รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : การจัดซื้อจัดจ้าง
การอบรม สัมนา » คุณลักษณะของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ถ่ายทอดองค์ความรู้จากการอบรม "การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" จัดขึ้นในวันที่ 9 มิ.ย.2565 โดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในรูปแบบ online ระบบ Zoom Meeting
คำสำคัญ : การจัดซื้อจัดจ้าง  เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 763  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วันวสา วิโรจนารมย์  วันที่เขียน 7/9/2565 10:38:22  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 23:06:25
การจัดการความรู้คณะกรรมการกลุ่มเลขานุการคณะฯ » พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานพัสดุภาครัฐฯ
จากการเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “สวัสดี พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานพัสดุภาครัฐฯ” จัดโดยสมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 16-17 ธันวาคม 2559 ซึ่ง ณ ขณะนั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ฯ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2559 และปัจจุบันพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศ พระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์ให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามหลักการ "คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตรวจสอบได้" โดยจะใช้แทนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุ ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ และข้อกำหนดใดๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีอยู่เดิม ซึ่งรวมถึง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมีกรอบการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานกลางเพื่อให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นสำคัญซึ่งจะก่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงิน มีการวางแผนการดำเนินงานและมีการประเมินผลการปฏิบัติงานซึ่งจะทําให้การจัดซื้อจัดจ้างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล มีการส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ประกอบกับมาตรการอื่น ๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชนและก่อให้เกิดผลดีกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
คำสำคัญ : พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานพัสดุภาครัฐฯ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 6348  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จงรักษ์ บัวลอย  วันที่เขียน 16/3/2560 11:13:53  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:47:29