บทคัดย่อ รายงานวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของคณาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่เขียน 28/4/2558 9:53:28     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:40:46
เปิดอ่าน: 4273 ครั้ง

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของคณาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คณาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 64 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 19 ข้อ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟามีค่าเท่ากับ 0.80 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คณะบริหารธุรกิจ ระดับการศึกษาระดับปริญญาเอก ตำแหน่งอาจารย์ และเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย อายุเฉลี่ยเท่ากับ 40.41 ปี และอายุการทำงานเฉลี่ยเท่ากับ 9.05 ปี ระดับความคิดเห็นเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ ปัจจัยด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (F1) ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารจัดการ (F2) และปัจจัยด้านสิ่งสนับสนุนในการทำวิจัย (F3) และสมการถดถอยที่มีผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ Y = -.001 + .747F1 +.395F2 +.300F3

รายละเอียด ตามลิงก์ด้านล่าง

http://www.e-manage.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTI2OTk2

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
การอบรมและสัมมนา » link smart home cabling system technology for the future
เนื้อหาการอบรม link smart home cabling system technology for the future จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของเครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topology) องค์ประกอบพื้น...
เครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ  ช่องทางการติดต่อสื่อสารในระบบโทรคมนาคม  ประเภทของสายสัญญาณและ connector  รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เส้นใยนำแสง  องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน ภานุวัฒน์ เมฆะ  วันที่เขียน 10/7/2567 9:56:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:56:15   เปิดอ่าน 267  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:50:09   เปิดอ่าน 618  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง