การประชุมวิชาการนานาชาติ The 3rd International Conference on Bioresources toward World Class Products (BWCP2016)”
วันที่เขียน 11/3/2560 23:01:05     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 21:04:50
เปิดอ่าน: 15188 ครั้ง

การเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ “ทรัพยากรชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์ระดับโลก ครั้งที่ 3 The 3rd International Conference on Bioresources toward World Class Products (BWCP2016)” ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จ.เชียงใหม่ เป็นเวทีให้นักวิจัยดีเด่นที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่ปิดโครงการในรอบปีให้แก่ประชาชน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรในภาครัฐ และ ภาคเอกชน ตลอดจนร่วมนำเสนอโจทย์วิจัย รวมถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง

        การประชุมวิชาการนานาชาติ BWCP 2016 นี้ประกอบด้วยการนำเสนองานวิจัยภาคบรรยาย เช่นเรื่อง Cosmeceutical Agents from Natural Products บรรยาย โดย Dr. Jarupa Viyoch และ คณะ จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีเนื้อหาสรุป ดังนี้ ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าและผิวกายที่มีในท้องตลาดส่วนใหญ่มีส่วนผสมของสารสกัดจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) สารอนุมูลอิสระ (Free radicals) ที่สำคัญโดยเฉพาะ ROS และ RNS เกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยภายนอก (exogenous) เช่น มลพิษ ควัน และ แสงอัลตร้าไวโอเลต และ ปัจจัยภายใน (endogenous) เช่น ขบวนการเมทาบอลิซึมภายในร่างกาย และการมีอายุมากขึ้น (aging process) สารอนุมูลอิสระ(Free redicals) ดังกล่าวก่อให้เกิดขบวนการยับยั้งการผลิต procollagen บริเวณเซลผิวหนัง และการผลิตเม็ดสีเมลานินที่ผิวหนังเพิ่มขึ้น ทำให้ผิวหนังเกิดริ้วรอยแห่งวัยและมีผิวคล้ำเสียมาก ภายหลังจากเมื่อถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยจากภายในและปัจจัยจากภายนอก สารต้านอนุมูลจากธรรมชาติ (Natural antioxidants)ได้แก่ เอนไซม์ superoxide dismutases, glutathione peroxidases, glutathione reductase และ catalase เอนไซม์ดังกล่าว ช่วยยับยั้งสารอนุมูลอิสระ ทำให้ยับยั้งการผลิตเม็ดสีเมลานินที่ผิวหนัง และ กระตุ้นการผลิต procollagen ช่วยชะลอการเหี่ยวของเซลผิวหนัง สารโพลิฟีนอล และสารฟีนอลจากพืช จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มที่สำคัญที่รับอิเล็กตรอนจากอนุมูลอิสระ ROS และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน กระตุ้นการผลิต procollagen และ ยับยั้งการผลิตเม็ดสีเมลานินบริเวณผิวหนัง จากแสงแดด งานวิจัย ดังกล่าว เป็นการค้นหาสารสกัดจากพืชที่มีองค์ประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟีนอล และ โพลิฟีนอล เพื่อนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าในอนาคต อีกทั้งคณะผู้จัดงาน ได้แก่ คณะกรรมการสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดทำเอกสารสรุป สารเคมีที่เป็นประโยชน์ ๕ กลุ่มต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เกษตรแปรรูป วัสดุพอลิเมอร์ใหม่ สิ่งแวดล้อม และ พลังงาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

            กลุ่มสุขภาพ ได้แก่ เรสเวอราทรอล (Resveratrol) และ เคอร์ซิทิน (Quercetin)

            เรสเวอราทรอล (Resveratrol) คือ สารฟีนอลจากธรรมชาติ (Natural phenolics) อยู่ในกลุ่ม สติลบินอยด์ (stilbenoid) พบได้ในผักและผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรากของวัชพืช “Japanese knotweed” (Fallopia japonica) นอกจากนี้ ยังพบในเปลือกองุ่นแดง ไวน์แดง และ ถั่วลิสง ปัจจุบัน เรสเวอราทรอล ใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (food supplement) และ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว (skincare) จากการวิจัย พบว่า เรสเวอราทรอล มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

            เคอร์ซิทิน (Quercetin) เป็นสารฟีนอลในกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ (flavonoid) พบใน เมล็ดถั่ว ผลไม้ และ ผัก หลายชนิด โดยเฉพาะ หัวหอมแดง ในธรรมชาติ เคอร์ซิทินอยู่ในรูปของกลูโคไซด์ สารเคอร์ซิทิน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีมาก มักใช้เป็นองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และ เครื่องสำอางเพื่อชะลอความชรา (anti-aging effect)

            กลุ่มเกษตรแปรรูป  ได้แก่  สารฟีนอล (Phenolics) และ สารสีจากพืช (Pigments)

            สารฟีนอล (Phenolics) หรือ พอลิฟีนอล (polyphenols) กลุ่มที่เด่น ได้แก่ caffeic acid  พบในเมล็ดกาแฟ gallic acid พบในใบชา และ ถั่ว tannin พบในผลไม้หลายชนิด cholorogenic acid พบใน กาแฟ และ ผลไม้ catechin และ rutin  พบในผลไม้และพืชหลายชนิด

ตัวอย่างงานวิจัย เรื่องการศึกษาปรับปรุงความคงตัวของสารประกอบฟีนอลิกโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น เอนแคปซูเลชัน

             สารสีจากพืช (Pigments) สารสีที่มีความสำคัญ ได้แก่ สารกลุ่มคาโรทีนอยด์ (carotenoid) พบใน พืชหลายชนิด สารลูทีน (lutein) พบมาก ในกลีบดอกดาวเรือง ลูทีน เป็นสารสะสมอยู่บริเวณม่านตา เพื่อป้องกันตาจากกระบวนการออกซิเดชั่น สารกลุ่มแอนโทไซยานิน  พบในส่วนดอกและผลของพืช มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปกป้องระบบหลอดเลือด สารสีจากพืช (Pigments) ดังกล่าว นำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ เครื่องดื่มฟังก์ชัน (functional foods และ fuctional drinks)

            กลุ่มพอลิเมอร์ใหม่  ได้แก่ มาเลอิกแอนไฮดรายด์ (Maleic anhydrilde) และ กลีเซอรอล (Glycerol)

            มาเลอิกแอนไฮดรายด์ (Maleic anhydrilde) เป็นสารอินทรีย์ ไม่มีสี เป็นผลึก และ มีกลิ่นน้อย สังเคราะห์ได้ง่ายจากขบวนการออกซิเดชันของเบนซีน (benzene) ใช้เป็นวัตถุดิบ เพื่อการผลิตพอลิเอสเทอร์แบบไม่อิ่มตัว

            กลีเซอรอล (Glycerol) เป็นผลพลอยได้หลักที่เกิดจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล  และ กลีเซอรอลมีคุณสมบัติทางเคมีที่สามารถนำไปสังเคราะห์เป็นสารอื่นๆที่มีประโยชน์ได้อีกมากมายเป็นพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้ และมีความปลอดภัยต่อร่างกาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมในรูปของ poly (glycerolester) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของพลาสติกชีวภาพ (bioplastics) ประเภท polyethylene bioplastics และ cellulose acetate bioplastics รวมทั้งผลิตภัณฑ์ poly (vinylalcohol) films นอกจากนี้ กลีเซอรอล ยังเป็นพลาสติกทนความร้อนที่ย่อยสลายโดยการผลิตแป้งใช้เป็น additives ในอุตสาหกรรมน้ำมันหล่อลื่น  ของเหลวในระบบไฮโดรลิกและใช้เป็นสารต้านไฟฟ้าสถิต (antistatic agent) ในอุตสาหกรรมการเคลือบอีกด้วย

            กลุ่มสิ่งแวดล้อม   ได้แก่ เฟอร์ฟูราล (Furfural) และ เบนซัลดิไฮด์ (Benzaldehyde)

            เฟอร์ฟูราล (Furfural)  เป็นสารอินทรีย์ในกลุ่มเฮเทอโรไซคลิกแอลดีไฮด์ (heterocyclic aldehyde) เป็นสารที่ได้จากการกลั่นจากวัตดุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีสารเฮมิเซลลูโลส (hemicelluloses) สะสมอยู่บริเวณผนังเซล (cell wall) เป็นจำนวนมาก เฟอร์ฟูราลเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์อนุพันธ์ฟิวแรน (furan) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันหล่อลื่น รวมไปถึงสารเรซินของฟีนอล (phenolic resins)

            เบนซัลดิไฮด์ (Benzaldehyde) คือ สารกลุ่มแอโรมาติกแอลดีไฮด์ (aromatic aldehyde) มีกลิ่นเฉพาะของอัลมอนด์ (almond) พบได้ในธรรมชาติในแก่นเนื้อของเมล็ดอัลมอนด์  แอปริคอต  แอปเปิล และ เชอรี่ ประโยชน์ คือ เป็นหน่วยย่อย (building block) ของการสังเคราะห์สารในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม  น้ำหอม  เครื่องสำอาง  ยา และ พลาสติก ทั้งหมดนี้ใช้เบนซัลดิไฮด์ ซึ่งเป็นสารเคมีธรรมชาติ จึงจัดเป็นกระบวนการผลิตในรูปเคมีสะอาด (green chemistry)

            กลุ่มพลังงาน ได้แก่ เอทานอล (Ethanol) ไขมัน และ น้ำมันกลีเซอรอล (Fats and glyceride oils)

            เอทานอล (Ethanol) เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuel) สามารถเชื่อมโยงใกล้ชิดกับระบบการจัดการเกษตร เพื่อให้สามารถเป็นแหล่งหลังงานยั่งยืน (sustainable energy) ที่สามารถทดแทนพลังงานจากแหล่งฟอสซิลได้ ประกอบกับเอทานอล จัดว่าเป็นพลังงานหมุนเวียน (renewable energy) ที่มีจุดเริ่มต้นจากพลังงานแสงอาทิตย์สู่เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงเอทานอล ควบคู่กับการทำฟาร์มเพาะปลูกยุคใหม่ จึงทำให้เกิดความสมดุลที่เรียกว่า “energy balance” ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดตัวหนึ่งด้านสิ่งแวดล้อม

            ไขมัน และ น้ำมันกลีเซอรอล (Fats and glyceride oils)

            ไขมันและน้ำมันกลีเซอรอล (Fats and glyceride oils) มีโครงสร้างทางเคมี ที่เรียกว่า ไทรกลีเซอไรด์ (triglycerides) ซึ่งมีการสะสมมากในส่วนของเมล็ดพืชหลายชนิด เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถัวลิสง ละหุ่ง ปาล์ม พลังงานของสารกลุ่มนี้เก็บอยู่ในโมเลกุลของกรดไขมัน (fatty acid) เป็นสายไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวน 16-20 คาร์บอน ซึ่งแปรมาจากโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคสที่เก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยกระบวนการสังเคราะห์แสง กรดไขมันที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิง อยู่ในรูปของโมเลกุลกลีเซอรอล (glycerol) ที่มีหมู่ OH 3 หมู่ ในรูปของไทรกลีเซอไรด์ ดังนั้น ต้องทำให้กรดไขมันหลุดออกจากไทรกลีเซอไรด์ โดยการทำปฎิกิริยากับ เมทานอล (methanol) ได้เป็น เมทิลเอสเทอร์ของกรดไขมัน (fatty acid methyl ester) รู้จักกันดีในชื่อไบโอดีเซล (biodesel) เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ (by product) เช่นเดียวกับเอทานอล

            การนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง Edible Cosmetics : A New Trend for Health and Beauty บรรยายโดย Dr. Surapol Natakankitkul คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีเนื้อหาสรุป ดังนี้ เครื่องสำอางรับประทานได้ (Edible cosmetics หรือ Neutric cosmetics) กำเนิดขึ้นครั้งแรก ณ ประเทศสวีเดน เมื่อ 80 ปีก่อน ในยุคแรกมีการใช้สารสกัดจากพืชและสมุนไพรหลายชนิดนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวปลอดภัยต่อผู้ใช้ เนื่องจาก ไม่มีสารเคมีเป็นส่วนผสม รวมทั้งสามารถรับประทานได้ พืช และ สมุนไพร ที่นิยมนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางรับประทานได้ (Edible cosmetics) ได้แก่ว่านหางจรเข้  ใช้เป็นส่วนผสมของแชมพู เพื่อลดการหลุดร่วงของเส้นผม และ เส้นผมไม่แข็งแรง อโวกาโด นิยมนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาทาเล็บ (Sugar Nails) น้ำมันจากพืช  นิยมนำมาผลิตเป็น Lip scrub น้ำมันมะพร้าว นิยมนำมาผลิตเป็นลิปสติก ตลาดการค้าที่ใหญ่ที่สุดของผลิตภัณฑืเครื่องสำอางรับประทานได้ (Edible cosmetics) ในทวีปเอเซียอยู่ที่ประเทศเกาหลี และ ญี่ปุ่น ซึ่งมีการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางรับประทานได้ โดยเน้นผลิตภัณฑ์ 3 ชนิด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สำหรับลดหรือชะลอริ้วรอยแห่งวัย (Anti-aging product) ผลิตภัณฑ์สำหรับลดการหลุดร่วงของเส้นผม และ เส้นผมไม่แข็งแรง (Hair growth) และ ผลิตภัณฑ์เพื่อลดความอ้วน (good shape products) สำหรับในประเทศไทย ได้มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางรับประทานได้ (Edible cosmetics) เป็นเวลานานกว่า 10 ปี ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้า และ ผิวกาย มีการใช้สารสกัดจากพืช และ สมุนไพรหลายๆชนิดเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เมื่อระยะเวลาผ่านไป สารสกัดจากพืช และ สมุนไพรที่ใช้มีการผลิตและจำหน่ายในรูปแบบที่ซ้ำซ้อน คณะผู้วิจัยจึงคิดผลิตภัณฑ์รับประทานได้จากสารสกัดน้ำมันจากเมล็ดพืชและเมล็ดผัก (seed oil extract) ประกอบกับเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งทางการเกษตร เมล็ดพืช และ เมล็ดผัก บางชนิดในระดับอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ไม่มีการใช้ส่วนของเมล็ดและมีการทิ้งเมล็ดพืชและผักโดยไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ (Waste products) ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงนำของเหลือทิ้งทางการเกษตร กลุ่ม เมล็ดพืชและผัก นำมาสกัดน้ำมันเพื่อใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางรับประทานได้ เมล็ดพืช ที่นิยมนำมาใช้ ได้แก่ เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เมล็ดเสาวรส เมล็ดลำไย เมล็ดมะรุม เมล็ดกันชง เป็นต้น น้ำมันจากเมล็ดพืช (seed oil) ดังกล่าว มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง (antioxidant) และมีองค์ประกอบของ omeca-3 และ omeca-6 ใกล้เคียงกับน้ำมันจากปลาแซลมอลและปลาทะเลบางชนิด น้ำมันจากเมล็ดพืช (seed oil) นิยมนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิว สำหรับผิวหน้า และ ผิวกาย เพื่อลดและชะลอริ้วรอยแห่งวัย เพิ่มความกระจางใสของผิวหน้า (whitening products) น้ำมันจากเมล็ด (seed oli) ส่วนใหญ่เป็น น้ำมันที่มีโครงสร้างโมเลกุลต่อด้วย peptide สายเล็กๆ สารสกัดน้ำมันจากเมล็ดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สูง กว่าสารสกัดส่วนอื่นๆ ของพืช จึงเป็นส่วนที่น่าสนใจสำหรับคณะผู้วิจัยเพื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางรับประทานได้ (Edible cosmetics) ชนิดใหม่ต่อไปในอนาคต

 

  

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=633
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อัจฉรา แกล้วกล้า  วันที่เขียน 31/3/2567 11:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 16:48:40   เปิดอ่าน 43  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง