คนไทยราคาเท่าไร ฝรั่งราคาเท่าไร
วันที่เขียน 12/3/2554 12:42:31     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:07:27
เปิดอ่าน: 8703 ครั้ง

ลองมาคำนวณเล่นๆ กันดูครับ

ขึ้นหัวข้อแบบนี้ หลายคนอาจตกใจ ... อันที่จริงแล้ว ผมต้องการจะเล่าถึงเงินตอบแทนหรือค่าจ้าง ในการทำงาน เปรียบเทียบกันระหว่าง คนที่ทำงานเป็นลูกจ้างรับเงินเดือนในประเทศไทย กับในประเทศออสเตรเลียครับ และเนื่องจากออสเตรเลียเขาคิดค่าแรงเป็นชั่วโมง ส่วนคนไทยคิดค่าแรงเป็นเดือน ผมจึงคำนวณให้เปรียบเทียบกันได้ โดยพบกันครึ่งทางคิดเป็นค่าแรงต่อวัน (สำหรับคนไทย ผมสมมุติให้ 1 เดือน คิดเป็นวันทำงาน 20 วัน ส่วนออสเตรเลีย ผมให้ทำงาน 8 ชั่วโมง คิดเป็น 1 วันนะครับ)

ออสเตรเลีย เขามีการจัดระดับเงินค่าตอบแทน โดยดูจากหลักเกณฑ์ดังนี้ครับ ค่าจ้างระดับต่ำ: งานที่ไม่ต้องใช้ความรู้หรือความสามารถ และไม่ต้องใช้แรงงาน มีความเสี่ยงต่ำ ($50-100 ต่อวัน) ค่าจ้างระดับปานกลาง: งานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ หรือต้องใช้แรงงานปานกลาง มีความเสี่ยปานกลาง ($100-200 ต่อวัน) ค่าจ้างระดับสูง: งานที่ต้องใช้ความรู้สูง ความสามารถสูง หรือต้องใช้แรงงานหนัก มีความเสี่ยงสูง ($200-350 ต่อวัน)

ไทย มีหลักเกณฑ์ดังนี้ครับ (ขออ้างอิงค่าเงินเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ตอนที่ผมยังเรียนอยู่ที่นั่นนะครับ ซึ่ง $1 = 25 บาท) ค่าจ้างระดับต่ำ: คนที่ไม่ได้เรียนสูง ส่วนมากเป็นงานที่ต้องใช้แรงงานหนัก ($8-20 ต่อวัน หรือ 4,000-10,000 บาทต่อเดีอน) ค่าจ้างระดับปานกลาง: คนที่มีการศึกษาระดับหนึ่ง ส่วนมากเป็นงานที่ต้องออกแรงบ้าง ($20-40 ต่อวัน หรือ 10,000-20,000 บาทต่อเดีอน) ค่าจ้างระดับสูง: คนที่มีการศึกษาสูง ส่วนมากเป็นงานที่ต้องออกแรงน้อย ($40-400 ต่อวัน หรือ 20,000-200,000 บาทต่อเดีอน) ขอไม่กล่าวถึงผู้ที่มีเงินเดือนเป็นล้านๆ นะครับ เพราะคิดว่ามันเป็นอะไรที่นอกโลกจริงๆ

จะเห็นว่าค่าแรงระดับสูงสุด (ในระบบ) ของเรากับออสเตรเลียไม่ต่้างกัน แต่ค่าแรงระดับต่ำของเรากับเขานั้นแตกต่างกันมากใช่ไหมครับ ลองมาดูความไม่สมเหตุสมผลในเรื่องนี้ ซึ่งผมขอแยกเป็น 2 ประเด็น ดังนี้

(1) ความไม่สมเหตุสมผลที่ประเทศไทยเราไม่ได้ให้ค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรมแก่ผู้ใช้แรงงาน ที่ต้องออกแรงเหนื่อยและมีความเสี่ยงสูง ทั้งๆ ที่ต้นทุนของเขาก็คือ หยาดเหงื่อและแรงกาย แต่กลับตอบแทนค่าแรงของผู้ที่มีวุฒิการศึกษาที่สูงกว่า โดยคิดว่าต้นทุนของเขาก็คือ มันสมองและค่าเล่าเรียนที่เขาได้ลงทุนไป ในขณะที่ออสเตรเลีย เขาให้ประชาชนของเขาได้เรียนฟรีหรือถูกมากจนจบ ม.6 คนของเขาจึงที่มีต้นทุนอันเกิดจากการศึกษาไม่แตกต่างกัน เขาจึงพิจารณาค่าแรงจากความสามารถ หยาดเหงื่อแรงกาย และความเสี่ยงภัย

