Blog : รายงานวิจัยในชั้นเรียน
รหัสอ้างอิง : 215
ชื่อสมาชิก : ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์
เพศ : ชาย
อีเมล์ : sanpet@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 9/2/2554 17:32:17
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 9/2/2554 17:32:17

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : รายงานวิจัยในชั้นเรียน
เป็นกล่องบทความ รวบรวมรายงานวิจัยในชั้นเรียน
รายงานวิจัยในชั้นเรียน » บทคัดย่อ รายงานวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของคณาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของคณาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คณาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 64 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 19 ข้อ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟามีค่าเท่ากับ 0.80 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คณะบริหารธุรกิจ ระดับการศึกษาระดับปริญญาเอก ตำแหน่งอาจารย์ และเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย อายุเฉลี่ยเท่ากับ 40.41 ปี และอายุการทำงานเฉลี่ยเท่ากับ 9.05 ปี ระดับความคิดเห็นเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ ปัจจัยด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (F1) ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารจัดการ (F2) และปัจจัยด้านสิ่งสนับสนุนในการทำวิจัย (F3) และสมการถดถอยที่มีผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ Y = -.001 + .747F1 +.395F2 +.300F3
คำสำคัญ : วิจัยในชั้นเรียน การวิเคราะห์ปัจจัย การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4272  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/4/2558 9:53:28  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 17:13:56
รายงานวิจัยในชั้นเรียน » การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มนักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชา สต 312 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างสมการจำแนกกลุ่มนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา สต 312 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ และเพื่อศึกษาตัวแปรที่สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่มนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา สต 312 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา สต 312 ในภาคเรียนที่ 1/2557 จำนวน 273 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 41 ข้อ โดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟามีค่าเท่ากับ .9599 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพรรณนา สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มโดยวิธีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เรียนคณะผลิตกรรมการเกษตร ชั้นปีที่ 2 เกรดเฉลี่ยสะสมเท่ากับ 2.64 และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มพบว่า ระดับการปฏิบัติของทั้ง 2 กลุ่ม แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 (p<.05) ในด้านความตั้งใจเรียน (X1) ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X3) ด้านความมีวินัยในตนเอง (X4) และด้านเจตคติของผู้เรียน (X5) ส่วนด้านการแสวงหาความรู้ (X2) ไม่แตกต่างกัน (P>.05) สมการจำแนกกลุ่มนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ ซึ่งสามารถจำแนกความถูกต้องได้ร้อยละ 73.6 โดยมีสมการดังนี้ D = -5.378 + 2.110X1 + -.833X2
คำสำคัญ : การวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3507  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 3  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/4/2558 9:30:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 17:36:59

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้