ในปัจจุบันการบริหารงานภาครัฐได้มีแนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลในการบริหารจัดการ คือ การประยุกต์ใข้ศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศในแขนงต่างๆ เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบาย การวางแผน และการปฏิบัติงาน ทั้งนี้กระบวนการในการตัดสินใจในการบริหารงานภาครัฐ โดยร้อยละ 70-80 จะเกี่ยวข้องกับข้อมูลทางพื้นที่
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : GIS จึงนับเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประโยชน์ช่วยในกระบวนการตัดสินใจ ด้วยมีความพิเศษและลักษณะเฉพาะตัวที่ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเชิงพื้นที่ และข้อมูลเชิงบรรยายเข้าไว้ด้วยกันได้ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง ความสามารถในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่ในรูปแบบของแผนที่ ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนอ้างอิงตำแหน่งกับพื้นผิวโลกได้
ทั้งนี้ในมุมมองการบริหารของมหาวิทยาลัย หนึ่งในฐานข้อมูลหลัก ที่ใช้ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย นั่นคือ อาคารสถานที่ ซึ่งเมื่อพูดถึงสถานที่ สามารถนึกถึงแผนที่ ซึ่งเมื่อนำเอาอาคารต่างๆ บนพืนดินมาวางบนกระดาษ หรือเว็บไซด์ และให้เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยได้เช่น นักศึกษา บุคลากร การมองเห็นภาพของผู้บริหาร ก็มีแนวโน้มมองเห็นมหาวิทยาลัยชัดเจนขึ้น ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยการบูรณาการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (Management Information System : MIS) ร่วมกับการแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ขึ้น แผนที่จึงสามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลสารสนเทศและข้อมูลเชิงพื้นที่เข้าด้วยกันได้ เรียกว่าการแสดงรายงานรูปแบบ MIS-GIS Report