การฝึกอบรม Wordpress for Beginners-Master Wordpress Quickly
วันที่เขียน 3/9/2561 10:44:07     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 23:29:55
เปิดอ่าน: 15858 ครั้ง

ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ จากการเข้าร่วมฝึกอบรมผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในหลักสูตรหัวข้อเรื่อง “Wordpress for Beginners-Master Wordpress Quickly” ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมสามารถเข้าเรียนรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในระยะเวลา 1 เดือนนับตั้งแต่เริ่มลงทะเบียนฝึกอบรม (โดยมีอายุสมาชิกใช้งานกลับดูวนซ้ำได้ในระยะเวลา 365 วัน) ได้ขออนุญาตเข้าฝึกอบรมผ่านระบบอินเตอร์เน็ต www.udemy.com ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฏาคม 2561 ถึง 31 สิงหาคม 2561 ตามหนังสือขออนุญาตเดินทางไปราชการ เลขที่ ศธ 0523.4.8/184 ลงวันที่ 17 กรกฏาคม 2561

สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเจ้าร่วมฝึกอบรมดังต่อไปนี้

 การเข้าร่วมฝึกอบรมผ่านระบบอินเตอร์เน็ต  www.udemy.com ในหลักสูตรหัวข้อเรื่อง “Wordpress for Beginners-Master Wordpress Quickly”   โดยมีเนื้อหาความรู้และหัวข้อการบรรยายและการฝึกปฏิบัติดังนี้

-         Introduction to the Course

-         Installing Wordpress Locally

-         Installing Wordpress on a Web Host

-         A first look around Wordpress

-         Wordpress Settings, Plugins & Themes

-         Website Content with Posts & Pages

-         The Homepage

-         Creating the Legal Pages

-         Website Navigation

-         Wordpress Security

-         A few more Free Wordpress Plugins

-         Steps to follow to build a site

-         Setting Up A Real Website

 

ทั้งนี้ข้าพเจ้าผู้เข้าอบรมได้พิจารณาเลือกเผยแพร่องค์ความรู้ในส่วนหนึ่งของการเข้าร่วมฝึกอบรม สู่การเผยแพร่องค์ความรู้ คือ  วิธีการติดตั้ง WordPress บน localhost (XAMPP)  และเนื้อหาองค์ความรูู้ส่วนอื่นได้นำไปเพิ่มในส่วนของเนื้อหาการเรียนการสอนรายวิชา Content Management System ต่อไป

Installing Wordpress

วิธีการติดตั้ง WordPress สามารถทำได้ 2 วิธีหลักใหญ่ๆ ด้วยกันคือ 1. เลือกติดตั้งบนโฮสต์ (Hosting)   2. เลือกติดตั้งบน localhost  ซึ่งวิธีการที่ได้นำเสนอในคู่มือปฏิบัติการนี้จะเป็นในส่วนของการติดตั้งบน localhost  เหตุผลในการเลือกติดตั้งบน localhost ไม่เลือกติดตั้งที่ hosting  เพราะต้องการทำการทดสอบการสร้างทดสอบผลงานก่อนอัพโหลดขึ้น Hosting จริง เพื่อจักได้ไม่ต้องทำการเปิดโหมด Maintenance ผู้ชมที่เข้ามาอาจจะพบกับความผิดหวังของการทำงานเว็บไซต์ได้ ในส่วนของการติดตั้งและใช้งาน ได้เลือกใช้โปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์เป็น XAMPP ทั้งนี้สามารถเลือกใช้เว็บเซิร์ฟเวอร์เป็น ServerPress ได้กรณีที่ต้องการใช้งานส่วนจัดการเว็บ WordPress โดยตรงสามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://serverpress.com/

วิธีการติดตั้ง WordPress บน localhost (XAMPP)

Step 1 : dowload WordPress ตัวล่าสุดมาก่อนที่ wordpress.org  ทุกครั้งที่ดาวน์โหลดจะได้รับ wordpress ในเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด คลิก https://wordpress.org/  ซึ่งในขั้นตอนการติดตั้งนี้ได้ใช้ WordPress Version 4.9.8 (ล่าสุด ณ วันที่ 1 กันยายน 2561)

แตก zip ไฟล์ที่ดาวน์โหลดได้ออกมาจะได้โฟล์เดอร์และไฟล์ทั้งหมดดังภาพ Step 2

 

Step 2 : ไปที่ XAMPP สร้างโฟล์เดอร์ไฟล์ที่ C:\xampp\htdocs  นำไฟล์ทุกไฟล์ย้ายเข้าไปอยู่ในโฟล์เดอร์ mywordpress01   C:\xampp\htdocs\mywordpress01

Step 3 : เรียกใช้โปรแกรม XAMPP แล้ว start Apache และ MySQL

(หากยังไม่ได้ติดตั้ง XAMPP สามารถดาวน์โหลดได้จาก https://www.apachefriends.org/index.html )

Step 4 : สร้าง database / collation: utf8_general_ci (ตั้งแต่ WordPress 4.2 ขึ้นไป collation: utf8mb4_unicode_   ตั้งชื่อฐานข้อมูลตามที่ต้องการ หลังจากกดปุ่ม Create จะสร้างฐานข้อมูลอยู่ฝั่งด้านซ้ายมือ

Step 5 : ตั้งค่าไฟล์ wp-config.php   โดยดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ wp-config-sample.php เพื่อเข้าไปตั้งค่าข้อมูล database ที่เราสร้างไว้ Step 4  หรือคลิกขวาที่ไฟล์แล้วเปิดกับ Text Editor ตามที่มีอยู่ในเครื่อง

