เผยแพร่ความรู้การร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติ MJU Annual Conference 2018
วันที่เขียน 15/1/2562 16:02:49     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 22:48:00
เปิดอ่าน: 2904 ครั้ง

จากการได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติ รวมทั้งได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ ในรูปแบบภาคโปสเตอร์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวข้อ การเตรียมเอนไซม์อาหารสัตว์จากก้อนเพาะเห็ดเก่าเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ของอาหารสัตว์เศรษฐกิจในท้องถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2561 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้

         จากการได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติ รวมทั้งได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ ในรูปแบบภาคโปสเตอร์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  หัวข้อ การเตรียมเอนไซม์อาหารสัตว์จากก้อนเพาะเห็ดเก่าเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ของอาหารสัตว์เศรษฐกิจในท้องถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2561  ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้  สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้ 

  • ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร  

ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร” โดยวิทยากร พันเอก รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital transformation)ความรู้ที่ได้รับในส่วนนี้ สามารถนำมาตั้งโจทย์วิจัยให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้ โดยสร้างองค์ความรู้ที่สามารถต่อยอดสร้างนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตพืชต่าง ๆจำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตทางการเกษตรและอาหารมีแนวโน้มเติบโตไม่ทันต่อความต้องการของประชากร การนำเทคโนโลยีดิจิตอลที่ทันสมัยมาใช้ทางด้านการเกษตร ที่เรียกว่า การเกษตรอัจฉริยะ หรือ การเกษตรแม่นยำ จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยสามารถช่วยสร้างผลผลิตที่มีประสิทธิภาพในภาคการเกษตร โดยใช้พื้นที่ทางการเกษตรและทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะมีความก้าวหน้าไปอย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และยุโรป เช่น การพัฒนาอุปกรณ์ตรวจจับการไหลผ่านของเมล็ดพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ในประเทศเกาหลีใต้ได้ไปเรียนรู้และนำเทคโนโลยีมาพัฒนาปรับแต่งให้เข้ากับสภาพแวดล้อม โดยมีตัวเซนเซอร์ให้สามารถตรวจจับเมล็ดข้าวขนาดเล็ก และมีซอฟต์แวร์ควบคุมจังหวะการปล่อยเมล็ดข้าวลงไปเพาะในนาให้ถูกต้อง

  • การพัฒนากรงไก่ไข่สำหรับนับจำนวนไข่และควบคุมการให้อาหาร

การนำเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายมาประยุกต์ใช้กับการเลี้ยงปศุสัตว์ และพัฒนาองค์ความรู้ ระบบประกอบด้วยกรงเลี้ยงไก่ไข่จำลอง และ Node MCU esp8266 ใช้สำหรับประมวลผลและส่งข้อมูลไปยังระบบคลาวด์ เซนเซอร์ Reflective photoelectric เพื่อตรวจนับจำนวนไข่ไก่ มีการแสดงผลผ่านเว็บแอปพลิเคชัน ส่วนการให้อาหารไก่ควบคุมการเปิด-ปิด มอเตอร์เซอร์โวผ่านเว็บแอปพลิเคชัน โดยการนำเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายมาประยุกต์ใช้กับการเลี้ยงปศุสัตว์ และพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับเกษตรกรในชุมชน

  • สมาร์ทฟาร์มเห็ด

เป็นระบบการผลิตเห็ดที่นาเทคโนโลยีระบบควบคุมและแจ้งเตือนอัจฉริยะ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ ส่งไปยังสมาร์ทโฟนเพื่อให๎ทราบถึงสถานะปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายใน

โรงผลิตเห็ดโดยเฉพาะความชื้นในปัจจุบันได้อย่างรวดเร็วสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันทีในทุกพื้นที่ที่มีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และการจัดการองค์ความรู้ในสวนสมุนไพรโดยประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ด

        จากความรู้ที่ได้รับข้างต้นทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานและชีวิตประจำวัน และการที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการวางแผนการจัดสื่อ วัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆ ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยต่อไปในอนาคตได้

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=920
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
พัฒนาตนเอง-นงคราญ » “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร"
จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร “อุดมคติ On Tour" เรื่องหัวข้อ “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตคราฟต์เบียร์ ...
กลุ่มงานช่วยวิชาการ  การผลิตคราฟต์เบียร์  เบียร์ (ฺBeer)  พัฒนาตนเอง  อบรม  อบรมเชิงปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 9/1/2567 14:47:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 22:23:29   เปิดอ่าน 497  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการระดับชาติ » งานประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 เรื่อง นวัตกรรมเกษตรอาหาร และสุขภาพ
จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติซึ่งการจัดการประชุมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 4/1/2567 14:54:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/3/2567 11:37:34   เปิดอ่าน 108  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ (Systematic Review) » การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ (Systematic Review) โดยใช้ chat gpt เข้ามาช่วย
การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ (Systematic Review) เป็นกระบวนการที่เรียบร้อยและเป็นระบบในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยที่มีอยู่เพื่อสรุปข้อมูลและข้อสรุปที่มีค่าในสาขาวิชาต่าง ๆ การใช้ Chat GP...
Chat GPT Systematic Review     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ศิรินภา อ้ายเสาร์  วันที่เขียน 26/9/2566 16:11:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 23:58:02   เปิดอ่าน 120  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง