สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม
ในการเข้าร่วมการอบรมครั้งนี้ ได้รับทราบนโยบายส่งเสริมความปลอดภัยและการขับเคลื่อนของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)ซึ่งเน้นถึงความสำคัญของความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่มีผลต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยจากสารเคมีในผลิตภัณฑ์และสารปนเปื้อน มาตรฐานต่างๆทางการค้า WTO FTA ทรัพย์สินทางปัญญา แรงงาน สิทธิมนุษยชน สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานระดับชาติ ผลักดันให้เกิดการจัดการความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมีอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมให้เกิดการยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการพื้นฐานโดยใช้กลไกการจัดสรรทุนวิจัย สร้างความเข็มแข็งให้หน่วยงานเครือข่ายมีความสามารถในการตรวจสอบความปลอดภัย และพัฒนาระบบการจัดการอย่างต่อเนื่อง
จากการศึกษาตัวอย่างการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทั้งของต่างประเทศและในประเทศและการระดมข้อคิดเห็นจากภาคีห้องปฏิบัติการ พบว่าองค์ประกอบของความปลอดภัยที่จะเป็นยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนความปลอดภัยนั้น ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบที่สัมพันธ์กันเชื่อมโยงกับความเสี่ยง ไม่ใช่องค์ประกอบหรือปัจจัยเดี่ยว ๆ ดังนั้นการดำเนินการทั้งหลายตั้งแต่การสร้างเครื่องมือและผลลัพธ์ที่จำเป็นทั้งหมดต้องคำนึงถึงทั้ง 7 องค์ประกอบว่าเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงอย่างไร
- การบริหารระบบจัดการความปลอดภัย
- ระบบการจัดการสารเคมี
- ระบบการจัดการของเสีย
- ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ
- ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย
- การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
- การจัดการข้อมูลและเอกสาร
การสร้างเครื่องมือในการบริหารการจัดการฐานความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ เป็นรายการสำรวจความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ สำหรับให้ห้องปฏิบัติการสามารถสำรวจและประเมินสภาพด้วยตนเองใน 7 องค์ประกอบความปลอดภัย เพื่อนำมาวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของการจัดการและแก้ไขปรับปรุง นักวิจัยสามารถสมัครใช้ระบบและเข้ากรอกข้อมูลเลขทะเบียนห้องปฏิบัติการ ESPReL Checklist ตามขั้นตอนในเว็ปไซต์