วัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ "ตะเกียบ" ของชาวจีน
วันที่เขียน 29/9/2560 16:06:52     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/9/2567 10:03:57
เปิดอ่าน: 16600 ครั้ง

จากบทความก่อนหน้า ที่ได้กล่าวถึงมารยาทในการรับประทานอาหารแบบจีน ครั้งนี้จะขอเพิ่มเติมในรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดบนโต๊ะอาหารแบบจีน ซึ่งก็คือ “ตะเกียบ” ซึ่งชาวจีนเป็นชนชาติแรกของโลกที่มีการใช้งานตะเกียบ โดยเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงหลังยุคราชวงศ์ฮั่น หรือราวๆ คริสต์ศตวรรษที่ 3

วัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ "ตะเกียบ" ของชาวจีน

  จากบทความก่อนหน้า ที่ได้กล่าวถึงมารยาทในการรับประทานอาหารแบบจีน ครั้งนี้จะขอเพิ่มเติมในรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดบนโต๊ะอาหารแบบจีน ซึ่งก็คือ “ตะเกียบ” ซึ่งชาวจีนเป็นชนชาติแรกของโลกที่มีการใช้งานตะเกียบ โดยเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงหลังยุคราชวงศ์ฮั่น หรือราวๆ คริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีเรื่องราวความเชื่อเกี่ยวกับตะเกียบดังต่อไปนี้

  1. ห้ามปักตะเกียบไว้ในชามข้าว การปักตะเกียบลงบนชามข้าว ดูเผินๆ จะเหมือนการปักธูปลงบนกระถางธูป เสมือนเป็นการไหว้บรรพบุรุษหรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ยิ่งถ้าเราเป็นผู้ตักข้าวให้คนอื่นแล้วปักตะเกียบลงไปในชามข้าวแบบนี้ด้วยแล้ว เสมือนว่าเราสาปแช่งผู้ที่เราตักข้าวให้เลยทีเดียว
  2. ห้ามอม ดูด หรือ เลียตะเกียบ การดูด อม เลีย ตะเกียบ ชาวจีนถือว่าเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพ โดยเฉพาะถ้าดูดจนมีเสียงดังด้วยแล้ว ยิ่งเสียมารยาทเข้าไปใหญ่
  3. ห้ามใช้ตะเกียบเคาะถ้วยชาม การใช้ตะเกียบเคาะถ้วยชามนั้นไม่ใช่ว่าเป็นการเอาภาชนะมาทำเครื่องดนตรีนะครับ แต่ความเชื่อของชาวจีนจะมองว่าประหนึ่งทำตัวเป็นขอทานที่คอยเคาะถ้วยเคาะชามเพื่อเรียกร้องความเมตตาสงสาร หรือเรียกร้องความสนใจจากผู้ใจบุญ
  4. ห้ามใช้ตะเกียบข้างเดียวจิ้มลงบนอาหาร บางทีตอนเด็กๆ ที่เรายังใช้ตะเกียบไม่ค่อยคล่อง เวลาจะ จับ-หนีบ-คีบ อาหารแต่ละทีก็ลำบาก ดังนั้นตอนเด็กๆ เราก็อาจจะเคยเอาตะเกียบข้างเดียวนี่แหล่ะ ทิ่มเข้าไปในอาหารเลย โดยเฉพาะพวกลูกชิ้นที่มันคีบยาก แต่สำหรับความเชื่อของชาวจีนแล้วนั้น การทำแบบนี้จะถือว่าเป็นการเหยียดหยามน้ำใจกัน คล้ายๆ กับการแจกกล้วย (ชูนิ้วกลาง) ของวัฒนธรรมตะวันตก
  5. ห้ามใช้ตะเกียบคุ้ยเขี่ยอาหาร บางทีหมูชิ้นที่เราอยากรับประทานมันอยู่ใต้ใบผัก แต่ทว่า ในจานกับข้าวมีแต่ใบผัก แล้วหมูชิ้นมันไปซ่อนอยู่ที่ไหน? แต่สำหรับความเชื่อของชาวจีนจะมองว่าการใช้ตะเกียบคุ้ยเขี่ยอาหารในจานนั้นเปรียบได้กับพวกโจรสลัดซึ่งขุดสุสานเพื่อหาสมบัติ ซึ่งถือเป็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ
  6. ห้ามใช้ตะเกียบชี้หน้าผู้อื่น การใช้ตะเกียบชี้หน้าผู้อื่น ดูๆ ไปแล้วก็เหมือนเป็นการใช้นิ้วชี้หน้าคู่สนทนาบนโต๊ะอาหาร แต่แค่เปลี่ยนจากนิ้วเป็นตะเกียบ ซึ่งเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพ
  7. ห้ามใช้ตะเกียบทำท่าวนไปมาบนโต๊ะอาหาร บางทีบนโต๊ะอาหารมีอาหารเยอะแยะ ไม่รู้ว่าจะเลือกรับประทานอาหารอะไรดี ประหนึ่งว่ากำลังลังเล ก็เลยทำท่าวนตะเกียบอยู่เหนืออาหารเหล่านั้น ซึ่งกิริยาดังกล่าวนั้นเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพ หากต้องการจะคีบอาหารสิ่งใดให้นึกให้ดีก่อน แล้วจึงใช้ตะเกียบคีบสิ่งนั้น
  8. ห้ามวางตะเกียบสะเปะสะปะ การวางตะเกียบไม่เสมอกันถือเป็นเรื่องอัปมงคลอย่างยิ่ง คนจีนจะมีคำกล่าวที่ว่า "ชางฉางเหลียงต่วน" หมายถึง "สามยาวสองสั้น" วลีนี้ชาวจีนหมายถึง "ความตาย" หรือ "ความวิบัติฉิบหาย" ดังนั้น การวางตะเกียบที่ทำให้เหมือนมีแท่งไม้สั้นๆ ยาวๆ จึ่งเป็นเรื่องอัปมงคลอย่างยิ่ง

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน หากได้มีโอกาสในการร่วมรับประทานอาหารแบบจีน เพื่อให้การพบปะ และการสร้างความสัมพันธ์เป็นไปได้ด้วยดี ซึ่งจะนำประโยชน์มาให้ทั้งกับผู้อ่าน และยังเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย ที่มีความโดดเด่นในด้านการให้บริการการท่องเที่ยว

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=739
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม » รู้หรือไม่ สายfiber optic สามารถย่อโลกให้เล็กลงได้
สายfiber optic หรือ สายใยแก้วนําแสง คือ สายสัญญาณชนิดหนึ่งที่ผลิตมาจากแก้ว หุ้มด้วยใยพิเศษเพื่อป้องกันการกระแทก โดยการส่งข้อมูลของเส้นใยแก้วนำแสง นั้นจะทำงานจาก การแปลงสัญญาณข้อมูลไฟฟ้าจากอุปกรณ์ต...
Fiber Optic Cable  ไฟเบอร์ออฟติก  สายใยแก้วนําแสง     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน ประทีป สุขสมัย  วันที่เขียน 6/9/2567 16:49:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/9/2567 2:59:17   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การศึกษาดูงานบริการการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย » KM งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ จากการเข้าศึกษาดูงาน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย วันที่ 3 พฤษภาคม 2567
งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มีแผนการพัฒนางานประจำเพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงงานประจำ หรือพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมของงาน จึงได้วางแผนตั้งแต่การขออนุมัติเข้าร่วมอบรม การพัฒนางาน...
KM, งานบริการการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน กฤตาณัฐ ศรีประภา  วันที่เขียน 30/8/2567 14:58:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/9/2567 18:46:45   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
อบรมการพัฒนาตนเองด้านความรู้ ทักษะและพฤติกรรม ปี 2567 » กระบวนการพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ
การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความพยายาม รวมถึงการมีส่วนร่วมจากพนักงานทุกระดับในองค์กร การนำเทคโนโลยีและการปรับปรุงกระบวนการมาใช้ จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้...
การพัฒนา งานประจำ นวัตกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน ภาวิณี จีปูคำ  วันที่เขียน 27/6/2567 14:10:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/9/2567 13:41:59   เปิดอ่าน 158  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง