การประเมินค่างานของบุคลากรสายสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในห้องปฎิบัติการ
วันที่เขียน 3/11/2564 12:24:27     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/9/2567 22:53:10
เปิดอ่าน: 1338 ครั้ง

การประเมินค่างาน เป็นวิธีการที่ใช้ในการกำหนดตำแหน่งและอัตราการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ ขององค์กร เป็นการเปรียบเทียบความสำคัญ ความยากและคุณภาพของงานในตำแหน่งต่างๆ

“การประเมินค่างานของบุคลากรสายสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในห้องปฎิบัติการ”

 

การกำหนดกรอบตำแหน่ง

      ในการกำหนดระดับตำแหน่งให้สูงขึ้น ตำแหน่งนั้นต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบ คุณภาพและความยุ่งยากของงานเพิ่มมากขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เป็นตำแหน่งที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ไม่มีการเพิ่มงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ไม่มีผลทำให้อัตรากำลังเพิ่มขึ้น และต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ไม่ซับซ้อนและประหยัด ดังนั้นในการกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้น เช่น ชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญและเชี่ยวชาญพิเศษ หน่วยงานจะต้องมีการวิเคราะห์ภารกิจของหน่วยงาน และประเมินค่างาน เพื่อให้สามารถกำหนดกรอบตำแหน่งได้อย่างถูกต้อง เป็นธรรม และสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน

องค์ประกอบในการพิจารณากำหนดระดับตำแหน่งคือ  ลักษณะงานที่ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ระดับความรับผิดชอบ และระดับความยากง่ายของงาน

 

ประเภทตำแหน่ง (ตามประกาศของ ก.พ.อ. พ.ศ. 2553)

  • ประเภทผู้บริหาร มี 2 ระดับ คือ ผู้อำนวยกอง/เทียบเท่า และผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี/วิทยาเขต
  • ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ มี 5 ระดับ ตามลำดับ คือ ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ (วุฒิบรรจุปริญญาตรี ขึ้นไป)
  • ประเภททั่วไป มี 3 ระดับ ตามลำดับ คือ ปฏิบัติการ ชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษ (วุฒิบรรจุต่ำกว่าปริญญาตรี)

 

การประเมินค่างาน

     เป็นวิธีการที่ใช้ในการกำหนดตำแหน่งและอัตราการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ ขององค์กร เป็นการเปรียบเทียบความสำคัญ ความยากและคุณภาพของงานในตำแหน่งต่างๆ การประเมินค่างานนั้น จะต้องเข้าใจลักษณะงานที่ปฏิบัติ คำนึงถึงงานของตำแหน่งเท่านั้น มีมาตรฐาน ไม่มีอคติ วิเคราะห์งานและตีค่าของตำแหน่งงานอย่างเป็นธรรม และมีการตรวจสอบเพื่อความเที่ยงตรงและแม่นยำในการประมินค่างาน โดยองค์ประกอบพื้นฐานที่แสดงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณภาพและความยุ่งยากของงาน 3 ด้าน ได้แก่

  • ด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นในงาน (Know-How) ความรู้ความชำนาญ การบริหารจัดการ การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์
  • ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา (Problem solving) กรอบของอำนาจและอิสระในความคิด ความท้าทายในการคิดแก้ปัญหา
  • ด้านความรับผิดชอบ (Accountability) อิสระในการปฏิบัติงาน ผลกระทบจากการปฏิบัติงาน

 

กระบวนการก่อนประเมินค่างาน  คือการวิเคราะห์งาน (Job analysis) ซึ่งจะประกอบด้วย

  • การวิเคราะห์โครงสร้าง ภารกิจ ความสัมพันธ์ของตำแหน่ง เป็นการจัดแบ่งงานและภาระงานในหน่วยงาน ตามสายการบังคับบัญชาและ มีความสัมพันธ์ของตำแหน่งต่างๆ
  • การวิคราะห์ลักษณะงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ เป็นการวิเคราะห์กระบวนการทำงาน ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานและลักษณะงานที่ปฏิบัติ
  • การวิคราะห์คุณภาพและความยุ่งยากซับซ้อนของงาน ระดับความรับผิดชอบ ระดับการตัดสินใจ และระดับของผลกระทบ และระดับความเสี่ยง

 

องค์ประกอบในการประเมินค่างาน

  • ระดับปฏิบัติการ: หน้าที่และความรับผิดชอบ ความยุ่งยากของงาน การกำกับตรวจสอบ และการตัดสินใจ
  • ระดับหัวหน้าหน่วยงาน: หน้าที่และความรับผิดชอบ ความยุ่งยากของงาน การกำกับตรวจสอบ การตัดสินใจ และการบริหารจัดการ

**สิ่งที่ไม่นำมาพิจารณาในการประเมินค่างาน ได้แก่ ความอาวุโส ความขยัน ปริมาณงาน ประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงาน วุฒิการศึกษาที่ไม่เกี่ยวข้อง และบุคลิกลักษณะบุคคล**

**แต่สิ่งที่เป็นหลักสำคัญของตำแหน่ง คือ ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณภาพของงาน และความรู้ความสามารถที่ต้องการ**

 

สิ่งที่ต้องเตรียมในการประเมินค่างาน

  • วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ขององค์กร
  • หลักเกณฑ์การประเมินค่างาน
  • มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
  • ภาระงานของตำแหน่ง และแบบประเมินค่างาน

 

หลักเกณฑ์การประเมินค่างาน สำหรับตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ           (ประกาศ ก.พ.อ. พ.ศ. 2553)

องค์ประกอบหลักการประเมินงาน:

  • หน้าที่ความรับผิดชอบ (30 คะแนน)
  • ความยุ่งยากของงาน (30 คะแนน)
  • การกำกับตรวจสอบ (20 คะแนน)
  • การตัดสินใจ (20 คะแนน)
  • รวมคะแนน 100 คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน: ระดับชำนาญการ ต้องได้คะแนน 64 คะแนนขึ้นไป  และระดับชำนาญการพิเศษต้องได้คะแนน 84 คะแนนขึ้นไป

 

หลักเกณฑ์การประเมินค่างาน สำหรับตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษ (ประกาศ ก.พ.อ. พ.ศ. 2553)

องค์ประกอบหลักการประเมินงาน:

  • ด้านความรู้และชำนาญงาน (40 คะแนน)
  • ด้านการบริหารจัดการ (20 คะแนน)
  • ด้านการติดต่อสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ (20 คะแนน)
  • ด้านกรอบแนวคิดในการแก้ปัญหา (40 คะแนน)
  • ด้านอิสระในการคิด (20 คะแนน)
  • ด้านความท้าทายในการแก้ปัญหา (20 คะแนน)
  • ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (40 คะแนน)
  • ด้านอิสระในการปฏิบัติงาน (20 คะแนน)
  • ด้านผลผลกระทบจากการปฏิบัติงาน (40 คะแนน)
  • ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่ง (40 คะแนน)
  • รวมคะแนน 300 คะแนน

 เกณฑ์การตัดสิน: ระดับเชี่ยวชาญ ต้องได้คะแนน 170 คะแนนขึ้นไป และระดับชำนาญการพิเศษ ต้องได้คะแนน 235 คะแนนขึ้นไป

 

การเขียนภาระงานของตำแหน่ง  

     ลำดับแรกจะต้องกำหนดงานที่รับผิดชอบของตำแหน่ง จากนั้นนำมาจัดกลุ่มและเรียงลำดับความสำคัญ และกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการ ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย โดยมีการใช้ Key word ที่เหมาะสม และใช้คำกริยาให้ถูกต้องเพื่อเป็นการเพิ่มความสำคัญหรือเพิ่มความแตกต่างของลักษณะงานในตำแหน่งเดิมปัจจุบันและภาระงานในตำแหน่งใหม่

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
เบญญาภา หลวงจินา » ความปลอดภัยในห้องปฏฺิบัติการเคมี
ปัจจุบันกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องนำสารเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรมและด้นอื่น ๆ รวมทั้งสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่ส...
ความปลอดภัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน เบญญาภา หลวงจินา  วันที่เขียน 29/8/2567 15:42:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/9/2567 23:11:15   เปิดอ่าน 59  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดย นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง การลงทะเบียนเพื่อขอรับเ...
Peer Evaluation  การขอทุนวิจัยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 29/8/2567 13:43:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/9/2567 10:56:08   เปิดอ่าน 102  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง