จากการเข้าร่วมอบรมในหัวข้อ Oracle Middleware ได้รับทราบแนวธุรกิจของบริษัท Oracle กับเทคโนโลยีในปัจจุบันของทาง Oracle กับการใช้งานในยุคปัจจุบันทั้งในเรื่องของ Hardware , Network , Software ที่มีทั้งในระดับ Customer IT และระดับ Enterprise IT
Customer IT : Mass market , Small volume/transaction , Less specialization , Aim for individual usage
Enterprise IT : Corporate Market, Large Volume/transaction , More specialization , Aim for professionals/group with centralized control
Digital Economy ในปัจจุบันเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอล ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากทั้งในส่วนของอุสาหกรรมขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
Enterprise Software ซอฟต์แวร์ระดับองค์กรขนาดใหญ่ในปัจจุบันจะมีการพัฒนาซอฟต์แวร์บนพื้นฐานของการพัฒนาด้วยภาษาจาวาโปรแกรมมิ่ง (Oracle base on Java Programming) เพราะสามารถรองรับการใช้งานได้หลาย Plant from ที่สร้างขึ้นมาครั้งเดียวแต่รองรับได้หลาย Operating System ยกตัวอย่างกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งาน Enterprise Software ได้แก่
- CMU : Communications (การสื่อสาร), Media (สื่อ), Utilities (สารธารณูปโภค)
- FSI : Financial Service Industry (อุตสาหกรรมการบริการทางการเงิน)
- GEH : Government (รัฐบาล), Education (การศึกษา), Hospitality (โรงพยาบาล)
- MRD : Manufacturing (การผลิต), Retail (ค้าปลีก), Distributor (ผู้จัดจำหน่าย)
ตัวอย่าง เทคโนโลยีและการทำงานแบบเดิม ๆ ที่ต้องเกิดการหยุดชะงักลงแล้วถูกแทนที่การทำงานด้วยเทคโนโลยีใหม่ในยุคดิจิตอล (Digital Disruption)
- What app à Disrupted SMS/Tel
- Lending Club à Disrupting banks
- Netflix à Disrupted Cable TV
- Grab Taxi à Disrupted Taxi Operator
- Linked in à Disrupting Prints / Recruitment (HR)
Powering the Digital disruption (การหยุดชะงักทางดิจิตอล)
- Mobile (อุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ ที่มีความสามารถมายิ่งขึ้น และผู้คนใช้งานมากขึ้น)
- Social (โซเชียลเน็ตเวิร์คที่มีมากขึ้นแล้วส่งเสริมความสะดวกให้กับผู้ใช้ และข้อมูลที่มากขึ้น)
- Cloud (เทคโนโลยี Cloud ที่ Hander bad transition)
- Analytics (การวิเคราะห์ข้อมูลสู่การนำไปใช้ประโยชน์)
Cloud Layers : Oracle มีระดับการใช้งานดังนี้
- SaaS : Software as a Service
- PaaS : Platform as a Service
- IaaS : Infrastructure as a Service
FinTech (ฟินเทค) : คืออะไร
FinTech มาจากคำว่า Financial และ Technology แปลตรงตัวได้ว่า เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน หรือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจการเงิน ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมตู้ ATM , บัตรเครดิต, การโอนเงินออนไลน์ เป็นต้น เหล่านี้ก็ล้วนเป็นฟินเทคอย่างหนึ่ง ซึ่ง FinTech นั้นมีมานานแล้วแต่ยังมีช่องว่างอีกมากมายที่จะทำให้ธุรกรรมทางการเงินของเรา ดีขึ้น เร็วขึ้น ง่ายขึ้น ประหยัดขึ้น กระแสคำว่าฟินเทคเกิดขึ้น เพราะการมาของ Startup บริษัทสายเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนโฉมการเงิน ได้รวดเร็วกว่าการให้บริษัทการเงินอย่างธนาคาร ต้องมาคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพียงลำพัง
ยกตัวอย่างเช่น TransferWise เป็น Startup บริการการโอนเงินข้ามประเทศ ช่วยให้โอนเงินข้ามประเทศได้เร็วกว่า และค่าธรรมเนียมถูกกว่าใช้บริการเคาท์เตอร์ของสถาบันต่าง ๆ Lufax.com จากจีน และ LendingClub จากอเมริกา เป็นบริการด้าน Peer-to-peer Lending (P2P Lending) หรือการเชื่อมให้คนสองคนยืม-คืน เงินกันได้ ผ่านแอปพลิเคชัน
ตัวอย่างอื่น ๆ ที่อาจจะยังไม่ใช่ยูนิคอร์น เช่น Crowdcube และ Crowdo เป็น Equity Crowdfunding ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถระดมเงินทุนจากสาธารณชนได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงการกู้เงินจากธนาคารอย่างเดียวเสมอไป นับได้ว่าฟินเทคก่อให้เกิดตลาดใหม่อันเกิดจากการเชื่อมกันระหว่างด้านการเงินและเทคโนโลยี เป็นส่วนผสมของกระบวนการดั้งเดิมในเรื่องทางการเงินไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ – เงินทุนหมุนเวียน, Supply Chain, กระบวนการชำระเงิน, การฝาก/ถอน, ประกันชีวิต และอื่นๆ แต่แทนที่จะเป็นโครงสร้างการทำธุรกรรมแบบเดิมก็มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบและสะดวกต่อผู้ใช้งานมากขึ้น
ในขณะนี้ กระแสเทคโนโลยีตัวใหม่ ที่กำลังมาแรง คือ Blockchain (บล็อกเชน) โดยแท้จริงแล้ว จุดเริ่มต้นของบล็อกเชน มากจากความพยายามในการพัฒนาฟินเทคประเภท Bitcoin (บิทคอยน์) เพื่อสร้าง Digital currency ที่มีความน่าเชื่อถือ จนปัจจุบัน Blockchain ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย และเป็นเทคโนโลยีที่โลกกำลังจับตามองมากที่สุดในขณะนี้