จากการเข้าร่วมประชุม “อนาคตประเทศไทย โจทย์วิจัยเพื่อประชาชน” ในวันที่ 20 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
(คอบช.กรอกบการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2562 มุ่งเป้า)
สำนักงานคณะกรรมการวิชัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบายวิจัยและนวัตกรรม และในฐานะเลขานุการร่วมสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เล็งเห็นความสำคัญของการวิจัยและนวัตกรรมในการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนประเทศบนฐานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อกระตุ้นการผลิตภาพและสร้างงานที่มีคุณค่า ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ประเทศต้องเปลี่ยนระบบวิจัยและนวัตกรรม โดยการดำเนินงานบริหารจัดการทุนวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ ให้มุ่นเน้นการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ทั้งในเชิงพาณิชย์ นโยบาย สังคม/ชุมชน และวิชาการ ตลอดจนมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดย วช.ร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยหลักของประเทศ จำนวน 6 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สกว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทน.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกันบริหารจัดการทุน ในนาม “เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.)” และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (สพภ.) โดยมีเป้าหมายในการบริหารจัดการระบบงานวิจัยมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน มีทิศทางการวิจัยที่สอดคล้องกัน ลดความซ้ำซ้อน ต่อยอดผลงานวิจัย เพิ่มประสิทธิภาพการบิหารเงินวิจัยให้สามารถใช้งบประมาณวิจัยของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยดำเนินงานมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555 ถึง ปัจจุบัน โดยมีการประกาศและรับข้อเสนอการวิจัยผ่านระบบบริหารจัดการงานวิจัยของประเทศ (National Research Management System : NRMS)
ปัจจุบันการบริหารแผลงานวิจัยแบบมุ่งเป้าแบ่งการบริหารทุนแต่ละกลุ่มเรื่อง ดังนี้
- สกว. รับผิดชอบบริหารทุน จำนวน 8 กลุ่มเรื่อง คือ 1.โลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน 2. ยางพารา 3.อ้อยและน้ำตาล 4.การบริหารจัดการท่องเที่ยว 5.วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) 6.มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ 7. ประชาคมอาเซียน และ 8.การศึกษาและสร้างสรรค์การเรียนรู้
- สวก. รับผิดชอบบริหารทุน จำนวน 7 กลุ่มเรื่อง คือ 1. ข้าว 2. ปาล์มน้ำมัน 3.อาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าและความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค และการค้า 4.สมุนไพรไทย 5.พืชสวน/พืชไร่ (เช่น ไม้ผล พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ และข้าวโพด) 6.สัตว์เศรฐกิจ และ 7. การบิหารจัดการทรัพยากรน้ำ
- สวทช. รับผิดชอบริหารทุน จำนวน 2 กลุ่มเรื่อง คือ 1. มันสำปะหลัง และ 2.การคมนาคม
- สวรส. รับผิดชอบทุน จำนวน 2 กลุ่มเรื่อง 1. การแพทย์และสาธารณสุข และ 2.วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์และเวชภัณฑ์
- วช. –สพภ. รับผิดชอบบริหารทุน จำนวน 4 กลุ่มเรื่อง 1. พลาสติกชีวภาพ 2.การพัฒนาเศรฐกิจจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ 3.สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศความหลากหลายทางชีวภาพ และ 4. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในการประชุมใจความสำคัญส่วนหนึ่งของการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “วิจัยยุคใหม่เข้าถึงประชาชน” โดย พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี งานวิจัยเน้นเพื่อประชาชน ขับเคลื่อนเศรฐกิจ ทั้งในระดับ กลาง ภูมิภาค จังหวัด โดยหัวข้อการวิจัยให้มุ่งเน้นเพื่อประชาชนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นว่าประชาชนได้ประโยชน์อะไร สิ่งที่เราควรพึงพิจารณาในการทำงานวิจัยควรระลึกและตั้งคำถามว่า 1. ประชาชน / ชุมชน ต้องการอะไร 2. คน เหล่านั้นที่จะไปช่วยงานตรงนั้น คือใคร เวลาไหน แล้วสร้างคนด้วยการนำเอาองค์ความรู้นี้ไปให้เขา ไม่ได้ไปเป็นภาระให้กับเขา เช่น โครงการไทยนิยม ได้ส่งไปยังชุมชนให้แต่ละหมู่บ้านมากกว่าหมื่นชุมชน
ในหัวข้อบรรยายพิเศษ เรื่อง “วิจัยอย่างคุ้มค่าตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ” โดย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จากใจความสำคัญส่วนหนึ่งที่ได้รับมา คือ งานวิจัยอย่างคุ้มค่าตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ อย่างแท้จริง ได้ยกตัวอย่าง ที่ประเทศเกาหลี มีโครงการ science society of Korea ให้เราค้นหาหัวข้อความต้องการ แล้วนำไปสร้างนวัฒตกรรมใหม่ ๆ สู่คำว่า วิจัยที่กินได้ คือ กระทบต่อความเป็นอยู่ประชาชน เปลี่ยนชีวิตเป็นอยู่ของประชาชนได้ ได้ยกตัวอย่างในประเทศไทย การจะคัดเลือกโครงการวิจัยมุ่งเป้า มีการรับรองการนำไปใช้งาน มีผลกระทบต่อการนำไปใช้งานของพี่น้องประชาชนมากน้อยแค่ไหน เช่น โครงการธนาคารปูม้า แหลมผักเบี้ย เพรชบุรี ใช้เงินน้อยแต่ได้เงินคืนกลับมามาก ซึ่งงานวิจัยจะเน้นการตอบโจทย์พี่น้องประชาชนเป็นสำคัญ เช่น ภาคเหนือ การตอบโจทย์แก้ปัญหาหมอกควัน , ซังข้าวโพด , ต่อซังข้าว หรือแม้กระทั่งปัญหาผักตบชวา การเปลี่ยนแปลง พรบ. เกี่ยวกับการปลูกพืชมีค่า เช่น ต้นพยุง มีชาวบ้านจำนวนมากปลูกในระยะเวลาหนึ่งแล้วตัดไม่ได้ แล้วก็ทำ พรบ.7 ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาแล้วให้สามารถตัดได้ ควรทำวิจัยว่าปลูก ไม้อะไรมีประโยชน์สูงสุด , ดูแลต้นไม้อย่างไรให้ประโยชน์สูงสุด เป็นต้น ในการวิจัยมุ่งเป้าให้คำนึงถึง “การวิจัยอย่างไรไม่ขึ้นหิ้งแต่สู่ห้าง” การวิจัยมุ่งเป้า มุ่งพัฒนาวิจัยสู่การพัฒนา ศูนย์ความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ เช่น ม.สุรนารี ทำศูนย์โครงการเนื้อวากิว เปลี่ยนจากที่ดอนมาเลี้ยงโคนม เนื้อให้ดีมีมูลค่ามากที่สุด , เรื่อง อ้อย ที่ ข่อนแก่น แปลไปสู่ศูนย์ผลิตสินค้าเศรษฐกิจ เช่น ไบโอพลาสติก เป็นต้น ซึ่งโจทย์ที่ตอบด้านความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน เน้นการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศให้กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องกำหนดแบบกระจาย ไม่มากไป จุดใดจุดหนึ่ง หากทำได้ผลที่ทำจะมีค่ามากขึ้น รัฐบาลก็จะให้การสนับสนุนมากขึ้น เน้นการสร้างผลลัพธ์ รายได้ให้กับพี่น้องประชาชนได้ ตอบโจทย์พี่น้องประชาชนได้ รัฐบาลก็สนับสนุนอย่างเต็มที่
ในช่วงการประชุมระดมสมอง “โจทย์วิจัยสำหรับวิถีชีวิตคนไทย และอาชีพของคนไทย” ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและชุมชน ใจความสำคัญได้ว่า การทำวิจัยมุ่งเป้า การพัฒนาท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูง โดยมีภาพใหญ่ การวิจัยเพื่อประชาชน มุ่งเป้าเพื่อพัฒนาประเทศ ซึ่งในโจทย์นี้ เน้นเศรษฐกิจระดับจุลภาพของคนในท้องถิ่น 8 กลุ่มอาเซียน โดยในกลุ่มมุ่งเป้านี้เปิดรับหัวข้อเสนองานวิจัยจนถึงวันที่ 31 กรกฏาคม 2561 ผ่านระบบ NRMS ท่านสามารถติดตามและดูข้อมูลการประกาศรับสมัครได้ที่เว็บไซต์ NRMS โดยตรงได้ที่ https://www.nrms.go.th/NewsEventDetail.aspx?nid=2165 ในส่วนการวิจัยท่องเที่ยวไม่ใช่การท่องเที่ยวเท่านั้น แต่เป็นสหกวิทยาการและรวมหลากหลายด้านเข้าด้วยกัน โดยได้รับคำแนะนำการทำหัวข้อวิจัย ซึ่งจับประเด็นได้ดังนี้
- - งานท่องเที่ยวทำให้เกิดความเลื่อมล้ำเกิดขึ้น ข้างบนยกขึ้น ข้างล่างห่างลง เป็น 1 ในเรื่องที่ควรไปศึกษา
- - ควรใช้คำว่าท่องที่ แทนท้องถิ่น ตั้งแต่ระดับผู้ใหญ่บ้านขึ้นมา
- - โฮมสเตย์ มีแบบดูงาน , อีกลุ่มเป็น SME ระดับโรงแรมโฮมสเตย์เริ่มเปลี่ยน บางที่ก็ไปจดเป็นบริษัทแล้ว
- - ผู้ประกอบการตามลูกค้า แนวใหม่ไม่ทัน
- - โลกเข้าสู่ปลายยุค 4.0 และควรเตรียมคุยเรื่อง 5.0 ได้แล้ว ในประเทศไทยมีความล่าช้าไปมาก
- - ในประเทศไทยยังมีเรื่องการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานช้าเกินไป
- - ไทยเราดีเรื่อง Good Service แต่เราด้อยเรื่องภาษาและอ่อนด้าน ไอทีมากกว่ามาเลเซีย
- - ในตอนนี้คนจีนดูเรื่องตลาดมุสลิมมากกว่า
- - นักวิจัยต้องคุยกับผู้ประกอบการ ในเรื่อง Play Point ให้มากขึ้น
- - การกระจายตัวเป็นประเด็นสำคัญ นโยบายเมืองรอง และการสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งจริงๆ แล้วสินค้าที่อยู่ในชุมชนเป็นตัวรายได้สู่ชุมชนมากกว่า
- - MAGA Trends เป็นเรื่องสำคัญต้องติดตาม (จีน , IT , Robot ,นวัฒตกรรมระบบ , e-commerce , Alibaba ที่เข้ามามีผลกับการเปลี่ยนแปลง)
- - ปัญหาสิ่งแวดล้อม การปกครองส่วนท้องถิ่น ได้งบ แต่ไม่เคยมีรายได้จากการท่องเที่ยวได้แต่จากขยะ เก็บค่าธรรมเนียมปีนเขาไม่ได้ แต่เก็บค่าขยะปีนเขาได้ เป็นต้น
- - ต้องการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ , Design & Technology การทำเส้นทาง routing ในการท่องเที่ยว ถ้าออกนอกเส้นทางไปจะเป็นอย่างไร สามารถนำทางได้
- - เส้นทางเที่ยวเปลี่ยนไปหมด เช่น ตามอะไรบางอย่าง ตามรอยละครออเจ้า, coffee journey ไปดูแหล่งกำเนิดกาแฟง เป็นต้น
- - การตามเทรนไม่ทัน การวิจัยที่ดี คือการเก็บข้อมูลอดีต เพื่อมาทำนายอนาคตได้ (Big Data , AI , Platform) การเก็บความเคลื่อนไหวต่าง ๆ สู่ความเคลื่อนไหวการก้าวหน้าในอนาคตได้
- - การท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน เป็นธงเป้าของท้องถิ่นควรแน่นให้ชัด
โดยองค์ความรู้ที่ข้าพเจ้าได้รับมา ได้นำมาถอดเป็นบทความรู้ในครั้งนี้ มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงที่ใคร่ขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจ เขียนข้อเสนองานวิจัยกับทาง คอบช.มุ่งเป้า งบประมาณ 2562 นี้ ทุกท่านสามารถยื่นข้อเสนอผ่านทางระบบ NRMS https://www.nrms.go.th ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 กรกฏาคม 2561