การกำกับดูแลและบริหารจัดการด้าน IT ขององค์กร จึงจำเป็นต้องให้มี
- การดูแลรักษาสารสนเทศให้ได้คุณภาพสูง เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจ
- สร้างคุณค่าทางธุรกิจจากการลงทุนโดยมี IT เป็นปัจจัยเอื้อ ได้แก่การใช้งาน IT อย่างมีประสิทธิผลและสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางกลยุทธ์และก่อให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจ
- บรรลุการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ผ่านการใช้งานเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิผล
- ดูแลความเสี่ยงที่เกี่ยวกับ IT ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
- ดูแลต้นทุนการให้บริการทางไอทีและต้นทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ ข้อตกลงตามสัญญาและนโยบาย
ปัจจัยขับเคลื่อนในการพัฒนา COBIT5 จาก
- สิ่งคาดหวังจากสารสนเทศและเทคโนโลยี และลำดับความสำคัญ ของผู้มีส่วนได้เสียมีมากขึ้น (ประโยชน์ที่ได้รับ ณ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และด้วยต้นทุนที่เกิดขึ้น)
- การพึ่งพากลุ่มธุรกิจและองค์กรด้านไอทีจากภายนอกมากขึ้น ระบุถึงความสำเร็จ ตลอดจนวิธีการและกลไกต่างๆ ที่ใช้เป็นการส่งมอบคุณค่าตามที่คาดหวัง
- ปริมาณสารสนเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สารสนเทศจึงจำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
- การบูรณาการ IT เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจมากขึ้น ทั้งในส่วนของโครงการ โครงสร้าง
- การบริหารความเสี่ยง นโยบาย ทักษะหรือกระบวนการต่างๆ
- การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี
- ความรับผิดชอบในการกำกับดูแลและการบริหารจัดการ IT ระดับองค์กรอย่างมีประสิทธิผล ครอบวงจร
- การควบคุมกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ
- การสร้างคุณค่า ความพึงพอใจของผู้รับบริการ และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ นโยบายที่เกี่ยวข้อง
- การสร้างแนวปฏิบัติที่ดีและมาตรฐานต่างๆ
แนวทางการดำเนินงาน
- พิจารณาผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด ทั้งจากภายใน-ภายนอกองค์กร ใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ ใครเป็นผู้รับความเสี่ยง และต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง
- พิจารณาถึงเป้าหมายระดับองค์กร โดยสัมพันธ์กับการได้รับผลประโยชน์ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- พิจารณาถึงปัจจัยเอื้อ ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของงาน ซึ่ง Cobit5 ให้แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยเอื้อไว้ 7 ประการคือ
-
- หลักการ นโยบาย และกรอบการดำเนินงาน เป็นสิ่งที่นำไปสู่พฤติกรรมที่คาดหวังให้เป็นแนวทางปฏิบัติ
- กระบวนการ เป็นกลุ่มของแนวปฏิบัติและกิจกรรมที่ใช้ดำเนินการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับ IT โดยภาพรวม
- โครงสร้างการจัดองค์กร ระบุถึงหน่วยงานที่เป็นหลักในการตัดสินในในองค์กร
- วัฒนธรรม จริยธรรม และพฤติกรรม ทั้งในส่วนบุคคลและขององค์กร
- สารสนเทศ ทั้งที่เกิดจากและที่ใช้โดยองค์กร เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมและเพื่อการกำกับดูแล แต่สำหรับในระดับปฏิบัติการเท่านั้น
- บริการ โครงสร้างพื้นฐาน และระบบงาน รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และระบบงานที่ใช้สำหรับการประมวลผลและบริการอื่นๆ ด้านเทคโนโลยีแก่องค์กร
- บุคลากร ทักษะ และศักยภาพ เชื่อมโยงกับตัวบุคคลและสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้กิจกรรมทั้งหมดสำเร็จลุล่วง และช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องพร้อมทั้งดำเนินการแก้ไข
4. แต่ละปัจจัยเอื้อ จะมีผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งหมายถึงผู้มีบทบาทสำคัญ และมีผลประโยชน์จากปัจจัยเอื้อ ให้ระบุถึงความคาดหวังของแต่ละปัจจัยเอื้อในแต่ละผู้มีส่วนได้เสีย โดยแยกเป็น
-
- ความคาดหวังในด้านคุณภาพในตัวเอง ได้แก่ความถูกต้อง แม่นยำ เชื่อถือได้
- คุณภาพในบริบทความเป็นปัจจุบัน ความสม่ำเสมอ ใช้งานง่าย
- การเข้าถึงและการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
5. พิจารณาถึงวัฏจักรแต่ละปัจจัยเอื้อตั้งแต่การวางแผน ออกแบบ การจัดซื้อจัดจ้าง การนำไปใช้ การประเมิน และการปรับให้เป็นปัจจุบัน
6. พิจารณาถึงการบริหารจัดการประสิทธิภาพของปัจจัยเอื้อ โดยหาคำตอบจาก
-
- การระบุความต้องการผู้มีส่วนได้เสีย
- ปัจจัยเอื้อบรรลุเป้าหมายหรือไม่
- วัฏจักรของปัจจัยเอื้อ ได้รับการจัดการหรือไม่
- มีการประยุกต์ใช้เป็นแนวปฏิบัติที่ดีหรือไม่
ปัจจัยหลักสู่ความสำเร็จที่จะช่วยให้การนำไปใช้งานประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย
- ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ให้ทิศทางและสั่งการสำหรับการริเริ่มดำเนินงานพร้อมกับให้คำมั่นและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องอย่างชัดเจน
- ทุกภาคส่วนที่สนับสนุนกระบวนการกำกับดูแลและบริหารจัดการ มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ทั้งทางด้านธุรกิจและด้านไอที
- ทำให้แน่ใจได้ว่ามีการสื่อสารที่มีประสิทธิผลและสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น
- ปรับใช้ COBIT และแนวปฏิบัติที่ดีและมาตรฐานที่สนับสนุนอื่นๆ ให้เหมาะสมกับบริบทเฉพาะขององค์กร
- มุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่ทำได้เร็ว และให้ความสำคัญในลำดับต้นสำหรับการปรับปรุงที่ให้ประโยชน์สูงสุดซึ่งสามารถนำไปใช้ใช้งานจริงได้ง่าย
http://www.erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=Mjk4NTMx&method=inline
http://www.erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=Mjk4NTMy&method=inline