ข้าพเจ้า อ.ดร.ปริศญารัตณ์ สังกะเพศ ตำแหน่งอาจารย์ สังกัดสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ จากการเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2558 เมื่อวันที่ 23 – 24 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมเวียงอินทร์ จังหวัดเชียงราย ตามหนังสือขออนุญาตเดินทางไปราชการ เลขที่ ศธ.0523.4.5 / 44 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2558 ซึ่งการเข้าร่วมประชุมวิชาการดังกล่าวข้าพเจ้าได้เลือกใช้งบประมาณการพัฒนาบุคลากรตามกรณีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ดังนี้
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ทางคณิตศาสตร์
- เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยทางคณิตศาสตร์
- เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ด้านการวิจัย ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือเพื่อสร้างและพัฒนาความก้าวหน้าของงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ต่อไป
ดังนั้นจึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ดังต่อไปนี้
วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2558
มีกำหนดการและรายละเอียดต่างๆดังนี้
เวลา 8.30 – 9.00 น. ลงทะเบียน
เวลา 9.00 – 10.15 น. พิธีเปิด โดย ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
บรรยายพิเศษเรื่อง “การเรียนการสอนในทศวรรษที่ 21” ท่านได้ให้ความสำคัญในการสอนนักเรียน นักศึกษา ให้จบมาแล้วสามารถมีงานทำประกอบอาชีพได้ นอกจากนี้ยังฝากข้อคิดให้นักวิชาการไทยคำนึงถึงงานวิชาการที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ของประชาชนด้วย ให้สร้างงานวิจัยที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้
เวลา 10.15 – 11.15 น. บรรยายโดย Professor Dr. Nobutaka Ito, Visiting Professor, Faculty of
Engineering, CMU บรรยายพิเศษเรื่อง “International cooperation education and career development program between thai and Japanese universities” ท่านได้แนะนำการเตรียมพร้อมก่อนออกสหกิจศึกษาและความร่วมมือสหกิจศึกษากับประเทศญี่ปุ่น โดยเน้นให้นักศึกษาเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาและวิชาการก่อนออกสหกิจศึกษา
เวลา 11.15 – 12.35 น. บรรยายโดยคุณบรินดา จางขจรศักดิ์ BDI Group Co, Ltd. บรรยายพิเศษเรื่อง
“ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมไทย-ไต้หวัน” ซึ่งท่านเป็นตัวแทนนักธุรกิจชาวไต้หวันที่มาลงทุนในประเทศไทยและประสบผลสำเร็จทางธุรกิจในเวลาต่อมา และท่านอยากให้หน่วยงานส่งนักศึกษาไปเรียนรู้การทำวิจัยหรือฝึกงาน เพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนาประเทศไทยต่อไป
เวลา 12.35 – 12.00 น. เข้าร่วมชมการนำเสนอภาคโปสเตอร์
เวลา 13.00 – 17.00 น. เข้าฟังการนำเสนอผลงานวิจัยทางด้านคณิตศาสตร์แบบบรรยายและแบบ
โปสเตอร์ตามเรื่องที่สนใจ
ในงานนี้ ข้าพเจ้าได้เข้ารับฟังการนำเสนอผลงานในด้านคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดในการทำวิจัยด้านคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ และได้เปิดมุมมองวิจัยด้านใหม่ โดยเรื่องที่ข้าพเจ้าได้เข้ารับฟังมีด้งเช่น
- การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์รวมสำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคไข้สมองอักเสบในประเทศไทย
- การศึกษาศักยภาพและเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการลงทุนติดตั้งระบบไฟฟ้า 10 kw ชนิดเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายสำหรับบ้านพักอาศัย
- ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มของแสงอาทิตย์กับอุณหภูมิใต้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาชนิดเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า
- แบบจำลองแบบแผนปัจจัยการบริหารจัดการระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
วันอังคารที่ 24 มีนาคม 2558
มีกำหนดการและรายละเอียดคร่าวๆดังนี้
เวลา 8.30 – 17.30 น. รับฟังการนำเสนอผลงานวิจัยทางด้านคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ แบบ
บรรยาย โดยมีเรื่องที่ข้าพเจ้าได้เข้ารับฟังดังนี้
- การพัฒนาระบบส่งกำลังไฟฟ้าไร้สายแบบอิมพีแดนซ์แมทซิ่ง
- การเลือกค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการปรับปรุงองค์ประกอบกำลังวงจรแปลงผันเอชี เอส
- การเปรียบเทียบวงจรขับสำหรับการส่งกำลังไฟฟ้าไร้สาย
- การตรวจสอบคุณภาพไฟฟ้าและลักษณะการกระพริบแสงของหลอดไฟไดโอดเปล่งแสงที่มีจำหน่ายในท้องตลาดจังหวัดเชียงราย
เวลา 17.00 - 17.30 น. มอบรางวัลบทความดีเด่นและพิธีปิด