การพัฒนาระบบงานและการสร้างนวัตกรรมในการทำงาน
ความสุข ความผูกพันกับการพัฒนาคุณภาพ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพงาน
- ฐานใจที่ผูกพัน
- เครื่องมือพัฒนางาน
- Teamwork
การพัฒนาคุณภาพตนเอง
- การพัฒนาคุณภาพงาน
- การพัฒนาคุณภาพองค์กร
- องค์กรมีคุณภาพ
- องค์กรมีชื่อเสียง อยู่ได้
- คนในองค์กรมีความสูง
- คนในองค์กรหาโอกาสพัฒนา
ลำดับชั้นของความสุข
- สุขจากการเสพ โดยไม่ติด มีก็ดี ไม่มีก็ได้
- สุขจากการทำความดี มีจริยธรรม เป็นผู้ให้
- สุขจากความกลมกลืนกับธรรมชาติ รับได้กับทุกสิ่ง
- สุขจากความสงบในจิตใจ
กุศโลยายเพื่อสร้างความสุข
- เคารพผู้อื่น
- ลดตัวตน การทำเพื่อตัวเอง
- ทำใจ ไม่คาดหวัง
- หยุดคิด
- มองโลกในด้านดี
การพัฒนาคุณภาพอย่างมีความสุข
- ใช้การทำงานเป็นการเยียวยาตนเอง หมายถึงการฝึกจิตใจที่จะมีกุศโลบายหรือหลักคิดบางอย่างอยู่
ในใจ
- AIC(Appreciate-Influence-Control) มองโลกในด้านดีบ้าง ชักชวนและพร้อมปรับวิธีการโดยไม่หวังผล 100 % ควบคุมตนเองในด้านความคิด การแสดงออก และการกระทำ
- ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อหาหนทางที่เรียบง่ายในการทำงาน อย่าออกแบบระบบงานที่เพิ่มภาระที่คนทำงานต้องจดจำมากขึ้น ต้องทำงานเอกสารมากขึ้น
- ใช้หลัก visual management หรือ human factor engineering ในการออกแบบสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน
- สร้างทีมที่รู้ใจเพื่อแบ่งปันบทเรียน ร่วมแก้ปัญหา และชื่นชมคุณค่าร่วมกัน
ทำงานให้มีคุณภาพ
- ทำงานประจำให้ดี
- มีอะไรให้คุยกัน
- ขยันทบทวน
- เป้าหมายชัด
- วัดผลได้
- ให้คุณค่า
- อย่ายึดติด
องค์กรที่มีชีวิต
- เป็นระบบเปิด ยึดหยุ่น ปรับตัว รับมือกับการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก
- องค์กรจัดการตนเอง ไม่ติดกับโครงสร้าง ทำงานกับแรงบันดาลใจของคนใส่ตัวกวนที่มีความหมาย สร้างสนามพลังในองค์กร
- วัฒนธรรม คำนิยม วิสัยทัศน์ จริยธรรม มีอิทธิพลที่เห็นผลได้
- มีอิสระในการตีความข้อมูลที่หลากหลาย ส่งเสริมศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคล ไม่สูญเสียความเป็นตัวของตัวเองให้เป้าหมายขององค์กร
- คุณค่าและการเรียนรู้ ชุมชนมีความสำคัญต่อการอยู่รอด
- พัฒนาจิตตปัญญาให้เป็นจิตใหญ่ ใช้การสืบค้นด้านบวก เติมเต็มความบกพร่องของกัน ทำงานอย่างไร้พรมแดน
Staff Engagement: individual level (ในระดับบุคคล)
- คิดเป็น คิดดี คิดบวก
- ผู้มีจิตใจใหญ่ย่อมผูกพันกับสิ่งที่มีคุณค่าทุกเรื่อง
- ผู้ที่เชื่อมโยงความหมายและคุณค่าของชีวิต กับงานเข้าด้วยกันย่อมนำไปสู่ งานได้ผล คนเป็นสุข
- ผู้มีอุปนิสัยในการพัฒนาตนเองตลาดเวลา ย่อมพร้อมรับความท้าทายและเห็นความหมายในงานที่ท้าย
- ผู้ยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม มีความซื่อสัตย์ ความมั่นคงในจิตใจย่อมพร้อมทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ข้อพึงระวังของการพัฒนา
- เน้นงานมากกว่าเน้นคน ทำให้เกิดความขัดแย้ง ไม่เป็นสุข
- เน้นรูปแบบมากกว่าเนื้อหา
- ไม่ถามหาคุณค่าและแก่นสานของสิ่งที่กำลังทำอยู่
- ทำเพื่อโชว์ ทำเพื่อรอประเมิน มิได้ทำเพื่อผู้รับบริการและชุมชน
- ชาดการใช้ core values
- จัดสรรเวลาไม่ถูกต้อง
หาวิธีลดภาระงาน
- ตีโจทย์ด้วยจิตอิสระ ทำความเข้าใจเป้าหมาย
- เลือกกินก้อนใหญ่
- ค้นหาความหมาย เน้นกระบวนการ หาคนช่วยคิด
- สร้างผู้เชี่ยวชาญ และกระจายความเชี่ยวชาญ
- หาคนมาช่วย จิตอาสา เยาวชน สอนลูกไปทำงาน
- สุ่มตัวอย่าง
- หมุน PDCA วงเล็กๆ หลายๆ ครั้งต่อเนื่อง
การสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้มีคุณภาพ
The Changing World
- การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทุกด้าน
- สิ่งแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูง
- การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ
- อายุของผลิตผลสั้นลงเรื่อยๆ
- ความคาดหวังของคน ประชาคม
ผลลัพธ์ในชีวิตเกิดจาก
ความคิด -----> อารมณ์ความรู้สึก ------> การกระทำ -----> ผลลัพธ์
เส้นทางแห่งความสำเร็จ
- ความรัก
- ความศรัทธา
- ความเชื่อ
- การลงมือทำ
ทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยแรงศรัทธา
- ศรัทธาต่อวิชาชีพ
- ศรัทธาต่อองค์กรของตน
- ศรัทธาต่อตัวเอง
การทำงานเป็นทีมเพื่อประสิทธิผลของงาน
TEAMWORK
T TRUST ไว้ว่างใจกัน
E EMPATHY เอาใจเขามาใส่ใจเรา
A ADAPTABILITY ปรับตัว
M MUTUAL BENEFIT ผลประโยชน์ร่วม
W WILLINGNESS ความเต็มใจ
O OPENNESS เปิดเผย
R RESPECT ยอมรับนับถือ
K KNOWLEDGE ความรอบรู้
การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข Head / Heart/ Hand ต้องสมดุล
ขาดปัจจัยหนึ่งปัจจัยไม่ได้
ขาดสมอง = ขาดความกระตือรือร้น
ขาดมือ = การดำเนินกลยุทธปราศจากการนำพา (ไม่เกิดการปฏิบัติ)
ขาดหัวใจ = ขาดการเชื่อมต่อของแผนการทำงานสู่การปฏิบัติการ
คาถา 3 ข้อสำหรับคนทำงาน
- ทุกครั้งที่รู้สึกว่าแย่กว่าคนอื่นให้มองคนที่แย่กว่าเรา
- ทุกครั้งที่ได้รับการมอบหมายงานให้คิดว่าเป็น “โอกาส” ในการเรียนรู้ อย่าคิดว่าเป็นการโยนงาน
- เราจะพัฒนาฝีมือได้ ต้องดูตัวอย่างคนที่เก่งกว่า ไม่ใช่คนที่ด้อยกว่า
เครื่องมือการพัฒนาคุณภาพ
ค่านิยมหลัก (Core Values)
- หลักการและพฤติกรรมชี้นำที่สื่อถึงความคาดหวังให้องค์กรและบุคลากรปฏิบัติ
- สะท้อนและหนุนเสริมวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ขององค์กร
- สนับสนุนและชี้นำการตัดสินใจของบุคลากรทุกคน
- ช่วยให้องค์กรบรรลุพันธกิจและวิสัยทัศน์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
หนึ่ง รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
สอง ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทนได้
สาม กตัญญู พ่อแม่ สุดหัวใจ
สี่ มุ่งใฝ่ เล่าเรียน เพียรวิชา
ห้า รักษา วัฒนธรรม ประจำชาติ
หก ไม่ขาด ศีลธรรม ศาสนา
เจ็ด เรียนรู้ อธิปไตย ของประชา
แปด รักษา วินัย กฎหมายไทย
เก้า ปฏิบัติ ตามพระ ราชดำรัส
สิบ ไม่ขาด พอเพียง เลี้ยงชีพได้
สิบเอ็ด ต้อง เข้มแข็ง ทั้งกายใจ
สิบสอง ไซร้ คิดอะไร ให้ส่วนรวม
ขั้นตอนการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
- ตั้งรับปัญหา การปฏิบัติการมีลักษณะเป็นกิจกรรมมากว่าเป็นกระบวนการ และตอบสนองความต้องการหรือปัญหาเฉพาะหน้าส่วนใหญ่ ขาดการกำหนดเป้าประสงค์ที่ดี
- แนวทางเริ่มเป็นระบบ องค์การอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการปฏิบัติการ โดยกระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้ มีการประเมินผล การปรับปรุง และเริ่มมีการประสานงานบ้างระหว่างหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร มีการกำหนดกลยุทธ์และเป้าประสงค์เชิงปริมาณ
- แนวทางสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน การปฏิบัติการมีลักษณะเป็นกระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้และมีการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อการปรับปรุงโดยมีการแบ่งปันความรู้และการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆในองค์กร กระบวนการตอบสนองกลยุทธ์และเป้าประสงค์ที่สำคัญขององค์กร
- แนวทางที่มีบูรณาการ การปฏิบัติการมีลักษณะเป็นกระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้และมีการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง โดยความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่ได้รับผลกระทบ การวิเคราะห์ นวัตกรรม และการแบ่งปันส่งผลให้การทำงานข้ามหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้กระบวนการและตัววัดในการติดตามความก้าวหน้าของเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์และเป้าประสงค์ของการปฏิบัติการที่สำคัญ
การจัดการกระบวนการ (Process Management)
Lean ปรัชญาในการผลิตที่ถือว่าความสูญเปล่า (wastes: MUDA) เป็นตัวการที่ทำให้เวลาที่ใช้ในการผลิตยาวนานขึ้น จึงควรนำเทคนิคต่างๆมาใช้เพื่อกำจัดความสูญเปล่าเหล่านั้นออกไป
หลักการ Lean management
ระบุคุณค่า -> สร้างสายธารคุณค่า -> ทำให้กิจกรรมที่มีคุณค่าเพิ่มดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ->
ใช้ระบบดึง -> สร้างคุณค่าและกำจัดความสูญเปล่าอย่างต่อเนื่อง
ความสูญเปล่า Waste : MUDA
- การผลิตมากเกินไป
- กระบวนการมากเกินไป/ขาดประสิทธิผล
- การขนย้ายหรือขนส่งที่ไม่จำเป็น
- สินค้า/วัตถุดิบคงคลังไม่จำเป็น
- การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น
- การรอคอย
- การเกิดของเสียและการแก้ไขชิ้นงานเสีย
- ศักยภาพหรือความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานที่ไม่ได้นำมาใช้
ขั้นตอนในการสร้างระบบ LEAN
- การเตรียมความพร้อม
- การระบุคุณค่าของสินค้า/บริการ(ในมุมมองของผู้รับ)
- การสำรวจสถานะปัจจุบันของกระบวนการ
- การประเมินผลการจัดการกระบวนการ
- การวางแผนพัฒนากระบวนการสร้างคุณค่า
- การขับเคลื่อนกระแสคุณค่า
- การสร้างคุณค่าและกำจัดความสูญเปล่าอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของระบบ Lean
- การปลูกฝังแนวคิดหรือทัศนคติเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิต
- ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมไปในแนวทางที่ทำให้ทุกคนมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน
- ออกแบบพัฒนาโครงสร้างของระบบ Lean ให้เหมาะสมสอดคล้อง
การพัฒนาคุณภาพไปสู่การสร้างนวัตกรรม
องค์ประกอบของนวัตกรรม
- ความใหม่ (Newness) เป็นสิ่งใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น อาจเป็นผลิตภัณฑ์ บริการ หรือ กระบวนการ เป็นการปรับปรุงจากของเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่เลยก็ได้
- ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits) หรือการสร้างความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ ต้องสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ซึ่งอาจจะวัดได้เป็นตัวเงิน หรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรงก็ได้
- การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ (Knowledge and Creativity Idea) ต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานของการพัฒนาให้เกิดซ้ำใหม่ ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ การทำซ้ำ
วิธีการออกจากหลุม
- หัดช่วยตัวเอง ทำตัวเองให้เข้มแข็ง
- ผ่านการขับเคลื่อนนวัตกรรม
- แล้ว innovation จะงอกเงย เซลล์สมองจะแตกตัว
- ให้ใช้สมอง 2 ซีกให้สมดุล
กระบวนการนวัตกรรม
- การค้นหา (Searching) สำหรับการนำไปสู่จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในอนาคร
- การเลือกสรร (Selecting) ต้องมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร
- การนำไปปฏิบัติ (Implementing) เป็นการแปลงสัญญาณที่มีศักยภาพไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ มีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ประการ ดังนี้
3.1 การรับ (Acquiring) คือ ขั้นตอนของการนำองค์ความรู้ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้น เช่น การสร้างสรรค์สิ่งใหม่จากกระบวนการวิจัยและพัฒนา การทำวิจัยทางการตลาด การได้รับองค์ความรู้จากแหล่งอื่นโดยการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี หรือการค้นคว้าร่วมกันในเครือพันธมิตร
3.2 การปฏิบัติ (Executing) คือ ขั้นตอนของการนำโครงการดังกล่าวสู่การปฏิบัติงานภายใต้สภาพของความแน่นอนต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยทักษะการแก้ปัญหาตลอดเวลา
3.3 การนำเสนอ (Launching) คือ การนำนวัตกรรมที่ได้ออกสู่ตลาดโดยอาศัยการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้นวัตกรรมนั้นสามารถเป็นที่ยอมรับจากตลาดได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการนำออกสู่ตลาด
3.4 การรักษาสภาพ (Sustaining) คือ การรักษาสถานะภาพการยอมรับจากตลาด ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปและคงอยู่ให้นานเท่าที่จะเป็นได้ ซึ่งอาจจะต้องนำนวัตกรรมนั้นๆ กลับมาปรับปรุงในแนวความคิดหรือทำการเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่ถูกพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น
4.การเรียนรู้ (Leaning) องค์กรควรเรียนรู้กระบวนการทางนวัตกรรมเพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่แข็งแกร่ง และสามารถนำไปใช้พัฒนาวิธีการสำหรับจัดการกับกระบวนการทางนวัตกรรมเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
การพัฒนาศักยภาพในการทำงาน
ทำไมต้องพัฒนาศักยภาพในงาน
- ปัจจัยภายนอก ที่เปลี่ยนแปลง เช่น เศรษฐกิจ การเมือง ทัศนคติทางสังคม ฯ
- ปัจจัยภายใน
- โครงสร้างองค์กร
- นโยบายและกระบวนการทำงาน
- เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาใช้
- คนและวัฒนธรรมองค์กร
3.การแข่งขันทั้งภายใน/ภายนอก
4.นำเครื่องมือมาใช้ในการชี้วัดการทำงาน
อุปสรรคการทำงานยุคแห่งการแข่งขัน
- ความเปลี่ยนแปลง
- ข้อจำกัดและโอกาส
- ความขัดแย้งต่างๆ /ตนเอง/ธรรมชาติ/เพศ/วัย/การศึกษา
- ความคิดที่แตกต่าง ค่านิยม วัฒนธรรมมี่หลากหลาย
หลักการทำงานในยุคแห่งการแข่งขันที่ทุกคนต้องตระหนัก
- คุณภาพถูกต้องประทับใจ
- กระบวนการทำงาน ลดขั้นตอน สะดวกกว่า ดีกว่า
- รวดเร็ว
- ประโยชน์สูงสุดต่อทุกฝ่าย
หลักการพัฒนาตนเองให้เป็น
- เรียนรู้คุณค่าของชีวิต พัฒนาชีวิตและจิตใจอย่างชาญฉลาด ใช้ชีวิตอย่างมีสุนทรียภาพ (พลังกาย – พลังมหาสติ – พลังความคิด)
- เรียนรู้เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง แก้ปัญหาอย่างสันติวิธี ท่ามกลางความแตกต่าง ทางความคิดและวัฒนธรรม
- เรียนรู้เพื่อคิด คิดอย่างมีระบบ มุมมองที่หลากหลาย มองทั้ง The best – The worst และหลักแห่งความเป็นจริงตามสถานการณ์นั้นๆ
- เรียนรู้เพื่อปฏิบัติ มีทักษะในการดำเนินชีวิตและการทำงาน สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เคล็ดลับ 9 ข้อ เพื่อความสำเร็จในการทำงาน
- ทำงานที่ไม่มีใครต้องการ จะเป็นของทางการเรียนรู้และกลายเป็น SPECIALIST ในงาน
- ทำงานให้มากขึ้น ทำมากกว่าที่ได้รับมอบหมาย อาสาช่วยงานที่คั่งค้าง ช่วยงานด่วนให้สำเร็จและช่วยเพื่อนร่วมงานที่มีปัญหา
- เมื่อเจ้านายลางาน อาจทำให้งานชะงัก ทำงานเพื่อแบ่งเบาภาระเจ้านาย คือสิ่งที่จะสร้างความไว้วางใจให้ทำงานใหญ่ได้
- ทีมงานเป็นสิ่งสำคัญ แม้จะเป็นผู้นำแต่ความสำเร็จต้องยกให้ทีม
- ทำงานของตัวเองให้ดี สม่ำเสมอ
- สื่อสารความสัมพันธ์กับลูกค้าภายนอก / ภายในซึ่งเป็นขุมทรัพย์สำคัญในแง่เครือข่ายประสานเพื่อทำงานในอนาคต
- ยินดีที่จะเป็นที่ปรึกษาให้เพื่อนร่วมงาน ไม่โดดเด่นอย่างเดียว (มิฉะนั้นจะกลายเป็นที่เขม่นได้)
- ทำงานแบบอ่านใจเจ้านาย โดไม่ต้องให้ออกคำสั่ง
- เข้าใจความต้องการขององค์กร และหน่วยงาน เพื่อตั้งเป้าหมายในการเติบโตและสร้างผลผลิตให้องค์กร (ไม่เพียงได้ KPI เท่านั้น แต่คุณก็จะได้ความสุขจากงาน เพื่อนร่วมงานและเจ้านายด้วย)
คุณภาพของผู้ที่ประสบการความสำเร็จ
- สภาวจิตดี สงบ มีความมั่นคง (มีสติสัมปชัญญะ)
- ความคิด มีคุณค่าและสร้างความสุข
- การกระทำ ประสบผลสำเร็จและพัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
สร้างสุขสู่งานด้วยการคิดบวก
แนวทางการสร้างความสุขและความสำเร็จในการทำงาน
- เลิกดูถูกตนเอง
ผู้แพ้ ผู้ชนะ
ฉันทำไม่ได้ ฉันจะลองดู
ฉันไม่เก่ง ฉันต้องพัฒนาเรื่องนี้
ฉันไม่ฉลาด ฉันต้องเรียนรู้ให้มากกว่านี้
ฉันไม่มีวันทำสำเร็จ ฉันต้องไม่ยอมแพ้ง่ายๆ
ฉันไม่มีพรสวรรค์ ฉันต้องฝึกฝนต่อไป
ฉันไม่มีเงินมากพอ ฉันมีเงินอยู่บ้าง
2. มองหาคุณค่าและข้อดีของตนเองและงานที่ทำ
3. มองหาคุณค่าและข้อดีของผู้อื่น
4. ฝึกคิดบวก คือ
การมองเห็นว่า ทุกปัญหามีทางออก
การคิดทางบวก ไม่ได้หมายถึง การคิดว่าไม่มีปัญหา แต่คือการคิดว่าทุกสิ่งแก้ไขได้ ทำให้ดีขึ้นได้
เวลาเจองานหนัก ให้บอกตัวเองว่า นี้คือโอกาสในการเตรียมพร้อมสู้ความเป็นมืออาชีพ
เวลาเจอปัญหาซับซ้อน ให้บอกตัวเองว่า นี้คือบทเรียนที่จะสร้างปัญญาได้อย่างวิเศษ
เวลาเจอความทุกข์หนัก ให้บอกตัวเองว่า นี้คือความฝึกหัดที่จะช่วยให้เกิดทักษะในการดำเนินชีวิต
เวลาเจอนายจอมละเมียด ให้บอกตัวเองว่า นี้คือการฝึกตนให้เป็นคนสมบูรณ์แบบ
เวลาเจอคำตำหนิ ให้บอกตัวเองว่า นี้คือการชี้ขุมทรัพย์มหาสมบัติ
เวลาเจอคำนินทา ให้บอกตัวเองว่า นี้คือการสะท้อนว่าเรายังคงเป็นคนที่มีความหมาย
เวลาเจอความผิดหวัง ให้บอกตัวเองว่า นี้คือวิธีที่ธรรมชาติกำลังสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิต
เวลาเจอความป่วยไข้ ให้บอกตัวเองว่า นี้คอการเตือนให้เห็นคุณค่าของการรักษาสุขภาพให้ดี
เวลาเจอภาวะหลุดจากอำนาจ ให้บอกตัวเองว่า นี้คือความอนัตตาของชีวิตและสรรพสิ่ง
เวลาเจอคนกลิ้งกะล่อน ให้บอกตัวเองว่า นี้คืออุทาหรณ์ของชีวิตที่ไม่น่าเจริญรอยตาม
เวลาเจอคนเลว ให้บอกตัวเองว่า นี้คือตัวอย่างของชีวิตที่ไม่พึงประสงค์
เวลาเจออุบัติเหตุ ให้บอกตัวเองว่า นี้คือคำเตือนว่าจงอย่าประมาทอีกเป็นอันขาด
เวลาเจอศัตรูคอยกลั่นแกล้ง ให้บอกตัวเองว่า นี้คือบททดสอบที่ว่า “มารไม่มีบารมีไม่เกิด”
เวลาเจอวิกฤต ให้บอกตัวเองว่า นี้คือบทพิสูจน์ธรรม “ในวิกฤตย่อมมีโอกาส”
5. ส่งแต่สิ่งดีให้แก่จิตใจของตนเอง
5.1 กำหนดเป้าหมาย
5.2 ร่างคำประกาศ/สัญญาใจ
5.3 สร้างมโนภาพ
5.4 อดทน มุ่งมั่น
สัญญาใจ
- ฉันเป็นคนที่มีความสามารถ และมีคุณค่า
- ฉันเป็นคนที่มีจิตใจดี พร้อมจะช่วยผู้อื่นเมื่อเขามีปัญหา
- งานของฉันมีคุณค่าและสำคัญต่อหน่วยงาน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิง
การพัฒนาระบบงานและการสร้างนวัตกรรมในการทำงาน รศ.นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การพัฒนาศักยภาพในการทำงาน อาจารย์สุภัครศิริ ยุทธิวัจน์ กรรมการผู้จัดการ สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
สร้างสุขสู่งานด้วยการคิดบวก ศาสตราจารย์ ดร.ชูชัย สมิทธิไกร ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการเครือข่ายพัฒนาระบบงานบริหารและธุรการ หัวข้อ “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนอุดมศึกษาไทยให้ยั่งยืน”
เมื่อวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2558 ณ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่
-----------------------------------
เป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานในขณะที่เราเจอกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อเจอกับปัญหาก็สามารถนำมาคิดพิจารณา แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะทำหน้าที่ในการทำงาน ที่พบเจอกับบุคคลมากมายหลายระดับในที่ทำงาน และหลายปัญหาที่ต่างกันที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและตัวเรา ก็สามารถนำความรู้จากวิทยากรหลายๆคน หลายๆ หัวข้อ มาปรับใช้ในการทำงาน เพื่อให้รู้ขั้นตอนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเราและเพื่อนร่วมงานให้ดีขึ้นได้ไม่มากก็น้อย และสามารถเข้าใจและคิดถึงประโยชน์ของผู้ที่อยู่ตรงหน้าและรอบข้างเรา ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงานและครอบครัว
*****************************************************************