*** อธิบายการกำหนดค่า config

DB = Database

การใส่ค่าต้องอยู่ภายในเครื่องหมาย single quote คือเครื่องหมายนี้ ‘ มี 2 อัน เปิด-ปิด เช่น ‘xxxx’

ใช้โปรแกรมประเภท text editor ในการแก้ไข เช่น Sublime Text, EditPlus, NotePad, WordPad

 DB_NAME - ให้ใส่ ชื่อของ database ที่ได้สร้างขึ้นสำหรับใช้งาน  (บันทัดที่ 23)

DB_USER -  บน localhost ปกติจะถูกตั้งให้เป็น root (บันทัดที่ 26)

(ถ้าเป็นการติดตั้ง WordPress บน hosting ส่วนใหญ่จะใช้ชื่อเหมือนกับ DB_NAME

หรือถ้า hosting ตั้งค่าอย่างอื่นสามารถสอบถาม admin ที่ดูแล hosting นั้นได้ หรือการได้รับข้อมูลส่วนการตั้งค่านี้ผ่านทางอีเมล์ที่ลงทะเบียนใช้งาน hosting)

DB_PASSWORD - ใส่ password ของ database แต่ถ้าเราไม่เคยไปตั้ง password ไว้ที่ XAMPP สามารถปล่อยว่างไม่ใช่ค่าได้

DB_HOST - ใช้ localhost คงเดิมไม่ต้องเปลี่ยน

ตัวอย่างการตั้งค่า config ไฟล์ wp-config-sample.php

เมื่อตั้งค่าสำเร็จแล้ว ให้ Save as ตั้งชื่อไฟล์ใหม่เป็น wp-config.php  ส่วนไฟล์ wp-config-sample.php ระบบไม่ใช้งาน จะทำการลบหรือไม่ก็ได้

 

Step 6 : เรียกหน้าจอการติดตั้ง  (Install WordPress) ด้วย Web Browser

URL พิมพ์ localhost/yourfolder/wp-admin/install.php 

ตัวอย่าง   localhost/mywordpress01/wp-admin/install.php

หลังจากได้เลือกภาษาสำหรับการตั้งค่าใช้งานระบบ จะได้พบกับหน้า ยินดีต้อนรับเข้าสู่หน้าติดตั้งเวิร์ดเพรส

Site Title - ใส่ชื่อเว็บไซต์ (สามารถเปลี่ยนแปลงภายหลังที่หน้า admin ได้)

Username - เป็น username ที่ใช้ Login เข้า WordPress (คนละตัวกับ username ของ database)

Password, twice - เป็น password ที่ใช้ Login เข้า WordPress (คนละตัวกับ password ของ database)

Your E-Mail - ใส่อีเมลของเรา

Privacy - ไม่ต้องติ๊กถูก (ตรงนี้เป็นการอนุญาตให้ search engine เข้ามาเก็บข้อมูลหรือไม่ สามารถเลือกอนุญาตทีหลังได้ในขั้นตอนย้ายโปรเจคเข้าสู่ Hosting)

เสร็จแล้วคลิก Install WordPress

Step 7 : เข้าสู่ระบบ (Login) เข้า WordPress ด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่ตั้งค่าไว้ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ครั้งต่อไปเข้าสู่หน้า Login ใช้ url คือ http://localhost/yourfolder/wp-login.php (นำ wp-login.php มาต่อท้าย)  ตัวอย่าง http://localhost/mywordpress01 /wp-login.php

เพื่อป้องกันการลืมรหัสผ่านสามารถทำการคลิกเลือกบันทึกการใช้งานของฉันไว้กับ browser ได้

เข้าสู่ระบบได้สำเร็จจะพบกับหน้าควบคุม หรือ Dashboard  ทั้งนี้มุมมองการแสดงผลเมนูการใช้งานต่าง ๆ จะเป็นภาษาไทย เนื่องจากตัวอย่างคู่มือการติดตั้งนี้ได้เลือกภาษาไทย หากผู้ใช้เลือกเป็นภาษาอังกฤษทุกอย่างในส่วนการจัดการหน้าควบคุมจะเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่ผู้ใช้เลือกทั้งหมด  ซึ่งผลที่ได้ก็จะเป็นการติดตั้ง WordPress บน localhost (XAMPP) ได้สำเร็จดังอย่างดังภาพ

สำหรับส่วนการติดตั้งโปรแกรม Wordpress บน localhost (XAMPP) เป็นอันเสร็จสิ้นเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปสามารถทำการจัดการบริหารเว็บไซต์ Content Management System พัฒนาเว็บไซต์ด้วยการจัดการเนื้อหาด้วยเครื่องมือในส่วนต่างๆ ต่อไปได้เลย 

ซึ่งในการลงทะเบียนฝึกอบรมผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในหัวข้อเรื่องดังกล่าวมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการทำวิจัยเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและท่าพัก และที่สำคัญเป็นการได้เรียนรู้จากวิทยากรผู้เชียวชาญโดยตรง

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=847
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การอบรมเรื่องการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง » การเข้าร่วมการอบรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง
การเข้าร่วมการอบรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง ณ. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ ได้ทำการอบรมศึกษาที้ง ทฤษฎี และ ปฎิบัติ เพื่อนำเอาทักษะ หรือความก้าวหน้าทางด้านเครื่องมือใหม่ๆไปใ...
การใช้เครื่องมือวิเคระห์ขั้นสูง     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อุทุมพร กันแก้ว  วันที่เขียน 8/9/2567 23:09:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:23:19   เปิดอ่าน 200  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง