โครงการอบรมการขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) ระดับคณะ เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) มีการพัฒนาความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์โครงร่างองค์กร สามารถจำแนกจุดแข็งและโอกาสในการพัฒนา จัดลำดับความสำคัญของปัญหาขององค์การ โดยมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคุณภาพขององค์การ ทำให้สามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพภายในองค์การได้ และนำไปปรับปรุงระบบการดำเนินงานและทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้นตามเป้าหมายที่คณะต้องการ
การเขียนโครงร่างองค์กร
P.1 ลักษณะองค์กร
ก. สภาพแวดล้อมองค์กร
ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์การ
P2. สภาวการณ์ขององค์กร
ก. สภาพการแข่งขัน
ข. บริบทเชิงกลยุทธ์
ค. ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินงาน
1) เป็นข้อกาหนดของระบบการบริหารจัดการองค์กรในเรื่องหลักๆ ที่ส่งผลให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน การบริหารจัดการ และการบริการที่จะส่งมอบสิ่งที่มีคุณค่าแก่ผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสังคม อย่างต่อเนื่อง
2) อาศัยแนวคิดและทฤษฎีของการจัดการที่เป็นระบบ และการปรับปรุงผลการดาเนินการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
3) สอดแทรกหลักการของการบริหารจัดการที่อยู่บนระบบค่านิยมที่สร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรและความสมดุลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
- วัตถุประสงค์ของเกณฑ์ EdPEx
1) เพื่อให้องค์กรต่างๆ ได้ใช้เกณฑ์นี้ไปพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการ ขีดความสามารถ และผลลัพธ์ให้ดีขึ้น
2) เป็นกลไกในการสื่อสารและการแบ่งปันเรียนรู้จากวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
3) เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้าใจและทบทวนผลการดำเนินการในระบบการบริหารจัดการขององค์กร รวมทั้งเป็นแนวทางในการวางแผนและเป็นโอกาสในการเรียนรู้ของสถาบัน
เกณฑ์นี้ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้สถาบันใช้เป็นแนวทางที่บูรณาการในการจัดการผลการดาเนินการของสถาบัน ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ดังนี้
- การจัดการศึกษาที่มีการปรับปรุงอย่างสม่าเสมอให้แก่ผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาและความยั่งยืนของสถาบัน
- การปรับปรุงประสิทธิผลและขีดความสามารถโดยรวมของสถาบัน การเรียนรู้ระดับสถาบันและระดับบุคคล
คุณลักษณะสำคัญของเกณฑ์ความเป็นเลิศ
1) เกณฑ์มุ่งเน้นผลลัพธ์ : ผลลัพธ์ควรเป็นตัววัดที่สะท้อนการดาเนินการของกระบวนการต่างๆ ภายในองค์กร การปรับปรุงกระบวนการจึงควรส่งผลให้ผลลัพธ์ดีขึ้น
เกณฑ์นี้มุ่งเน้นผลการดาเนินการระดับองค์กรที่สำคัญ ตามที่ระบุไว้ดังนี้
ผลการดาเนินการขององค์กร :
(1) ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนและกระบวนการ
(2) ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า
(3) ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน
(4) ผลลัพธ์ด้านการนาองค์กร และการกากับดูแล
(5) ผลลัพธ์ด้านงบประมาณ การเงิน และการตลาด
2) เกณฑ์ไม่กำหนดวิธีการที่เฉพาะเจาะจง และสามารถปรับใช้ได้ตามบริบทของแต่ละแห่ง : สถาบันควรค้นหาแนวทางในการดาเนินการในรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของตนเองเพื่อนาไปสู่วิธีปฏิบัติที่เป็นเยี่ยม(Best Practices)
เกณฑ์นี้ประกอบด้วยข้อกำหนดที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ อย่างไรก็ตามเกณฑ์ไม่ได้กำหนดว่า
- องค์กรควรมีโครงสร้างอย่างไร
- องค์กรควรหรือไม่ควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านคุณภาพ ด้านวางแผน ด้านจริยธรรม หรือหน้าที่อื่นๆ หรือ
- องค์กรด้องมีการบริหารหน่วยงานต่างๆ ในรูปแบบเดียวกัน
3) เกณฑ์นี้บูรณาการสาระสำคัญทางการศึกษา : การสร้างสมดุลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการมุ่งเน้นตามพันธกิจเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์
เกณฑ์การศึกษาถูกดัดแปลงเพื่อให้ความสำคัญกับหลักการที่สำคัญทางการศึกษา และความต้องการที่จำเพาะขององค์กรการศึกษา ซึ่งรวมถึง
- มุ่งเน้นที่การเรียนการสอนเป็นหลัก เนื่องจากเป็นเป้าหมายสำคัญของสถานศึกษา
- สถานศึกษาอาจมีพันธกิจ บทบาทและหลักสูตรซึ่งมีความแตกต่างกันได้ (เช่น สถาบันที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านกีฬา ทักษะทางภาษา หรือสถาบันที่เน้นการสอนเด็กที่มีความสามารถพิเศษ)
- คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ (เช่น ผู้ปกครอง นายจ้าง สถาบันการศึกษาอื่นๆ และชุมชน)
4) เกณฑ์นี้สนับสนุนมุมมองเชิงระบบเพื่อให้เป้าประสงค์สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ทั่วทั้งองค์กร : ความเชื่อมโยงของเนื้อหาภายในเกณฑ์แต่ละหมวด
มุมมองเชิงระบบเป็นแนวทางการดาเนินงานที่มุ่งเพื่อให้เป้าประสงค์สอดคล้องไปในทางเดียวกัน จะต้องหยั่งลึกอยู่ในโครงสร้างที่บูรณาการกันระหว่างค่านิยมหลักและโครงร่างองค์กร เกณฑ์ แนวทางการประเมิน การมุ่งเน้นผลลัพธ์ เหตุปัจจัยและผล ผ่านข้อคาถามที่เชื่อมโยงข้ามกระบวนการระหว่างหัวข้อต่างๆ ในเกณฑ์
5) เกณฑ์สนับสนุนการตรวจประเมินที่เน้นเป้าประสงค์ : การตรวจประเมินองค์กรเพื่อทราบระดับพัฒนาการ แนวทางการประเมินประกอบด้วยการตรวจประเมินซึ่งแยกเป็น 2 ส่วน คือ กระบวนการ และผลลัพธ์ การตรวจประเมินช่วยให้องค์กรทราบถึงจุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุงตามหัวข้อหลักต่างๆ เพื่อบอกให้องค์กรทราบถึงระดับพัฒนาการของตนเองทั้งในแง่ของกระบวนการและผลการดาเนินการ ด้วยเหตุนี้การตรวจประเมินจึงนาไปสู่การวางแผนเพื่อลงมือปฏิบัติที่ส่งผลต่อการปรับปรุงผลการดาเนินการในทุกด้าน การตรวจประเมินดังกล่าวจึงเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการที่เป็นประโยชน์กว่าการทบทวนผลการดำเนินการโดยทั่วๆ ไป
วิธีการนำไปใช้ประโยชน์
- นำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับเกี่ยวกับเกณฑ์ EdPEx ไปใช้ในการดำเนินงานของตนเอง
- สามารถวิเคราะห์และเขียนโครงร่างองค์กร ของคณะได้
- พัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ที่สามารถเทียบได้ในระดับสากล