ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจลงตรา (วีซ่า) สำหรับนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรต่างชาติ ที่เดินทางมาศึกษา แลกเปลี่ยน และปฏิบัติงาน ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่เขียน 12/3/2558 13:43:23     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 8:39:35
เปิดอ่าน: 8903 ครั้ง

เนื่องด้วย ปัจจุบันมี่ชาวต่างชาติเดินทางมาศึกษา แลกเปลี่ยน หรือปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ หน่วยงานและผู้ดูแลชาวต่างชาติจึงต้องมีความรู้และสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการตรวจลงตรา (วีซ่า) ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทยและการขอขยายการตรวจลงตราในระหว่างที่ศึกษาและปฏิบัติงานอยู่ที่ ม.แม่โจ้ ให้ชาวต่างชาติได้รับทราบได้ ในการนี้ งานทุนและความร่วมมือระหว่างประเทศ จึงขอเผยแพร่รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจลงตราให้ผู้ที่สนใจทราบ

การตรวจลงตรา (VISA)

     ชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทยจะต้องขอรับการตรวจลงตรา (ขอวีซ่า) จากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยซึ่งตั้งอยู่ในประเทศที่ตนมีถิ่นพำนัก หรือจากสถานเอกอัครราชทูตไทยที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลประเทศที่คนต่างชาติดังกล่าวมีถิ่นพำนัก หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสถานที่ขอวีซ่า กรุณาสอบถามได้จากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยทุกแห่งสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่และที่ติดต่อของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทย สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศที่  http://www.thaiembassy.org

    กองวิเทศสัมพันธ์ คณะหรือหน่วยงานที่เป็นผู้ดูแลชาวต่างชาติจะดำเนินการและแจ้งให้ชาวต่างชาติที่จะเดินทางมาศึกษา แลกเปลี่ยน หรือปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับทราบเกี่ยวกับข้อมูลของการตรวจลงตรา (วีซ่า) ดังนี้

1. การขอรับการตรวจลงตรา ประเภท Non-Immigrant Visa

    การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) ประเภทนี้จะออกให้แก่คนต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อมหาวิทยาลัยได้   ตอบรับชาวต่างชาติเพื่อเข้ามาศึกษา ปฏิบัติงาน หรือแลกเปลี่ยน หน่วยงานต้นสังกัดที่ตอบรับจะต้องทำบันทึกข้อความถึงรองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศเพื่อออกจดหมายตอบรับพร้อมจดหมายอำนวยความสะดวกในการขอรับการตรวจลงตราให้แก่ชาวต่างชาติเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการตรวจลงตรา ณ สถานทูตไทยหรือกงสุลไทยประจำประเทศที่ตนอาศัยก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย 

1. Non-Immigrant Visa รหัส B สำหรับอาจารย์ต่างชาติหรือผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย

2. Non-Immigrant Visa รหัส ED สำหรับนักศึกษาต่างชาติ/นักศึกษาแลกเปลี่ยน/บุคลากรแลกเปลี่ยน

เอกสารที่หน่วยงานต้องส่งให้กองวิเทศสัมพันธ์เพื่อจัดทำเอกสาร ดังนี้

     - บันทึกข้อความจากคณบดี/ผู้อำนวยการ

     - หนังสือตอบรับเข้าศึกษา/หนังสือสัญญาจ้าง

     - สำเนาหนังสือเดินทาง (หน้าแรก) (ถ้ามี)

หมายเหตุ:

    - ในกรณีที่นักศึกษาต่างชาติได้รับ Non-Immigrant Visa รหัส ED จากสถาบันการศึกษาอื่นในประเทศไทยก่อนมาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ นักศึกษาจะต้องแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อขอเปลี่ยนสถานศึกษาโดยเร็วที่สุด โดยใช้เอกสารดังต่อไปนี้

   1. จดหมายแจ้งยกเลิกการตรวจลงตราที่สถาบันการศึกษาเดิมที่เคยศึกษา

   2. จดหมายตอบรับเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้

   3. จดหมายขอความอนุเคราะห์ในการตรวจลงตราจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้

   4. แบบฟอร์ม ตม. 87 

   5. หนังสือเดินทางพร้อมสำเนาหนังสือเดินทาง

   6. รูปถ่าย 1 รูป (4 x 6 ซ.ม.)

   7. ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท

    - ในกรณีที่ชาวต่างชาติขอรับการตรวจลงตราแบบ Multiple Entry คือ ผู้ได้รับการตรวจลงตราสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้หลายครั้งภายในเวลาที่กำหนด (ชาวต่างชาติไม่ต้องเดินทางออกนอกประเทศเพื่อขอตรวจลงตรากลับเข้ามาในราชอาณาจักรไทยทุกๆ 90 วัน) ทั้งนี้ ก่อนที่การตรวจลงตราจะหมดอายุ 1 เดือน สามารถขอต่อการตรวจลงตราได้ตามแนวปฏิบัติเรื่องการต่อการตรวจลงตร

 

2. การต่อการตรวจลงตรา 

    เมื่อชาวต่างชาติขอรับการตรวจลงตรา ณ สถานทูตไทยหรือกงสุลไทยในต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว จะได้รับ Non-Immigrant Visa รหัส ED หรือ B ตามวัตถุประสงค์ เมื่อเดินทางถึงประเทศไทยจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร 90 วัน (ครั้งแรก) หากประสงค์จะอยู่ต่อเกิน 90 วัน จะต้องดำเนินการขอต่อการตรวจลงตราภายใน 1 เดือนก่อนที่จะหมดอายุ เพื่อขยายเวลาพำนักอยู่ในประเทศไทยจนกว่าจะสำเร็จการศึกษาหรือสิ้นสุดระยะเวลาการทำงาน ดังนี้

    - นักศึกษาต่างชาติ บุคลากรแลกเปลี่ยน นักศึกษาแลกเปลี่ยน จะสามารถอยู่พำนักในประเทศไทยได้โดยขอต่อการตรวจลงตราครั้งต่อไปได้อีกครั้งละ 1 ปี หรือ 365 วัน ต่อไปได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะสำเร็จการศึกษาหรือสิ้นสุดโครงการแลกเปลี่ยน

    - ลูกจ้างชาวต่างชาติจะสามารถอยู่พำนักในประเทศไทยได้โดยขอต่อการตรวจลงตราครั้งต่อไปได้ตามระยะเวลาการจ้างงาน

    การต่อการตรวจลงตรา ชาวต่างชาติจะต้องไปดำเนินการด้วยตนเองที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเท่านั้น กรณีที่ชาวต่างชาติพำนักในประเทศเกินวันหมดอายุของการตรวจลงตรา (Overstay) จะต้องเสียค่าปรับวันละ 500 บาท สูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท

เอกสารที่ชาวต่างชาติต้องยื่นพร้อมการขอต่อการตรวจลงตรา มีดังนี้

 

สำหรับนักศึกษาต่างชาติ/บุคลากรแลกเปลี่ยน/นักศึกษาแลกเปลี่ยน (Non-Immigrant รหัส Ed)

   1. หนังสือขอขยายเวลาพำนักในประเทศ ออกโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้

   2. หนังสือเดินทางพร้อมสำเนาหน้าแรก

   3. สำเนาหน้าที่มีการตรวจลงตราล่าสุด

   4. สำเนาหน้าที่มีตราประทับที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองเมื่อเดินทางเข้าประเทศไทย

   5. แบบฟอร์ม ตม. 7 

   6. รูปถ่าย 1 รูป (4 x 6 ซ.ม.)

   7. หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา ออกโดยสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ

   8. สำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา

   9. ค่าธรรมเนียมการต่อการตรวจลงตรา 1,900 บาท

สำหรับลูกจ้างชาวต่างชาติ (Non-Immigrant รหัส B)

   1. หนังสือขอขยายเวลาพำนักในประเทศ ออกโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้

   2. หนังสือเดินทางพร้อมสำเนาหน้าแรก

   3. สำเนาหน้าที่มีการตรวจลงตราล่าสุด

   4. สำเนาหน้าที่มีตราประทับที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองเมื่อเดินทางเข้าประเทศไทย

   5. แบบฟอร์ม ตม. 7 

   6. แบบฟอร์ม สตม. 2 

   7. รูปถ่าย 1 รูป (4 x 6 ซ.ม.)

   8. สำเนาสัญญาการจ้างงาน

   9. ใบอนุญาตการทำงาน (Work Permit) และสำเนา

   10. ค่าธรรมเนียมการต่อการตรวจลงตรา 1,900 บาท

 

3. การรายงานตัว 90 วัน

    นักศึกษาต่างชาติ นักศึกษาแลกเปลี่ยน ลูกจ้างชาวต่างชาติ ที่ต้องการพำนักในประเทศไทยเกิน 90 วัน หรือกำลังศึกษาหรือทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัย และไม่มีความประสงค์จะเดินทางออกนอกประเทศไทย จะต้องแจ้งความประสงค์และแจ้งที่พักอาศัยต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองด้วยตนเอง ทุก 90 วัน สามารถแจ้งก่อน 15 วันหรือหลัง 7 วันนับจากวันครบกำหนด 90 วัน (ไม่มีค่าธรรมเนียมในการรายงานตัว 90 วัน)

    กรณีที่ชาวต่างชาติอยู่เกิน 90 วัน โดยไม่แจ้งที่พักต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือแจ้งช้ากว่ากำหนด ต้องมารายงานตัวด้วยตนเองและเสียค่าปรับ 2,000 บาท หรือหากชาวต่างชาติถูกจับกุมไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม ต้องเสียค่าปรับ 4,000 บาท

    ทั้งนี้ การแจ้งที่พักและรายงานตัวทุก 90 วัน ไม่ใช่การขออยู่ต่อในประเทศไทย กรณีเดินทางออกนอกประเทศก่อนครบกำหนดนัดครั้งต่อไป เมื่อเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ให้มารายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยครั้งต่อไป เมื่อครบกำหนด 90 วัน นับแต่วันเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรครั้งสุดท้าย

 เอกสารประกอบการรายงานตัว 90 วัน มีดังนี้

   1. หนังสือเดินทางพร้อมสำเนาหน้าแรก

   2. สำเนาหน้าที่มีการตรวจลงตราล่าสุด

   3. แบบฟอร์ม ตม.47 

 

4. ขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (Re-Entry Permit) กรณีต้องเดินทางออกนอกประเทศไทยชั่วคราว

     ในกรณีที่นักศึกษาต่างชาติ นักศึกษาแลกเปลี่ยน บุคลากรแลกเปลี่ยน ลูกจ้างชาวต่างชาติ ที่มีความประสงค์จะเดินทางออกนอกประเทศไทยชั่วคราวและกลับเข้ามาในภายหลัง ต้องดำเนินการสงวนสิทธิ์การตรวจลงตรา (Re-Entry Permit) ก่อนเดินทางออกนอกประเทศเพื่อขออนุญาตกลับเข้ามาอีกครั้งในประเทศไทย โดยที่ยังคงเก็บรักษาสิทธิ์การตรวจลงตราเดิมไว้ หากเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่ได้ทำการสงวนสิทธิ์การตรวจลงตราก่อนการเดินทาง การตรวจลงตราที่มีอยู่จะถูกยกเลิกทันที ถึงแม้ว่าการตรวจลงตราจะยังไม่หมดอายุ โดยสามารถติดต่อขอทำ Re-Entry Permit ได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

ค่าธรรมเนียมการสงวนสิทธิ์วีซ่า

    - สำหรับออกนอกประเทศ 1 ครั้ง ใช้ได้ครั้งเดียว (Single Entry) 1,000 บาท

    - สำหรับออกนอกประเทศเกินกว่าหนึ่งครั้งภายในระยะเวลาที่การตรวจลงตรายังเหลืออยู่(Multiple Entry) 3,800 บาท

    นักศึกษาต่างชาติ นักศึกษาแลกเปลี่ยน บุคลากรแลกเปลี่ยน ลูกจ้างชาวต่างชาติทุกคนต้องทำเรื่องสงวนสิทธิ์การตรวจลงตราด้วยตนเอง ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และเมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทย ควรตรวจสอบความถูกต้องของการประทับตราใน ตม. 6 ด้วย

เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อการสงวนสิทธิ์การตรวจลงตรา ได้แก่

   1. หนังสือเดินทางพร้อมสำเนาหน้าแรก

   2. สำเนาหน้าที่มีการตรวจลงตราล่าสุด

   3. บัตร ตม.6     

   4. แบบฟอร์ม ตม. 8 

   5. รูปถ่าย 1 รูป (4 x 6 ซ.ม.)

 

5. การเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา 

    ชาวต่างชาติที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทอื่น ๆ  ที่ไม่ใช่ Non-Immigrant Visa ได้แก่ Tourist Visa จะต้องดำเนินการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราเป็น Non-Immigrant Visa ภายใน 15 วัน ก่อนที่การตรวจลงตราจะหมดอายุ (มีระยะเวลาการตรวจลงตราคงเหลือไม่น้อยกว่า 15 วัน)

   ชาวต่างชาติสามารถทำเรื่องขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราเป็น Non-Immigrant รหัส ED (การตรวจลงตราสำหรับศึกษา) หรือ Non-Immigrant รหัส B (การตรวจลงตราสำหรับผู้ที่มาทำงาน) เมื่อได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาหรือทำงานที่มหาวิทยาลัยแล้ว โดยยื่นคำร้องขอการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราประทับ ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพ (ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพ)

   หากการตรวจลงตราหมดอายุจะต้องเดินทางกลับประเทศ แล้วดำเนินการขอวีซ่า ณ สถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง 

เอกสารประกอบการยื่นขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา มีดังนี้ 

นักศึกษาต่างชาติ นักศึกษาแลกเปลี่ยน  

   1. หนังสือขอความอนุเคราะห์เปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา ออกโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้

   2. หนังสือเดินทางพร้อมสำเนาหน้าแรก

   3. สำเนาหน้าการตรวจลงตราล่าสุด

   4. สำเนาหน้าที่มีตราประทับที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองเมื่อเดินทางเข้าประเทศไทย

   5. แบบฟอร์ม ตม. 86  

   6. รูปถ่าย 1 รูป (4 x 6 ซ.ม.)

   7. หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา (ฉบับภาษาไทย)

   8. เอกสารตอบรับเข้าศึกษา/หนังสือเชิญ

   9. ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา 2,000 บาท

ลูกจ้างชาวต่างชาติ

   1. หนังสือนำขอความอนุเคราะห์เปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา ออกโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้

   2. หนังสือเดินทางพร้อมสำเนาหน้าแรก

   3. สำเนาหน้าการตรวจลงตราล่าสุด

   4. สำเนาหน้าที่มีตราประทับที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองเมื่อเดินทางเข้าประเทศไทย

   5. แบบฟอร์ม ตม. 86  

   6. รูปถ่าย 1 รูป (4 x 6 ซ.ม.)

   7. หนังสือรับรองการทำงาน

   8. สำเนาสัญญาจ้างและคำสั่งจ้าง

   9. ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา 2,000 บาท                           

 

 

 

 

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=350
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
อบรม การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ » การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ
การปฏิบัติงานในยุคปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติงาน นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถในงานที่ทำแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการพัฒนา ซึ่งการพัฒนาตนเองทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดทักษะใหม่ๆ ที่จะน...
การพัฒนา  งานประจำ  นวัตกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน กฤตาณัฐ ศรีประภา  วันที่เขียน 22/3/2567 8:02:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 3:47:20   เปิดอ่าน 72  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 2 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา » กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 2 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 2 การสร้างผลการเร...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน พัฒนพงศ์ เทียนชัย  วันที่เขียน 10/12/2566 13:41:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 17:54:44   เปิดอ่าน 110  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 1 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา » กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 1 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 1 การสร้างผลการเร...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน พัฒนพงศ์ เทียนชัย  วันที่เขียน 10/12/2566 13:31:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 17:54:44   เปิดอ่าน 112  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง