KMQA : Secretariat Working Group
“In The Search for Being Bold & Best Practices”
แนวคิด :
การสร้างเครือข่ายพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษาร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่จัดการเรียน การสอนภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีในแต่ละองค์ประกอบ
วัตถุประสงค์ :
1) เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
2) เพื่อนำกระบวนการจัดความรู้มาใช้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีในแต่ละองค์ประกอบ
วิธีการดำเนินงาน :
- กำหนดหัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- มอบหมายเจ้าภาพหลักในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง
- สรุปองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อแจ้งทุกหน่วยงาน
กลุ่มเป้าหมาย :
เลขานุการคณะ หัวหน้าสำนักงานคณบดี หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา และบุคลากรผู้รับผิดชอบจัดทำ SAR จากหน่วยงานภายใน จำนวน 16 หน่วยงาน และหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ทีมงานดำเนินการ :
คณะกรรมการกลุ่มเลขานุการคณะ/หัวหน้าสำนักงานคณบดี/หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ
ผลการดำเนินงาน :
1. หัวข้อกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2558”
2. มีการจัดกิจกรรม จำนวน 5 ครั้ง
ครั้งที่ 1 การผลิตบัณฑิต (เจ้าภาพหลัก : คณะเศรษฐศาสตร์)
ครั้งที่ 2 การวิจัย (เจ้าภาพหลัก : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม)
ครั้งที่ 3 การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (เจ้าภาพหลัก : วิทยาลัยบริหารศาสตร์)
ครั้งที่ 4 การบริหารจัดการ (เจ้าภาพหลัก : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ)
ครั้งที่ 5 สรุปกิจกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “แนวทางการจัดทำต้นทุนหลักสูตร” และ “การบันทึกข้อมูล CHE QA Online (เจ้าภาพหลัก : คณะบริหารธุรกิจ)
3. สรุปองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดี
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1) การวางระบบประกันคุณภาพภายในหน่วยงาน
2) การศึกษาเกณฑ์การประเมินและการวิเคราะห์ตนเอง
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
1) ระบบสนับสนุนทุนวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
2) ระบบการติดตามนักวิจัย และการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
3) ระบบและกลไกเพื่อช่วยในคุ้มครองสิทธิ์งานวิจัยและงานสร้างสรรค์
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
1) มีแผนบริการวิชาการแก่สังคมและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ที่ชัดเจน
2) กำหนดตัวชี้วัดของแผนทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
3) โครงการบริการวิชาการมุ่งตอบสนองยุทธศาสตร์ และชูจุดเด่นตามอัตลักษณ์
4) กำหนดพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย และลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
1) ดำเนินงานกิจการนักศึกษาและศิลปวัฒนธรรมควบคู่กัน โดยนักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
2) บูรณาการศิลปวัฒนธรรมเข้ากับการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และต่อยอดสู่การวิจัย
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
1) มีระบบและกลไกทุกภารกิจ ภายใต้การกำกับ ดูแล ของคณะกรรมการชุดที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการประจำคณะ
2) การมีส่วนร่วมจากหลักสูตรในการกำหนดนโยบาย ทิศทางการดำเนินงานของคณะ
3) การวิเคราะห์ต้นทุนหลักสูตร
4) การพัฒนาเครื่องมือเพื่อสนับสนุนระบบบริหารหน่วยงาน
5) มีเจ้าหน้าที่เป็นผู้ช่วยหลักสูตรเพื่อจัดเตรียมข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา