป็นวัสดุปลูก เพื่อช่วยตรึงโลหะหนักเพื่อลดการดูดซึมโลหะหนักในพืช โดยทางทีมวิจัยได้มีการศึกษาค้นคว้าและทำการทดลองกับพืชผักสวนครัว หลายชนิด และกำลังทดสอบประสิทธิภาพการลดปริมาณโลหะหนักในพืชผักสวนครัว เช่น ตะกั่ว แคดเมียม สารหนูและปรอท เป็นต้น
โดยพบว่าถ่านชีวภาพมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยุ่กับหลายปัจจัย เช่น
- ชนิดพืชที่ปลูก
- ตำแหน่งการสะสมของโลหะหนักในพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล จะปริมาณการสะสมแตกต่างกัน
- ชนิดของโลหะหนักที่สะสม
- กระบวนการผลิตถ่านชีวภาพ
- วัสดุที่นำมาใช้ผลิตถ่านชีวภาพ
ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อปริมาณโลหะหนักที่สะสมแตกต่างกัน ทั้งนี้ทางทีมวิจัยอยู่ะระหว่างการศึกษาและทดลอง โดยในงานวิจัยนี้ได้มีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณโลหะหนักในผลผลิตเกษตร เพื่อสร้างความปลอดภัยของอาหาร เพื่อความมีสุขภาพดีของผู้บริโภคทุกคน
งานวิจัยที่เผยแพร่เกี่ยวกับการใช้ไบโอชาร์ในการดูดซับโลหะหนัก
https://www.researchgate.net/profile/Thanasit-Wongsiriamnuay/publications
หากต้องการตรวจวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในถ่านชีวภาพ ดิน นำ้หรือผลผลิตเกษตร สามารถดูรายละเอียดการวิเคราะห์ได้ทาง
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1260
ขอขอบคุณ ทีมวิจัยไบโอชาร์ หน่วยวิจัย GET (Green and Eco Technology Unit Research) คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในส่วนเนื้อหาที่ใช้เผยแพร่