รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : การวิเคราะห์ปัจจัย
ผลงานวิจัย » การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลความพร้อมของบุคลากรเพื่อรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของความพร้อมของบุคลากร และ 2)วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของบุคลากรเพื่อรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้แบบสอบถามเก็บจากตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุน ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 318 คน ผู้วิจัยได้ชักตัวอย่างแบบสุ่มเชิงเดียว (Simple Random Sampling) ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirm Factor Analysis) ด้วยโปรแกรม LISREL 8.52 และวิเคราะห์หาปัจจัยด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติค (Logistic Regression Analysis) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) จากผลการวิจัยที่ได้พบว่า องค์ประกอบความพร้อมด้านความรู้ ความพร้อมด้านจิตพิสัย และความพร้อมด้านทักษะ มีค่าความเที่ยงสูง และองค์ประกอบส่วนใหญ่อธิบายความแปรปรวนของตัวแปรในองค์ประกอบได้สูง ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของบุคลากรเพื่อรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาพบว่าในด้านความรู้ ประกอบด้วย ประสบการณ์ทำงาน ความสามารถในการรับรู้ข้อมูลสื่อสาร และการได้รับการอบรมเพิ่มพูนความรู้ ส่วนในด้านจิตพิสัย ประกอบด้วย ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การสร้างแรงจูงใจของผู้บริหาร และการได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ และด้านทักษะ ประกอบด้วยความรับผิดชอบในการดำเนินการด้านประกันคุณภาพการศึกษา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และการรับรู้กำหนดการของแผนการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา
คำสำคัญ : การประกันคุณภาพการศึกษา  การวิเคราะห์ปัจจัย  ความพร้อม  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3751  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 28/8/2558 9:23:55  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:23:30
รายงานวิจัยในชั้นเรียน » บทคัดย่อ รายงานวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของคณาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของคณาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คณาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 64 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 19 ข้อ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟามีค่าเท่ากับ 0.80 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คณะบริหารธุรกิจ ระดับการศึกษาระดับปริญญาเอก ตำแหน่งอาจารย์ และเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย อายุเฉลี่ยเท่ากับ 40.41 ปี และอายุการทำงานเฉลี่ยเท่ากับ 9.05 ปี ระดับความคิดเห็นเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ ปัจจัยด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (F1) ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารจัดการ (F2) และปัจจัยด้านสิ่งสนับสนุนในการทำวิจัย (F3) และสมการถดถอยที่มีผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ Y = -.001 + .747F1 +.395F2 +.300F3
คำสำคัญ : วิจัยในชั้นเรียน การวิเคราะห์ปัจจัย การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4272  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/4/2558 9:53:28  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 17:13:56
วิจัยสถาบัน » การพัฒนาดัชนีคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเพื่อศึกษาดัชนีคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 38 ข้อ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟามีค่าเท่ากับ .93 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพรรณนา สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด ตำแหน่งอาจารย์ และเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย อายุเฉลี่ยเท่ากับ 34.3 ปี อายุการทำงานเฉลี่ยเท่ากับ 6.6 ปี ระดับความคิดเห็นเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานได้แก่ ปัจจัยสุขภาพ (F1) ปัจจัยการทำงานเป็นทีม (F2) ปัจจัยการสนับสนุน (F3) ปัจจัยงบประมาณสวัสดิการ (F4) ปัจจัยวิชาชีพ (F5) ปัจจัยความตั้งใจ (F6) ปัจจัยการเสียสละ (F7) ปัจจัยการบริหารเวลาส่วนตัว (F8) และปัจจัยครอบครัว (F9)
คำสำคัญ : การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ  การวิเคราะห์ปัจจัย  ดัชนีคุณภาพชีวิตการทำงาน  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3652  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 1  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 15/8/2557 16:08:21  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 18:10:16