ว่าด้วยเรื่อง ชื่อเสียงเรียงนามแบบจีน
วันที่เขียน 27/1/2554 20:35:20     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 4:29:08
เปิดอ่าน: 47570 ครั้ง

..ชื่อ - แซ่..



           ก่อนอื่นคงต้องขอกล่าวสวัสดีหนีห่าว( 你好  !)กับคุณผู้อ่านและน้อง ๆ นักเรียนทุกคนกันก่อนนะคะ ฉบับนี้ เรามาพบกันอีกครั้ง 
ด้วยความคิดและหวัง(เป็นอย่างยิ่ง)ว่าน้อง ๆ ที่ได้อ่านฉบับที่แล้ว คงจะกล่าวทักทายและกล่าวคำอำลาแบบจีน ๆ กันได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว

            คราวนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับการถามชื่อเสียงเรียงนามกันค่ะ (เป็น step ต่อจากการทักทายเอาไว้ถามชื่อถามแซ่(นามสกุล)ของคนที่เราคุยด้วยหรืออาจจะเอาไว้แนะนำตัวเองก็ได้ค่ะ) แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น ขอเล่าเรื่องเกี่ยวกับชื่อและแซ่ของคนจีนก่อน
เพราะมีรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างจากชื่อและนามสกุลของคนไทย แซ่ หรือนามสกุลของคนจีนนั้นถือว่าเป็นมรดกหรือสมบัติมีค่าที่บรรพบุรุษทิ้งไว้ให้ลูกหลาน ส่วนชื่อนั้นเป็นมรดกที่พ่อแม่มอบไว้ให้ตั้งแต่เกิด คนจีนจึงมักใช้ชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้ไปจนตาย
ผู้หญิงชาวจีนแม้จะแต่งงานออกเรือนไปเป็นฮูหยิน (ภาษาจีนกลางใช้ว่า夫人  อ่านว่า ฟูเหริน แปลว่า ภรรยา)ของตระกูลอื่นก็ตาม
แต่ยังคงใช้แซ่เดิมไม่มีการเปลี่ยนไปใช้แซ่ของสามี เพราะมีความเชื่อกันว่าชื่อแซ่ของคนเราที่มีมาตั้งแต่เกิดนั้นจะเป็นตัวกำหนดดวงชะตาของคน ๆ นั้น และพ่อแม่ก็ได้เลือกสรรชื่อดีที่เป็นสิริมงคลให้ลูกเอาไว้แล้ว การไปเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขจึงเป็นสิ่งไม่สมควร

           แซ่ของคนจีนมีมากว่า5,000 ปีแล้ว มีทั้งแซ่ที่เป็นอักษรตัวเดียว สองตัว สามตัว สี่ตัวและห้าตัว แต่ที่มีมากที่สุดคือแซ่อักษรตัวเดียว ในปี ค.ศ. 1990 รัฐบาลจีนได้สำรวจแซ่ของคนจีนที่มีมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ปรากฏว่ามีแซ่ทั้งหมดมากกว่า 8,000 แซ่
แต่มีบางแซ่เลิกใช้ไปแล้ว ที่ยังเหลืออยู่ทุกวันนี้มีเพียง 5,007 แซ่ และสิบแซ่ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลกได้แก่  1.แซ่จาง()      2.แซ่หวาง() 3.แซ่หลี่ ()4.แซ่จ้าว() 5.แซ่หลิว() 6.แซ่เฉิน ()   7.แซ่หยาง() 8.แซ่หลิน (林)9.แซ่สวี() 10.แซ่โจว ()

         ส่วนชื่อของคนจีนมักจะมีหนึ่งหรือสองพยางค์ แต่ปัจจุบันจีนมีการติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น คนจีนยุคใหม่ที่อยากโกอินเตอร์จึงมักจะมีชื่อฝรั่งด้วย เช่น  บรู๊ซ ลี ซึ่งมีชื่อจีนว่า 李小龙   อ่านว่า หลี่เสี่ยวหลง หรือ แจ๊กกี้ ชาน ซึ่งมีชื่อจีนว่า 陈龙   อ่านว่า เฉินหลง เป็นต้น

        การเรียกขานชื่อของคนจีนนั้นจะเรียงจากแซ่ก่อน แล้วจึงตามด้วยชื่อ หลี่เสี่ยวหลง ก็คือ แซ่หลี่ ชื่อเสี่ยวหลง (ชื่อสองพยางค์) ส่วน เฉินหลง ก็คือ แซ่เฉินชื่อหลง (ชื่อพยางค์เดียว)นั่นเอง นอกจากนี้ คนจีนยังมักเรียกขานบุคคล ด้วยการใช้แซ่กับตำแหน่งหรืออาชีพด้วย เช่น 陈老师  อ่านว่า เฉินเหล่าซือ  แปลว่า อาจารย์เฉิน (เฉิน คือแซ่เฉิน ส่วนเหล่าซือ คือ อาจารย์)  张教授   อ่านว่า จางเจี้ยวโซ่ว แปลว่า ศาสตราจารย์จาง (จาง คือแซ่จาง ส่วนเจี้ยวโซ่ว คือ ศาสตราจารย์) เป็นต้น

         ในการพบกันครั้งแรก หากเราอยากจะถามชื่อเสียงเรียงนามของคนที่เราคุยด้วย เราจะเริ่มต้นถามจากแซ่หรือนามสกุลก่อน จากนั้นจึงค่อยถามชื่อตัว  และสำนวนที่ถือว่าสุภาพที่สุดและนิยมใช้กันมากที่สุดในการถามแซ่คือ   您贵姓?  อ่านว่า  หนินกุ้ยซิ่ง     แปลว่า คุณ(ท่าน)แซ่อะไรคะ(ครับ)  ผู้ถูกถามก็จะตอบว่า我姓อ่านว่า หว่อซิ่งหลี่  แปลว่า ฉัน(ผม)แซ่หลี่
(ในกรณีที่ผู้ตอบแซ่หลี่)หากผู้ถูกถามแซ่อื่นก็ใช้แซ่หรือนามสกุลของตนแทนคำว่าหลี่ จากนั้นจะเป็นการถามชื่อตัว ซึ่งมักใช้คำถามว่า

您叫             อ่านว่า หนินเจี้ยวเสินเมอหมิงจื้อ   แปลว่า คุณ(ท่าน)ชื่ออะไรคะ(ครับ)

ผู้ถูกถามจะตอบว่า  我叫李金凤 อ่านว่า หว่อเจี้ยวหลี่จินฟ่ง แปลว่า ฉันชื่อหลี่จินฟ่ง

(หากเราใช้ชื่อไทย ก็ให้ตอบชื่อของเราแทนที่ หลี่จินฟ่ง

คำศัพท์              อ่านว่า กุ้ย  แปลว่า มีค่า                    อ่านว่า ซิ่ง     แปลว่า แซ่                                       

                        อ่านว่า หว่อ  แปลว่า ฉัน,ผม            叫 อ่านว่า เจี้ยว แปลว่า เรียก, ชื่อ                         

                  อ่านว่า เสินเมอ แปลว่า อะไร              อ่านว่า หมิงจื้อ  แปลว่า ชื่อ                    

 

หมายเหตุ           (หนินกุ้ยซิ่ง)เป็นสำนวนที่ใช้ถามแซ่ของบุคคลอื่นอย่างสุภาพ ไม่นิยมแปลความหมายคำต่อคำ 

                     (หนี่ซิ่งเสินเมอ)เป็นคำถามที่ควรหลีกเลี่ยงหากจะใช้ถามผู้ใหญ่ เพราะถือว่าไม่สุภาพ

                                      แต่ใช้ได้ในกรณีที่ถามเด็ก

              ก่อนจากกันในฉบับนี้ ขอฝากเคล็ดไม่ลับเรื่องการเรียนภาษาต่างประเทศกับน้องๆ นักเรียนนะคะ  ว่าถ้าอยากประสบความสำเร็จ
ขอให้หมั่นท่อง หมั่นใช้ และอย่าอายที่จะพูด รับรองได้เลยค่ะ ความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินความพยายามอย่างแน่นอน 

แล้วพบกันใหม่นะคะ? ? !จ้ายเจี้ยนค่ะ  ^U^


@@@@@@@@@@@@@@@

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=75
ความคิดเห็นทั้งหมด (2)
สุวรรณ เลียงหิรัญถาวร     วันที่เขียน : 10/2/2554 0:00:00

^^

สุวรรณ เลียงหิรัญถาวร     วันที่เขียน : 2/2/2554 0:00:00

 

บทความยังไม่สมบูรณ์

กำลังรอให้ผู้ดูแลระบบ จัดการให้แสดงตัวอักษรจีนค่ะ

 

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
การบริการวิชาการสู่ชุมชนด้านการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรม » ซุ้มประตูโขงวัดพระธาตุเสด็จ จังหวัดลำปาง
ซุ้มประตูโขงวัดพระธาตุเสด็จ นครลำปาง กับหลักฐานความงามในอดีตจากภาพถ่ายโบราณ ถ้ากล่าวถึงซุ้มประตูโขงสกุลช่างลำปางที่สวยงามอีกหนึ่งหลัง ในยุคพม่าปกครองล้านนา (พ.ศ. 2101-2300) คือซุ้มประตูโขง...
ซุ้มประตูโขง     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 26/8/2564 13:47:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 23:01:23   เปิดอ่าน 2327  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การบริการวิชาการสู่ชุมชนด้านการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรม » ช่อฟ้าแบบลำปาง
รูปแบบช่อฟ้ากลุ่มลำปางอันเป็นอัตลักษณ์เชิงช่าง ก็ต้องกล่าวถึงช่อฟ้าเซรามิกประดับวิหารวัดพระธาตุเสด็จ ที่เป็นช่อฟ้าเซรามิกรูปทรงเป็นพญานาค ที่ระบุว่าสร้างในปี จ.ศ. 1008 หรือ พ.ศ. 2189 ปัจจุบันจัดแส...
ช่อฟ้าลำปาง     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 26/8/2564 13:42:04  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 4:12:22   เปิดอ่าน 1699  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การบริการวิชาการสู่ชุมชนด้านการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรม » วัดร้างแสนขานกับจิตรกรรมเขียนสีกลางกรุ อายุ 600 ปี ค้นพบใหม่อีกแห่งในล้านนา
เจดีย์วัดร้างแสนขาน ตั้งอยู่บนถนนมณีนพรัตน์ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ปรากฏชื่อวัดแสนขาน ในเอกสารตำนานพงศาวดาร แต่สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัดที่ปรากฏชื่อในพงศาวดารโยนกว่า “...พญา...
จิตรกรรมวัดร้างแสนขาน, จิตรกรรมล้านนา 600 ปี     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 5/9/2563 22:20:19  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 13:39:53   เปิดอ่าน 2493  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
บทความ » อาหารพื้นบ้านของชาวล้านนา
ภาคเหนือหรืออาณาจักรล้านนาในอดีต เป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตจวบจน ปัจจุบัน มีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้จากหลาย ๆ แหล่ง ทำให้ได้รับวัฒนธรรมหลากหลาย จากชนชาติ...
อาหารล้านนา     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ผู้เขียน กัณณิกา ข้ามสี่  วันที่เขียน 11/10/2562 10:31:57  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 19:41:33   เปิดอ่าน 5483  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง