โพลิโคซานอลจากไขผึ้ง
วันที่เขียน 11/8/2559 15:40:19     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 20:49:19
เปิดอ่าน: 10174 ครั้ง

โพลิโคซานอล (Policosanol) คือกลุ่มของแอลกอฮอล์สายตรงยาว (Long chain aliphatic alcohols) ที่มีความยาวคาร์บอน 20-36 อะตอม พลิโคซานอลสามารถป้องกันและรักษาโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ช่วยยับยั้งการสังเคราะห์คลอเรสเตอรอลและเพิ่มการย่อยสลาย LDL ลดการรวมตัวของเกล็ดเลือด (Platelet aggregation) ลดอันตรายของเยื่อบุหลอดเลือด (Endothelial damage) และลดการสร้าง โฟมเซลล์ ส่วนทางด้านความปลอดภัยนั้น พบว่าการให้โพลิโคซานอลไม่มีพิษต่อยีนทั้งในเซลล์ร่างกายและเซลล์ที่กำลังเจริญเติบโต คุณสมบัติและองค์ประกอบของไขผึ้งมีความแตกต่างกันไปขึ้นกับแหล่งที่มา การนำไขผึ้งมาใช้ประโยชน์มักทำในต่างประเทศ โดยเฉพาะการสกัดโพลิโคซานอล ทั้งๆที่ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีเกษตรกรที่ทำฟาร์มเลี้ยงผึ้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งผลิตภัณฑ์จากผึ้งล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะไขผึ้ง งนั้น หากสามารถสกัดโพลิโคซานอลจากไขผึ้งได้ในเวลาอันสั้นและสามารถวิเคระห์องค์ประกอบรวมทั้งหาจุดเด่นขององค์ประกอบที่มีอยู่ในไขผึ้งที่พบได้ จะเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าของไขผึ้ง โดยอาจมุ่งเน้นให้เกษตรกรปรับปรุงการเลี้ยงผึ้งเพื่อให้ได้ไขผึ้งที่มีมูลค่าสูง

การประชุมวิชาการ 2016 Advances in Chemical Engineering and Chemistry Research International Conference (ACECRIC2016) เป็นเวทีการประชุมที่จัดขึ้นโดยมุ่งเน้นเพื่อการเพิ่มโอกาสเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย และการพัฒนา ในด้านวิศวกรรมเคมี และวิทยาศาสตร์สาขาเคมี เพื่อสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีร่วมกันในสองศาสตร์ดังกล่าว โดยการประชุมครั้งนี้เปิดโอกาสให้นักวิจัย  วิศวกร และนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันกัน 

โพลิโคซานอล (Policosanol) คือกลุ่มของแอลกอฮอล์สายตรงยาว (Long chain aliphatic alcohols) ที่มีความยาวคาร์บอน 20-36 อะตอม  มีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ docosanol (C22) tetracosanol (C24) hexacosanol (C26) octacosanol (C28) และ triacosanol (C30) พบในไขจากสัตว์และพืชบางชนิด เช่น ไขจากผึ้ง รำข้าว อ้อย ข้าวโอ๊ต และข้าวสาลี เป็นต้น  โดยปริมาณและองค์ประกอบของโพลิโคซานอลในไขแต่ละชนิดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาสกัด เช่น ไขอ้อย มีโพลิโคซานอลที่มีความยาวคาร์บอน 24-34 อะตอม โดยมี ออกตะโคซานอล (Octacosanol : C28) มากที่สุด 66 % ส่วนในไขผึ้งพบโพลิโคซานอลที่มีความยาวคาร์บอน 18-34 อะตอม โดยมีไตรอคอนทานอล (Triacontanol : C30) มากที่สุด 30.2 % เป็นต้น

ได้มีการวิจัยถึงผลโพลิโคซานอลทางการแพทย์ครั้งแรกในปี 1984 เนื่องจากพบว่าไขอ้อยสามารถลดระดับไขมันในสัตว์จำพวกหนูได้ มีการศึกษาประโยชน์ของโพลิโคซานอลพบว่า สามารถลดคลอเรสเตอรอลในเลือดได้ โดยการบริโภค โพลิโคซานอลที่มีความยาวคาร์บอน 24-34 อะตอม 5-20 มิลลิกรัม/วัน สามารถลดคลอเรสเตอรอลที่ไม่ดี (Low Density Lipoprotein Cholesterol : LDL-C) ได้ 21-29% ในขณะทีมีคลอเรสเตอรอลที่ดี (High Density Lipoprotein Cholesterol : HDL-C) เพิ่มขึ้น 8-15% นอกจากนี้มีรายงานว่าโพลิโคซานอลสามารถป้องกันและรักษาโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ช่วยยับยั้งการสังเคราะห์คลอเรสเตอรอลและเพิ่มการย่อยสลาย LDL ลดการรวมตัวของเกล็ดเลือด (Platelet aggregation) ลดอันตรายของเยื่อบุหลอดเลือด (Endothelial damage) และลดการสร้าง โฟมเซลล์ ส่วนทางด้านความปลอดภัยนั้น พบว่าการให้โพลิโคซานอลไม่มีพิษต่อยีนทั้งในเซลล์ร่างกายและเซลล์ที่กำลังเจริญเติบโต

จากประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้นจึงมีการนำโพลิโคซานอลไปใช้เป็นยา และองค์ประกอบในอาหารเสริมหลายชนิด ส่งผลให้มีการผลิตโพลิโคซานอลเพื่อการค้า โดยส่วนใหญ่สกัดจากไขอ้อยและไขผึ้ง แต่เนื่องจากความต้องการที่มากขึ้นจึงได้มีความพยายามพัฒนากระบวนการสกัดและการทำให้บริสุทธิ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบัน การสกัดโพลิโคซานอลสามารถทำได้โดยใช้ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (Hydrolysis) ด้วยเบส ที่อุณหภูมิสูง ในตัวทำละลายต่างๆ เช่น เฮพเทน อะซีโตน โทลูอีน เบนซีน เมทานอล และคลอโรฟอร์ม เป็นต้น โดยใช้เวลาและอุณหภูมิแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้

 

มนุษย์รู้จักผึ้งและใช้ประโยชน์ของผึ้งมาตั้งแต่โบราณกาล โดยที่มนุษย์ได้นำน้ำผึ้งมาเป็นแหล่งให้ความหวานในอาหาร และใช้ไขผึ้งมาทำเป็นเทียนให้แสงสว่าง ไขผึ้งเป็นไขบริสุทธิ์ ผลิตโดยต่อมไขผึ้ง 4 คู่ ซึ่งอยู่ที่ส่วนท้องของลำตัวผึ้งงานที่มีอายุ 2 สัปดาห์ โดยผึ้งสังเคราะห์จากน้ำตาลที่มีโมเลกุลเชิงเดี่ยวภายในระบบย่อยอาหาร โดยปกติไขผึ้งจะมีสีขาวบริสุทธิ์ แต่เมื่อทำการหลอมไขผึ้งออกมาจากรังผึ้ง อาจมีจะมีสีของน้ำผึ้ง เกสรปนออกมา จึงทำให้ไขผึ้งเปลี่ยนสีไปตามสภาพสิ่งเจือปนนั้นๆ

 

คุณสมบัติและองค์ประกอบของไขผึ้งมีความแตกต่างกันไปขึ้นกับแหล่งที่มา ซึ่งประกอบไปด้วย ไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) 14% โมโนเอสเทอร์ (monoester) 35%, ไดเอสเทอร์ (Diester) 14%, ไตรเอสเทอร์ (Triester) 3%, ไฮดรอกซีโมโนเอสเทอร์ (Hydroxymonoester)  4%,  ไฮดรอกซีโพลีเอสเทอร์ (hydroxypolyester)  8%, กรดไขมัน (fatty acid) 12% แอลกอฮอล์ (Free alcohol) 1% และอื่นๆ (Non identified) 6% ไขผึ้งมีจุดหลอมเหลวอยู่ในช่วง 62 – 65 องศาเซลเซียส  ความหนาแน่นสัมพัทธ์ที่ 15 องศาเซลเซียส  มีค่าระหว่าง 0.958 – 0.970 mg/m3 และมีค่าการนำความร้อน 0.25 W m-1 K-1

เห็นได้ว่าการนำไขผึ้งมาใช้ประโยชน์มักทำในต่างประเทศ โดยเฉพาะการสกัดโพลิโคซานอล ทั้งๆที่ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีเกษตรกรที่ทำฟาร์มเลี้ยงผึ้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งผลิตภัณฑ์จากผึ้งล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะไขผึ้ง ซึ่งโดยมากเกษตรกรมักขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อโดยตรง โดยไขผึ้งที่ขายปลีกในท้องตลาดทั่วไปราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 200 - 250 บาท แต่การนำไขผึ้งมาผลิตเป็นสารชนิดอื่นๆเพื่อเพิ่มมูลค่ายังไม่มีมากเท่าที่ควร ดังนั้น หากสามารถสกัดโพลิโคซานอลจากไขผึ้งได้ในเวลาอันสั้นและสามารถวิเคระห์องค์ประกอบรวมทั้งหาจุดเด่นขององค์ประกอบที่มีอยู่ในไขผึ้งที่พบได้ จะเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าของไขผึ้ง โดยอาจมุ่งเน้นให้เกษตรกรปรับปรุงการเลี้ยงผึ้งเพื่อให้ได้ไขผึ้งที่มีมูลค่าสูง หรือทำการเก็บ คัดแยกและรักษาไขผึ้งที่ได้ให้ยังคงมีคุณภาพดี ทั้งนี้ภายใต้การให้คำแนะนำของหน่วยงานการเกษตรที่เกี่ยวข้อง หรือการรวมตัวกันของสมาคมผู้ผลิต ทั้งนี้เพื่อเป็นการต่อรองราคาซื้อขายไขผึ้งหากสามารถผลิตไขผึ้งที่มีคุณภาพดี

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาหรือสกัดโพลิโคซานอลจากไขผึ้งที่ผลิตได้ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจเนื่องมาจากการที่ขาดข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคุณลักษณะของไขผึ้งที่ผลิตได้ในประเทศและในแถบภูมิภาคเอเซียน รวมถึงอาจเนื่องจากสาเหตุที่กระบวนการสกัดผลิตภัณฑ์โพลิโคซานอลทางการค้าของแต่ละยี่ห้อนั้นมีการจดสิทธิบัตร จึงเป็นปัญหาหลักในการหาวิธีเตรียมโพลิโคซานอลทางการค้า โดยใช้วัตถุดิบไขผึ้งที่มีอยู่ในปริมาณมากในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสกัดโพลิโคซานอลจากไขผึ้งในประเทศไทยเพื่อประโยชน์ในเชิงการค้าต่อไป


คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=552
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อัจฉรา แกล้วกล้า  วันที่เขียน 31/3/2567 11:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 8:33:29   เปิดอ่าน 38  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง