ลองทำกันดูมั้ย? เพื่อรักษาแบตเตอรี่โนตบุค
วันที่เขียน 13/1/2554 10:22:58     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/5/2567 16:06:22
เปิดอ่าน: 4665 ครั้ง

เทคนิคการบำรุงรักษาแบตเตอรี่

     ท่านที่ใช้งานคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเป็นประจำ หรือมีใช้งานบ้าง หรือแม้แต่การใช้งานในกลุ่มอื่นๆ ของ แบตเตอรี่อย่าง Lithium-ion เช่น  Ipod เป็นต้น มักจะมีคำแนะนำต่างๆ ที่ได้รับรู้มาบ้าง เป็นต้นว่า ควรใช้ให้แบตเตอรี่เกือบหมดจึงค่อยชาร์ต หรือ อย่าให้ประจุหมดเสียทีเดียวจึงจะชาร์ต มาบ้าง แต่คราวนี้ลองมาดูรายละเอียดแบบจริงจริง จังจัง กันบ้างนะคะ  ^^

เทคนิคในการบำรุงรักษา แบตเตอรี่ (battery)

      แบตเตอรี่ (battery) โนตบุคในปัจจุบัน ใช้แบตเตอรี่ (battery) Lithium-ion(Li-ion) ซึ่งเป็นแบตเตอรี่(battery)  ที่ดีกว่าแบตเตอรี่(battery) ประเภท Nickel-MetalHydride(NiMH) หรือ Nickel Cadmium(NiCd) ในสมัยก่อนเป็นอย่างมาก เพราะมีน้ำหนักน้อยกว่า และคุณภาพของแบตเตอรี่(battery) ที่สูงกว่า อีกทั้งไม่มีผลกระทบจากปรากฎการณ์ Memory Effect อย่างไรก็ตามเราสามารถยืดระยะเวลาของแบตเตอรี่(battery)  ให้สามารถใช้งานไปได้นานที่สุด ด้วยเทคนิคการรักษาแบตเตอรี่(battery)  ดังนี้ค่ะ

  1. แบตเตอรี่ (battery)ใหม่ต้องการชาร์จให้เต็มที่ก่อนที่จะใช้งาน 
              เพื่อที่จะให้แบตเตอรี่(battery) สามารถใช้งานได้เป็นระยะเวลานาน ควรทำการชาร์จแบตเตอรี่(battery)  ให้เต็มก่อนในการใช้ครั้งแรก และในการใช้งาน 3 ครั้งแรกนั้น  ควรทำการชาร์จให้เต็มก่อนใช้งาน และทำการใช้งานจนหมดก่อนการชาร์จครั้งต่อไป

  2. ตั้งมาตรฐานแบตเตอรี่ (battery)ทุกๆ เดือน
               
    แบตเตอรี่(battery)  ส่วนใหญ่นั้นจะถูกสร้างมาพร้อมกับระบบประมวลผลภายใน ซึ่งจะคอยจัดการการทำงานของแบตเตอรี่(battery) เช่น จำนวนครั้งในการชาร์จ/ดิสชาร์จ , ความจุสูงสุงแบตเตอรี่ (battery) , จำนวนวงรอบการชาร์จ โดยความจุสูงสุดของแบตเตอรี่(battery)นั้น  จะผิดพลาดได้หลังจากถูกใช้งานมาเป็นเวลา 2-3 เดือน และการตั้งค่ามาตรฐานให้มันจะช่วย คืนประสิทธิภาพกลับมาได้

    โดยขั้นตอนในการตั้งค่ามาตรฐานให้ แบตเตอรี่(battery) นั้นทำได้ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

    # เสียบปลั๊กไฟ และทำการชาร์จแบตเตอรี่(battery)  โนตบุคจนเต็ม 

    # เมื่อแบตเต็มแล้ว ก็ทำการดึงปลั๊กไฟออก และใช้งานโนตบุคในแบตเตอรี่ (battery)โหมด

    # ยกเลิกการเตือนทุกอย่างใน Power Option ใน Control Panel เช่นการ Shut down, Stand by, Hibernation

    # เมื่อแบตเตอรี่ (battery)ต่ำกว่าที่กำหนด เมื่อใช้งานจนแบตเหลือต่ำกว่า 3% แล้ว ปิดโปรแกรมทุกอย่างลง และอนุญาตให้โนตบุคทำการShut down

    # เสียบปลั๊กโนตบุคอีกครั้ง และชาร์จจนเต็ม  เพียงเท่านี้โนตบุคก็จะถูกตั้งค่ามาตรฐานเรียบร้อยแล้ว

  3. ใช้โนตบุคในสภาพที่เหมาะสม

           โดยทั่วไปแล้ว แบตเตอรี่(battery)  จะทำงานได้ดีที่สุด ที่ประมาณ 20 C. แต่ว่าช่วงอุณหภูมิระหว่าง 0-35 C. ก็ยังคงเป็นสภาพการใช้งานที่ดีเช่นกัน การใช้งานโนตบุคในสภาพที่ร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป  สามารถลดประสิทธิภาพของแบตเตอรี่(battery)ลงได้ และยังมีผลลบกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ (battery)  อีกด้วย

  4. เก็บแบตเตอรี่(battery)ไว้ในที่ที่เหมาะสม เมื่อไม่ได้ใช้งาน

         ถ้าคิดว่าจะไม่ได้ใช้โนตบุคไปอีกซักเดือน หรือมากกว่านั้น ขอแนะนำว่าควรเก็บแบตเตอรี่(battery) แยกเอาไว้ในสถานที่ ที่สะอาด แห้ง และเย็น และให้แน่ใจว่า มีพลังงานคงเหลือประมาณ 70%ในระหว่างที่เก็บแบตเตอรี่ (battery) นั้น ตัวแบตฯเองก็จะทำการคลายประจุออกอย่างช้าๆ ดังนั้นจึงไม่ขอแนะนำให้ทำการเก็บแบตเตอรี่(battery)ไว้นานๆ (เกินกว่า 3 เดือน) เพราะจะมีผลกระทบต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่ (battery) ได้

~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~

...ขอบคุณบทความดีๆจาก pantip.com ค่ะ...

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=21
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อัจฉรา แกล้วกล้า  วันที่เขียน 31/3/2567 11:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 5/5/2567 18:47:05   เปิดอ่าน 57  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง