ระบบประเมินผลงานแบบใหม่เป็นอย่างไร?
วันที่เขียน 30/4/2555 23:52:42     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 5/7/2568 3:44:19
เปิดอ่าน: 6741 ครั้ง

เมื่อไม่สามารถเลือกได้... อยากให้ทุกท่านเปิดใจเรียนรู้ และก้าวเดินไปพร้อม ๆ กัน

 

สวัสดีค่ะทุกท่าน

ได้มีโอกาสเข้าไปอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับการบริหารผลงานตามลิงค์อ้างอิงนี้ (http://www.peoplevalue.co.th) และเห็นว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน ทั้งในประเด็นแหล่งข้อมูล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนำมาประยุกต์และพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัยต่อไป

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ระบบการประเมินผลงานแบบใหม่คือระบบที่มีลักษณะดังนี้

  • มีการเชื่อมโยงเป้าหมายองค์กรสู่หน่วยงานและตำแหน่งงาน ปัจจุบันนิยมใช้เครื่องมือที่เรียกกว่า Balanced Scorecard
  • มีการใช้ตัวชี้วัดผลงานที่วัดได้ จับต้องได้ เป็นรูปธรรม ศัพท์สมัยนี้เรียกกันว่า KPI (Key Performance Indicator)
  • มีการปรับแต่งตัวชี้วัดผลงานและเป้าหมายทั้งแนวตั้งและแนวนอน แนวตั้งหมายถึงระหว่างเป้าหมายองค์กรกับหน่วยงาน เป้าหมายของหน่วยงานกับตำแหน่งงาน และแนวนอน หมายถึง ระหว่างเป้าหมายของหน่วยงานหรือตำแหน่งงานในระดับเดียวกัน
  • มีการกำหนดตัวชี้วัดผลงานเฉพาะตัวที่สำคัญๆเท่านั้น เช่น บางองค์กรกำหนดตัวชี้วัดผลงานหลักไว้เพียง 3-7 ตัว ทั้งนี้เพื่อให้คนทำงานมีโฟกัส ไม่ต้องให้ความสำคัญทุกเรื่องในขณะที่มีทรัพยากรในการทำงานจำกัด
  • ผู้ถูกประเมินรู้ว่าถูกประเมินอะไรตั้งแต่ต้นปี ผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินมีการกำหนดตัวชี้วัดผลงานหลัก เป้าหมาย ระดับผลงาน(A-B-C-D-E) และแผนงานร่วมกันตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มปีงบประมาณหน้า
  • มีการกำหนดระดับความสำคัญของตัวชี้วัดผลงาน มีการกำหนดน้ำหนักคะแนนของตัวชี้วัดผลงานหลักแต่ละตัว เพื่อให้ทราบว่าตัวชี้วัดผลงานหลักตัวไหนมีความสำคัญมากกว่ากัน
  • ใบประเมินผลงานของแต่ละคนไม่เหมือนกันและจะเปลี่ยนทุกปี ตามเป้าหมายขององค์กรที่เปลี่ยนไป ส่วนจะเปลี่ยนมากเปลี่ยนน้อยก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายองค์กร เป้าหมายหน่วยงานที่จะส่งผลมายังตำแหน่งงานนั้นๆ
  • ประเมินทั้งผลงานและพฤติกรรมในการทำงาน การประเมินมักจะแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยหลักคือ ผลงานที่วัดด้วย KPI พฤติกรรม และสถิติการมาปฏิบัติงานสำหรับพนักงานบางระดับ บางตำแหน่ง
  • หัวข้อการประเมินพฤติกรรมแตกต่างกันตามตัวชี้วัดผลงาน การประเมินพฤติกรรมในแต่ละตำแหน่งแตกต่างกันไปตามลักษณะ KPI ของแต่ละตำแหน่ง และพฤติกรรมสามารถเปลี่ยนหัวข้อการประเมินได้ทุกปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่า KPI เปลี่ยนไปหรือไม่ เพราะวัตถุประสงค์หลักของการประเมินพฤติกรรมในระบบการประเมินผลงานแบบไหม่ ไม่ใช่ประเมินว่าเป็นคนดีขององค์กรหรือไม่ แต่ประเมินว่าคนๆนั้นมีพฤติกรรมที่จะช่วยให้ผลงานบรรลุเป้าหมายหรือดีกว่าเป้าหมายหรือไม่
  • ระบบการประเมินผลงานแบบใหม่ต้องสามารถเปิดเผยได้ โปร่งใส คนทำงานรู้ตลอดเวลาว่าแต่ละเดือนผลงานของตัวเอง หน่วยงานตัวเอง ต่ำกว่า เท่ากับหรือดีกว่าเป้าหมาย

________________________________________________________________________________

แหล่งอ้างอิง

ณรงค์วิทย์ แสนทอง http://www.peoplevalue.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539104228&Ntype=26

คำสำคัญ :
BSC  KPI  
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=153
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
การประชุมวิชาการ » อบรมรู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้า อาจารย์ ดร.เชิดชัย มีเอียด พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติฯ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน เชิดชัย มีเอียด  วันที่เขียน 30/9/2565 13:58:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/7/2568 17:17:31   เปิดอ่าน 2251  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง