รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ MJU Annual Conference 2018
วันที่เขียน 8/1/2562 14:02:12     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 18:51:43
เปิดอ่าน: 2867 ครั้ง

รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561 และเสนอผลงานวิชาการ ในวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเจ้าร่วมฝึกอบรมดังต่อไปนี้ 

  1. ได้นำเสนอผลงานโปรสเตอร์ เรื่อง การศึกษาความต้องการของชุมชนเพื่อนำมาพัฒนาระบบต้นแบบที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสังคมออนไลน์มาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในพื้นที่ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (A Study on Community Needs for the Prototype Development using Information Technology and Social Media for Promoting Agritourism, Pong Yeang district, Mae Rim district, Chiang Mai.)   เนื้อหาสำคัญคือ ผู้ประกอบการและชุมชนด้านการท่องเที่ยวต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังและสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำกับนักท่องเที่ยว โดยบูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสังคมออนไลน์ งานวิจัยนี้ได้สำรวจและศึกษาถึงความต้องการของผู้ประกอบการและชุมชนโป่งแยง  ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลด้านความต้องการและปัญหาด้านการท่องเที่ยว พบว่าในชุมชนโป่งแยงมีความต้องการอย่างเร่งด่วน ด้านระบบเว็บไซต์ที่เป็นศูนย์รวมให้กับชุมชน (Web Service Center) ที่สามารถให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย จัดการและส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนอย่างเท่าเทียมกัน มีการออกแบบระบบต้นแบบด้วยหลักการของยูเอ็มเอล (UML) และหลักทฤษฏีกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เอจาลย์ มีกลุ่มผู้ใช้งาน 3 ประเภท คือ กลุ่มนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และผู้ดูแลระบบ มีการออกแบบระบบต้นแบบที่คำนึงถึงการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับผู้ใช้ (UX/UI) และมีความสามารถในการแสดงผล (Responsive Design) ใช้งานได้ทุกอุปกรณ์ (Any Devices) ได้ผลลัพธ์เป็นระบบต้นแบบในรูปของ Website Wireframe มีการทำงานหลักทั้งหมด 42 ยูสเคส คือกลุ่มนักท่องเที่ยว 16 ยูสเคส กลุ่มผู้ประกอบการ 11 ยูสเคสหลัก และผู้ดูแลระบบ 15 ยูสเคสหลัก หลังจากได้ต้นแบบ (prototype) ได้ทำการทดสอบด้วยระบบมือกับกลุ่มเป้าหมาย (Manual Acceptance Test) พบว่ามีผลการยอดรับผลการทดสอบ Mockup Wireframe ต้นแบบดังกล่าวร้อยละ 90
  2. ได้เป็นผู้ร่วมนำเสนอผลงานโปรสเตอร์ เรื่อง  เทคโนโลยีเซ็นเซอร์สำหรับการตรวจสอบการทำงานของพัดลมในระบบระบายความร้อนด้วยเครื่องระเหย  (Sensor Technologies for Monitoring Cooling Fan Operation in Evaporative Cooling System)  เนื้อหาสำคัญคือ ฟาร์มปศุสัตว์ในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะฟาร์มไก่ เป็นรูปแบบโรงเรือนปิดด้วยระบบระบายความร้อนด้วยเครื่องระเหย เพื่อควบคุมอุณหภูมิภายในและการถ่ายเทอากาศให้เหมาะสม ซึ่งระบบพัดลมเป็นหนึ่งในส่วนประกอบหลักในการทำงานของระบบ โดยหนึ่งในปัญหาที่สร้างความเสียหายให้กับเกษตรผู้เลี้ยงไก่เป็นอย่างมาก คือ ระบบระบายความร้อนด้วยเครื่องระเหยเกิดความขัดข้อง โดยเฉพาะในส่วนของพัดลม ที่อาจเกิดการหยุดทำงาน เนื่องจากไฟฟ้าดับหรือพัดลมขัดข้อง งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการนำเทคโนโลยีเซ็นเซอร์มาใช้สำหรับการตรวจสอบการทำงานของพัดลมในระบบระบายความร้อนด้วยเครื่องระเหย โดยใช้เซ็นเซอร์การตรวจจับหมุนของพัดลมโดยตรง และได้ทำการทดลองใช้งานจากเซ็นเซอร์สามรูปแบบคือ อินฟราเรด, จับการเคลื่อนไหว, และรูปแบบเสียงด้วยคลื่นอัลตราโซนิค มาใช้ในการตรวจสอบการทำงานของพัดลม ผลการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า เซ็นเซอร์รูปแบบเสียงด้วยคลื่นอัลตราโซนิค มีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยมีความแม่นยำถึง 99 เปอร์เซ็นต์ โดยรองลงมาคือเซ็นเซอร์อินฟราเรด ซึ่งมีความแม่นยำ 97 เปอร์เซ็นต์ และเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวนั้น มีความแม่นยำเพียง 48 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
  3. จากการได้เข้าร่วมประชุมรับฟังการนำเสนอผลงานทางวิชาการเรื่อง “ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร (Digital Transformation)” บรรยายโดย รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ  ยุคแห่งการ Transformation จากโลกอุตสาหกรรม ไปสู่ยุคดิจิตอลกำลังเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลายภาคส่วนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Industry 4.0) กำลังทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง (radical change) ในทุกอุตสาหกรรม เพราะการพลิกผันของเทคโนโลยี (Technology disruption) การก้าวเข้าสู่การปฏิบัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Industry 4.0) กำลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง (radical change) ในทุกอุตสาหกรรม เพราะการพลิกผันของเทคโนโลยี (Technology disruption) ทำให้บริษัทในรูปแบบดิจิทัลสามารถเข้าถึงลูกค้าใหม่ได้อย่างทันทีและมีต้นทุนที่น้อยมาก  และบริษัทสามารถแข่งขันในภาคธุรกิจใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำได้มาก่อนในอดีต จนทำให้องค์กรขนาดเล็กสามารถปรับปรุงคุณภาพให้บริการและผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างก้าวกระโดด ด้วยการหลอมรวมการเทคโนโลยีและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ยิ่งใหญ่มากก่อน 

โดยการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561 และเสนอผลงานวิชาการ  ในวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ นั้น ข้าพเจ้าได้รับความรู้และได้นำเสนอผลงาน และได้นำองค์ความรู้ที่ได้ประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในรายวิชา ทส105 การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้และประสบการณ์ผู้ใช้  และ ทส215 การโปรแกรมฝั่งไคลเอนต์  ในภาคเรียนที่ 2/2561  และปรับปรุงพัฒนาการเขียนผลงานตีพิมพ์ในวิจัยต่อไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=912
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
เผยแพร่ผลงานวิจัย » Food Innovation Asia Conference 2023 “The Future Food for Sustainability, Health and We-bong
นำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ในหัวข้อ The Nutrition Value and Antioxidation Activity of Thai Chia Seed ทำให้ได้แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับงานวิจัย เพื่อนำไปต่อยอดในอนาคต นอกจากนี้ยังได้รับฟังการบรรยายจาก...
Food Innovation Asia Conference 2023     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อนรรฆอร ศรีไสยเพชร  วันที่เขียน 18/9/2566 10:51:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 7:44:46   เปิดอ่าน 343  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง