3 G เป็นอย่างไร
วันที่เขียน 12/1/2554 16:39:55     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/4/2567 11:14:42
เปิดอ่าน: 8657 ครั้ง

อะไร อะไร ก็ 3G 4G แล้วฉาน..จะกี่ G....

เทคโนโลยี 1G 2G 3G(กำลังล้าสมัย!!!...) 4G จะมาอีกแล้ว !!!!!

      ช่วงนี้ศัพท์ทางการสื่อสารที่ใช้ในวงการบ้านเราก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง 2G หรือว่า 3G ว่าเมื่อไหร่จะได้ใช้ เดี๋ยวก็ประกาศใช้ในเขตปริมณฑล เดี๋ยวก็แจกซิม 3G ในงาน ICT  ที่ภาคอีสานและสุดท้าย ลด แลก แจก แถม ในงาน ICT ที่เชียงใหม่ ผู้อ่านบางท่านก็อาจยัง งง งง...กับ 2G หรือ 3G มันคืออะไรกันแน่แล้วเจ้าเครื่องโทรศัพท์มือถือที่เราใช้คุยทุกวันนี้ มันจะซักกี่ G.. กันนี่

      ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า เจ้า G  G  G….. มันคืออะไรกันน่ะ G เป็นตัวย่อมาจาก Generation ถ้าเป็นสมัยเริ่มแรกเดิมทีนั้นจะเป็นยุค 1G ถ้าหากย้อนภาพไปสมัยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว จะพบว่านักธุรกิจผู้มีอันจะกินในสมัยนั้นจะมีผู้ติดสอยห้อยตามคอยหิ้วกล่องสีดำๆมีเสาสูงๆโผล่จากกล่องสีดำ เจ้าเครื่องที่สะพายบ่านั่นแหละเขาเรียกเจ้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ เราเรียกยุคนั้นว่า เป็นยุคอนาล็อก จะใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยยังไม่สามารถส่งผ่านข้อมูลใดๆได้ ส่งได้แต่เสียงอย่างเดียว มีการใช้งานเฉพาะโทรออกและรับสายเท่านั้น

       ต่อมาถึงยุค G ที่ 2 หรือ 2G ได้มีการปรับปรุงเทคโนโลยีจากยุคอนาล็อกมาเป็นยุคดิจิตอล เป็นการเปลี่ยนจากคลื่นรับส่งวิทยุ หันมารับส่งคลื่นแบบไมโครเวฟซึ่งในยุค 2G นั้นผู้ใช้งานสามารถรับส่งข้อมูลอื่นได้ นอกเหนือจากเสียง และต่อมาได้มีการพัฒนาให้ระบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและในยุคนี้ได้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobile Communications) ซึ่งเราสามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้ทั่วโลกหรือที่เราเรียกว่า โรมมิ่ง (Roaming) และในยุคนี้เราจะพบคุณสมบัติใหม่ ๆ ในโทรศัพท์ยุคนี้ เช่น บริการ Download Ringtone, wallpaper แต่เทคโนโลยียังเป็นภาพขาวดำ ความละเอียดต่ำเท่านั้น

      วิวัฒนาการ 2.5G   2.75G  เป็นยุคที่คาบเกี่ยวระหว่าง 2G  กับ  3G สัญญาณ 2.5G เป็นยุคเริ่มต้นของเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) และก่อนที่จะถึงยุค 3G ได้เกิดเทคโนโลยี  EDGE (Enhanced Data rates for GSM/GPRS Evolution) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของการเพิ่มประสิทธิภาพของ  GPRS (เรียกแบบไม่เป็นทางการว่า 2.75G) ให้มีความเร็วในการรับ-ส่ง ข้อมูลให้เร็วขึ้นเท่านั้นเอง

     โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือ Third Generation of Mobile Telephone หรือยุค 3G นั้น ITU (International telecommunication Union) หรือ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศด้านการติดต่อสื่อสาร โทรคมนาคม โทรศัพท์ โทรเลข เทคโนโลยีสารสนเทศ  ซึ่งทำหน้าที่ให้คำแนะนำและวางหลักเกณฑ์การบริหาร กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของแต่ละประเทศเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ได้นิยามโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 3 หรือมาตรฐาน ITU เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า

  1. ต้องมีแพลทฟอร์ม สำหรับการหลอมรวมของบริการต่าง ๆ เช่น fixed Service Mobile Service บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล  อินเตอร์เน็ต และ Multimedia เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูลดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่าง ๆ  ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้
  2. ความสามารถในการใช้งานโครงข่ายทั่วโลก (global Roaming) คือผู้บริโภคสามารถถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง
  3. บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนเซลล์ไซต์ (Cell Site)
  4. อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็ว
    1. มากกว่า 144 กิโลบิต/วินาที ในทุกสภาวะ
    2. ถึง 2 เมกกะบิต/วินาที ในสภาวะกึ่งเคลื่อนที่
    3. สูงถึง 384 กิโลบิต/วินาที ในสภาวะเคลื่อนที่

        ยังไม่ถึงไหน 4G จะมาอีกแล้ว ข่าวจากวงการสื่อสารชี้แนวโน้มเทคโนโลยีระบบมือถือ ในยุคที่ 4 ที่จะมาหลังปี 2553 ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งคาดว่าจะรองรับการสื่อสารกัน 2 แนวทาง ได้ทั้งข้อมูลภาพและเสียง ที่ให้ความเร็วในการรับ-ส่ง ข้อมูลขณะเคลื่อนที่ราว 100 เมกะบิตต่อวินาทีและสูงสุด 1 กิกะบิตต่อวินาทีหรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เมื่อผู้ใช้อยู่กับที่หรือหากจะดาวน์โหลดภาพยนตร์จะใช้เวลาเพียง 5.6 วินาทีหรือส่งเพลง 100 เพลง ในเวลา 2.4 วินาที  เพื่อตอกย้ำความเชื่อที่ว่า 4G จะก้าวกระโดดข้าม 3G  ไปแน่นอนเมื่อ มรภ.สวนสุนันทาได้เปิดเผยผลการวิจัย  เรื่องความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อความต้องการ การให้บริการระบบการสื่อสารระบบ 3G โดยวิธีสุ่มโทรศัพท์สัมภาษณ์ พบว่าผู้ตอบการสัมภาษณ์เพียง 26.7% ที่รู้จักระบบ 3G และในการสำรวจได้สำรวจความต้องการใช้งานระหว่าง 3G และ 4G พบว่าจำนวน 65.3%  ต้องการใช้งาน 4G และเหตุผลที่ต้องการใช้ระบบ 4G เพราะพิจารณาจากความเร็วในการใช้งานอินเตอร์เน็ต การสื่อสารที่ทันเหตุการณ์ การดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลและเล่นเกมส์ รวมทั้งใช้งานโทรศัพท์มือถือได้เหมือนคอมพิวเตอร์พกพา

       แล้วอย่างเราๆ  (40 อัฟ..)  ควรจะใช้สักกี่ G ดีนะ....เอาเป็นว่าตอนนี้ เราอยู่วัยไหน (อันนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนเอง)  ถ้าหากอายุใกล้หรือ 60 ปีขึ้นไป ผู้เขียนเห็นว่า 1G ก็เหลือใช้แล้ว (แต่จะมีขายหรือเปล่าก็ไม่รู้..) เพราะทำอะไรก็ไม่ค่อยจะเป็นแล้ว ก็แค่โทรศัพท์ว่าลูกอยู่ไหน จะกลับเมื่อไหร่ แค่นั้น จะแชตก็ไม่เป็น จะส่ง SMS สายตาก็ไม่ดี(ปุ่มมันเล็ก) ถ้าอายุ 40 ปีขึ้นไป ก็คงประมาณ 2G ก็พอเพราะวัยนี้ก็คงใช้เป็นแค่เรียกใช้บริการเสียงรอสาย(ลูกโหลดให้) โหลดภาพกราฟฟิก(เป็นหรือเปล่าก็ไม่รู้) เล่นเกมส์ ก็สายตาชักจะยาว ยื่นมือถือสุดแขนแล้วยังมองหน้าจอไม่ค่อยจะชัด แต่ถ้าคุณอยู่ในวัย 18-25 ปี(บางคนอายุเลยไปตั้งนานแล้วแต่ก็ยังขอยึดวัยนี้ กลัวตกเทรนด์) ก็ควรจะเริ่มใช้ 3G ได้แล้ว เดี๋ยวพอ 4G มาจะได้เป็นไปตามเทรนด์ เพราะผลการวิจัยออกมาแล้วว่า ช่วงอายุของผู้ที่ต้องการใช้งานเทคโนโลยี 3G และ 4G มากที่สุดอยู่ระหว่าง 18-25 ปี วัยนอกเหนือจากนี้กลับไปใช้ของเดิมน่ะถูกต้องแล้วค่ะ 

       สุดท้าย เทคโนโลยีการสื่อสารในแต่ละ Generation จะมีตัวเลขที่เป็นมาตรฐานเข้ามาเกี่ยวข้องอีก เช่น อัตราความเร็วในการรับ – ส่ง  มาตรฐานย่านความถี่ หากคุณผู้อ่านสนใจ ก็สามารถหาอ่านได้ตามสื่อต่าง ๆ....... เพิ่มเติม....น่ะค่ะ ..<  > ..

อ้างอิง

คำสำคัญ :
3G  
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=2
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อัจฉรา แกล้วกล้า  วันที่เขียน 31/3/2567 11:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/4/2567 9:43:47   เปิดอ่าน 31  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง