ปัจจุบันการแปรรูปในอุตสาหกรรมแปรรูปน้ำมะพร้าวพร้อมดื่มของประเทศไทยแปรรูปด้วยการใช้ความร้อนแบบดั้งเดิมเพื่อทำลายสารพิษ, จุลินทรีย์, เอนไซม์ และพยาธิในการแปรรูปน้ำมะพร้าว การแปรรูปด้วยความร้อนยังมีข้อจำกัดทั้งด้านการสูญเสียคุณภาพ และข้อเสียเปรียบด้านวิศวกรรม เนื่องจากการแปรรูปด้วยความร้อนใช้การถ่ายเทความร้อนผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน เกิดข้อเสียต้นทุนด้านการผลิตด้านวิศวกรรมในการสร้างไอน้ำเป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อน และมีต้นทุนด้านการบำรุงรักษาใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเป็นเวลานานจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนความร้อนลดลงเนื่องจากการเกิดตะกรันเกาะที่ผิวเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน ทำให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนความร้อนลดลงส่งผลให้มีต้นทุนในการบำรุงรักษาสูง แต่ในขณะข้อจำกัดด้านการสูญเสียคุณภาพเนื่องจากการได้รับความร้อนเป็นเวลานาน (ฤทธิชัย, 2560) ดังนั้นจึงได้มีความพยายามพัฒนาการแปรรูปโดยไม่ใช้ความร้อน (non-thermal process) ด้วยเทคนิคพัลส์สนามไฟฟ้าเพื่อรักษาคุณภาพการของน้ำมะพร้าว
เทคนิคพัลส์สนามไฟฟ้า (Pulsed Electric Field, PEF) เป็นเทคนิคการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในอาหารเหลวด้วยกระบวนการอิเล็กโทรโพเรชั่น (electroporation) เมื่ออาหารเหลวถูกกระตุ้นด้วยความเข้มสนามไฟฟ้าสูงให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิออนภายใต้สภาวะสนามไฟฟ้าแบบพัลส์ในอัตราการให้ซ้ำที่ค่าความถี่หนึ่งค่าหนึ่ง (ทวิวรรณ, 2554, วิกานดา และคณะ 2555 และฤทธิชัย, 2559) ในระยะเวลาที่สั้นมากปกตินับเวลาเป็น 10-3 ถึง 10-6 sec ในลักษณะที่อาหารเหลวถูกกระตุ้นด้วยสนามไฟฟ้าส่งผลให้เกิดแรงเสียดทานที่ผนังเซลล์ของเชื้อจุลิทรีย์ จะเกิดการฉีกขาดและทะลุจะเกิดรูพรุ่นรอบเซลล์ของจุลินทรีย์ (pore formation) ของเหลวจากภายนอกเซลล์จะแพร่เข้าสู่เซลล์จุลินทรีย์ตามรูพรุนรอบ ๆ ผนังเซลล์ส่งผลให้ความดันออสโมติกภายในของเซลล์จุลินทรีย์เกิดเพิ่มขึ้นอย่างทันทีทำให้เกิดปรากฎการณ์การขยายตัวของเซลล์จุลินทรีย์จากความดันภายในเซลล์ (swelling) จนเยื่อหุ้มเซลล์การเกิดฉีดขาดเป็นรู
ขนาดใหญ่ นำไปสู่การตายของเซลล์ จุลินทรีย์ (cell lysis) อย่างถาวร ในขณะที่เซลล์อาหารที่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์จุลินทรีย์นั้นจะไม่เกิดผลกระทบดังกล่าวเนื่องจากเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์อาหารมีผนังหนาจึงเกิดการฉีดขาดเพียงเล็กน้อย และเซลล์อาหารสามารถซ่อมแซมตัวเองกับสู่สภาพเดิม (Yashwan et al., 2015)
ปัจจุบันเทคโนโลยีการแปรรูปโดยไม่ใช้ความร้อนด้วยเทคนิคพัลส์สนามไฟฟ้าได้ถูกศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการสร้างระบบการพาสเจอร์ไรส์เทคนิคพัลส์สนามไฟฟ้าและสามารถนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรม Pure Pulse Company เป็นบริษัทที่สร้างเครื่องจักรแปรรูปน้ำผลไม้ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาระบบการพาสเจอร์ไรส์เทคนิคพัลส์สนามไฟฟ้าสามารถลดปริมาณจุลินทรีย์ในระหว่างการแปรรูปแบบไม่ใช้ความร้อนลงได้ 4-6 log CFU โดยทำลายเชื้อจุลินทรียพวกเชื่อราและยีสต์ (yeast and moulds) น้ำผลพร้อมดื่ม เช่น น้ำส้ม น้ำแอปเปิ้ล น้ำสัปปะรด น้ำมะเขื่อเทศ และอุณหภูมิของน้ำผลไม้มีค่าไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส และมีอายุการเก็บรักษามากกว่าหรือเท่ากับ 21 วัน ที่อุณหภูมิการเก็บรักษาไม่เกิน 7oC มีคุณภาพสี รสชาติ กลิ่นเทียบเท่าน้ำผลไม้สด โดยอายุการเก็บรักษาขึ้นอยู่สุขลักษณะการบรรจุ (hygienic filling) และวัสดุของบรรจุภัณฑ์ (packaging properties) รวมถึงสภาวะการเก็บรักษาในระหว่างการขนย้าย (Food Chain Conditions) ก่อนถึงผู้บริโภค
บริษัท Pure Pulse ผู้ออกแบบระบบการพาสเจอร์ไรส์เทคนิคพัลส์สนามไฟฟ้า ดังกล่าวได้นิยามแนวความคิดและเทคนิคการแปรรูปดังกล่าวเป็นเทคนิคการแปรรูปแบบ Novel Cold Pasteurization หรือ Cool Wave Processing เพื่อใช้เป็นคำที่ใช้บรรยายทางการตลาดของบริษัท ปัจจุบันได้ออกแบบเครื่องพาสเจอร์ไรส์เทคนิคพัลส์สนามไฟฟ้าระบบต่อเนื่อง ชนิดการไหลแบบราบเรียบ รุ่น PEF 2.0 ออกมาจำนวน 3 ขนาด ได้แก่ขนาดอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ที่กำลังการผลิต 350 L/hr ขนาดกำลังการผลิตที่ 600 L/hr สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดกำลังการผลิตที่ 1,200 L/hr สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่