(2) ความไม่สมเหตุสมผล เมื่อเทียบค่าแรงที่เป็นรายรับกับค่าครองชีพที่เป็นรายจ่าย หลายคนอาจคิดว่าประเทศไทยมีค่าครองชีพต่ำกว่าออสเตรเลีย อันนี้ผมไม่เถียง แต่ว่าต่ำกว่ากันเท่าไรครับ ผมจะขอเปรียบเทียบกับปัจจัยพื้นฐาน 2 ปัจจัย คือ

(2.1) เมื่อเปรียบเทียบกับราคาอาหาร เช่น ของไทยเราราคาข้าวราดแกง 1 จาน ราคาประมาณ 25 บาท เมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำของไทย คือ วันละประมาณ 200 บาท (คิดจาก 4,000 บาทต่อเดือน) เท่ากับซื้อข้าวได้ 8 จาน ในขณะที่ของออสเตรเลียอาหารจานด่วนอย่างเบอร์เกอร์ของแม็คโดนัล ราคาประมาณ $5 เมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำที่สุดของเขา คือ วันละ $50 ซึ่งเท่ากับซื้อได้ 10 อัน ... ดูก็ไม่ค่อยเห็นความแตกต่างเท่าไรนะครับ

(2.2) หากเปรียบเทียบกับค่าน้ำมัน เช่น ของไทยเราน้ำมันเบนซิน 1 ลิตร ราคาประมาณ 25 บาท เมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำที่สุดของไทย คือ วันละ 200 บาท (คิดจาก 4,000 บาทต่อเดือน) ซึ่งเท่ากับซื้อได้วันละ 8 ลิตรเท่านั้น ในขณะที่ของออสเตรเลีย น้ำมันเบินซินราคาลิตรละประมาณ $1 เมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำที่สุดของเขา คือ วันละ $50 ซึ่งเท่ากับซื้อน้ำมันได้ถึงวันละ 50 ลิตร (ซึ่งเติมได้เต็มถังเลยทีเดียว)

เมื่อเป็นอย่างนี้ เราคงต้องมาพิจารณาตัวเราเองแล้วว่า ฐานะอย่างเรา ควรกินข้าวราดแกงหรือแม็คโดนัล และควรขี่จักรยาน/ขี่มอเตอร์ไซค์/ขับรถยนต์/นั่งรถเมล์ เราจึงจะมีเงินเหลือเก็บและสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียง

ความคิดเห็นทั้งหมด (1)
ชนันท์ ราษฎร์นิยม     วันที่เขียน : 12/3/2554 0:00:00

บทความนี้อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมันโดยประมาณ เมื่อ 5 ปีที่แล้วนะครับ วันนี้ 1 เหรียญออสเตรเลียประมาณ 30 บาทแล้ว และน้ำมั้นก็ลิตรละเกือบ 40 บาทแล้ว

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : สังคม ครอบครัว ชุมชน เศรษฐกิจ
การบริหารบนความหลากหลาย (Diversity and Inclusion Management) » การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
การจะสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพได้ ต้องเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมาย การสร้างทีม/สร้างคน กำหนดกระบวนการ และการกำหนดบทบาทหน้าที่ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร การอบรมในหลักสูตรการสร...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สังคม ครอบครัว ชุมชน เศรษฐกิจ
ผู้เขียน แววตา ติ๊บมา  วันที่เขียน 22/1/2567 15:42:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 11:56:35   เปิดอ่าน 523  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การบริหารบนความหลากหลาย (Diversity and Inclusion Management) » การบริหารบนความหลากหลาย
การบริหารบนความหลากหลายเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายที่มีอยู่ในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายในเรื่องของ เพศ อายุ อาชีพ วัฒนธรรม ความเชื่อ เชื้อชาติ หรือสภาพร่างกาย เ...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สังคม ครอบครัว ชุมชน เศรษฐกิจ
ผู้เขียน แววตา ติ๊บมา  วันที่เขียน 22/1/2567 15:38:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:59:07   เปิดอ่าน 1095  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง