รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : SNP
ความรู้ที่ได้จากการบรรยายพิเศษ/การอบรมสัมนา/การอมรบเชิงปฏิบัติการ » ความรู้จากการบรรยายพิเศษ เรื่อง เทคโนโลยีจีโนมิกส์เพื่อการปรับปรุงพืชตระกูลแตง โดย ดร. สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง จากการประชุมวิชาการ ประจำปี 2560
ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ จะต้องมีการพัฒนาเครื่องหมายเพื่อใช้ในการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากเมล็ดที่ได้จากอาจจะเกิดจากการผสมตัวเอง เนื่องจากการตรวจด้วยเครื่องหมายจะทำได้รวดเร็ว และมีราคาถูกเมื่อเทียบกับการปลูกทดสอบลักษณะทางกายภาพ (morphological test) จากการศึกษาด้านจีโนมิกส์ของพืชตระกูลแตง ทำให้มีการพัฒนาเครื่องหมายประเภท Single nucleotide polymorphism (SNP) เพื่อใช้การปรับปรุงพันธุ์ต่อไป เช่น เครื่องหมาย SNP กับความหอม ความขม หนามหรือสีของหนาม และอื่นๆ
คำสำคัญ : การปรับปรุงพันธุ์  เครื่องหมาย SNP  พิชตระกูลแตง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 7931  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน แสงทอง พงษ์เจริญกิต  วันที่เขียน 3/9/2561 21:58:26  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 6:29:35
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจีโนมในการศึกษายีนของพืชและการปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์
การใช้ข้อมูลจีโนมิก (genomic data) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผันแปรทางพันธุกรรมกับฟีโนไทป์เพื่อระบุตำแหน่งในจีโนมที่มีหน้าที่สัมพันธ์กับลักษณะที่สนใจโดยไม่ต้องทำการสร้างประชากรจาการผสมพันธุ์ การศึกษาในพืชโดยใช้ข้อมูล transcriptomics และ proteomics ร่วมด้วย จะสามารถทำให้ได้ข้อมูลของยีนที่ควบคุมการตอบสนองของพืชต่อความเครียดนั้นได้ นอกจากนี้ ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีจีโนมและ genome-wide association study ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์ให้ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ข้อมูลของ single nucleotide polymorphisms (SNP) ที่ระดับจีโนม ได้นำมาใช้ในการทำ genotyping และใช้ในโปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์ในหลายประเทศรวมทั้งในประเทศไทย
คำสำคัญ : SNP  การปรับปรุงพันธู์ปศุสัตว์  การศึกษายีนพืช  ข้อมูลจีโนมิก  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3524  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 5/9/2560 11:39:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:57:05
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอและการประยุกต์ใช้เครื่องหมาย SNP
เครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA marker) คือ ชิ้นส่วนดีเอ็นเอสายสั้น ๆ ที่มีลำดับเบสสามารถเข้าคู่กับช่วงใดช่วงหนึ่งบนสายดีเอ็นเอ ทำให้ระบุตำแหน่งบนโครโมโซมและสามารถแยกความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตเป้าหมายได้ มีประโยชน์หลายอย่าง ได้แก่ gene mapping, map-based cloning, marker-assisted breeding, plant variety protection, genetic diversity และ purity testing เครื่องหมายดีเอ็นเอที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติ คือ เป็น polymorphic มีการถ่ายทอดแบบ co-dominant เกิดทั่วจีโนม ตรวจสอบได้ง่าย รวดเร็ว และราคาไม่แพง ให้ผลที่ทำซ้ำได้ ตรวจสอบจีโนไทป์ได้ครั้งละหลาย ๆ ตัวอย่าง (high-throughput genotyping) ได้ผลถูกต้องและสม่ำเสมอ เครื่องหมายดีเอ็นเอมีหลายชนิด เช่น restriction fragment length polymorphism (RFLP), amplified fragment length polymorphism (AFLP), random amplified polymorphic DNA (RAPD), simple sequence repeat (SSR) และ single nucleotide polymorphism (SNP)
คำสำคัญ : SNP  การปรับปรุงพันธุ์พืช  เครื่องหมายดีเอ็นเอ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 27358  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 14/3/2560 13:11:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:10:42
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการฟังบรรยายพิเศษเรื่องการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล
เครื่องหมายโมเลกุลระดับดีเอ็นเอมีประโยชน์หลายด้าน เช่น ในด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช ได้แก่ การคัดเลือกลูกผสม การตรวจสอบความบริสุทธ์ของสายพันธุ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้ในการระบุสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต และการรักษาโรคอีกด้วย
คำสำคัญ : เครื่องหมายโมเลกุล SNP  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 6730  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 14/3/2560 9:14:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 14:17:26