สวัสดิการที่น่าสนใจ
วันที่เขียน 3/4/2555 13:07:42     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:42:48
เปิดอ่าน: 5914 ครั้ง

สวัสดิการบุคลากร

ความเคลื่อนไหวของสวัสดิการบุคลากร

รอ 1 เดือนปรับสูตรบำนาญ

นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยภายหลังการหารือกับเครือข่ายสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แห่งประเทศไทย และนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า ตัวแทนสมาชิกกบข.เรียกร้องแก้ไข พ.ร.บ. กบข.2539 มาตรา 63 เรื่องการคิดคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รวมถึงการแก้ไขพ.ร.บ. กบข.มาตรา 59 เพื่อให้ข้าราชการที่เสียชีวิตควรได้รับเงินชดเชย และผลประโยชน์อื่นจากการลงทุนของ กบข. ซึ่งกรมบัญชีกลางและสำนักนายกฯ รับทราบข้อเสนอ เพื่อพิจารณาหาข้อสรุปให้ได้ภายใน 1 เดือน

ทั้งนี้ สมาชิก กบข.เสนอขอแก้มาตรการ 63 โดยเสนอให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเฉลี่ย 24 เดือนสุดท้าย คูณด้วยเวลาราชการ หารด้วย 50 และไม่ควรต่ำกว่า 85% ของเงินเดือนเฉลี่ย 24 เดือนสุดท้าย จากปัจจุบันที่คำนวณจากอัตราเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ย้อนหลัง 5 ปี แต่ไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายทำให้ได้รับบำนาญน้อยลง อย่างไรก็ดี
นายธงทองได้ชี้แจงว่า คงเป็นไปไม่ได้ที่จะประกันการจ่ายบำนาญอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 85% จากปัจจุบันอยู่ที่ 70%

ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ข่าวสดและ www. k r u t h a i . i n f o

และข่าว

พนง.40 มหาลัยร้องรัฐบาลไม่ได้รับความเป็นธรรม คุณภาพชีวิตตกต่ำ ขอสิทธิเท่า"ข้าราชการ"

พนักงานมหาวิทยาลัย 40 แห่ง ร้องรัฐบาลขอสิทธิเท่าข้าราชการ หลังพบคุณภาพชีวิตตกต่ำ ต้องทำอาชีพเสริมขายประกันนอกเวลางาน บางคนลาออกไปเป็นครูประถม หวั่นคุณภาพการศึกษาระยะยาวแย่ ภาวิชหนุนแก้ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน บวกพนักงานเพิ่ม ให้ได้สิทธิเท่าเทียม

เมื่อ วันที่ 31 มีนาคม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัยในสถาบันอุดมศึกษา จัดเสวนาเรื่อง "เหลียวหลัง แลหน้า 13 ปี พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาไทย" โดยมีนายภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) นายขจร จิตสุขุมมงคล ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะและบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ น.ท. สุมิตร สุวรรณ อาจารย์ประจำคณะ ศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตกำแพงแสน ในฐานะผู้แทนเครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัย ร่วมเสวนา โดยมีพนักงานมหาวิทยาลัยกว่า 300 คน จาก 40 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศเข้าร่วม

น.ท.สุ มิตรกล่าวว่า เครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา เกิดจากการรวมตัวของพนักงานมหาวิทยาลัยกว่า 40 แห่งทั่วประเทศที่ได้รับความไม่เป็นธรรมจากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับผ่านทาง เฟซบุ๊ก และได้เริ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์และการดูแล ที่ดีขึ้น โดยปัจจุบันมีพนักงานมหาวิทยาลัยประมาณ 40,000-50,000 คน อยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ และแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีพนักงานประมาณ 60% ของจำนวนบุคลากรทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) แต่สถานะดังกล่าวถูกผูกมัดด้วยสัญญาจ้าง ทำให้อาจารย์เกิดความกังวลว่า อาจจะถูกประเมินไม่ต่อสัญญาจ้างด้วยระบบที่ไม่เป็นธรรม

"ปัญหาดัง กล่าวทำให้บุคลากรขาดกำลังใจ รวมถึงไม่ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามหลักที่ทบวงมหาวิทยาลัยได้ให้ไว้ ที่สำคัญคือ การไม่ได้รับค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2542 ที่กำหนดให้พนักงานมหาวิทยาลัยได้ 1.7 และ 1.5 เท่าของอัตราเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุที่เป็นอัตราปัจจุบัน และนโยบายที่รัฐบาลขึ้นเงินเดือน 5% ให้ข้าราชการ กลับไม่ครอบคลุมถึงข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยที่ทำงานมานานและอัตรา เงินเดือนเกินอัตราบรรจุแรกเข้า ขณะที่บางมหาวิทยาลัยยังไม่ได้ปรับเงินเดือนให้พนักงานมหาวิทยาลัย" น.ท.สุมิตรกล่าว

น.ท.สุมิตรกล่าวต่อว่า เมื่อเร็วๆ นี้เครือข่ายได้ยื่นหนังสือถึงนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมถึงเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยว ข้องตั้งแต่ระดับรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สกอ. ผู้บริหารมหาวิทยาลัย เข้ามาดูแลพนักงานมหาวิทยาลัย โดยกำหนดกลไกการประเมินที่เป็นธรรม เพื่อสร้างความมั่นคงในประสิทธิภาพการทำงาน ยกเลิกระบบประกันสังคม โดยจัดทำสวัสดิการเอง กำหนดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ต้องไม่น้อยกว่าระบบราชการเดิม และเสนอให้แก้กฎหมาย คือ พ.ร.บ.ระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 มาเป็น พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.... เพื่อให้พนักงานมหาวิทยาลัยได้รับสิทธิประโยชน์เทียบเท่าข้าราชการ

"หาก เราปล่อยให้สภาพพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นเช่นนี้ จะส่งผลกระทบอย่างมากกับคุณภาพนักศึกษา และคุณภาพการศึกษาในระยะยาว เพราะเมื่ออาจารย์ยังไม่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ก็ไม่มีกำลังใจที่จะสอน และบางคนต้องไปทำอาชีพเสริม เช่น ขายประกัน ขายของนอกเวลางาน แทนที่จะใช้เวลาพัฒนางานสอน หรือบางคนลาออกไปสอบเป็นครูประถม เพราะมีสถานะเป็นข้าราชการและได้รับสวัสดิการดีกว่า" น.ท.สุมิตรกล่าว

ด้าน นายภาวิชกล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับพนักงานมหาวิทยาลัยขึ้นอยู่กับผู้บริหารและสภา มหาวิทยาลัยว่าจะแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยต้องพยายามสะท้อนปัญหาเพื่อให้ผู้บริหารเข้าใจ แต่ถ้าผู้บริหารยังไม่เข้าใจ แนวทางการแก้กฎหมาย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาก็เป็นแนวทางที่น่าจะสามารถ ดำเนินการได้

ขณะที่นายขจรกล่าวว่า ยอมรับว่า สกอ.ไม่ได้เข้าไปดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์ให้พนักงานมหาวิทยาลัย เพราะที่ผ่านมาได้กระจายอำนาจให้มหาวิทยาลัยต่างๆ บริหารจัดการตัวเองได้ เท่าที่ดูมีหลายแห่งสามารถนำงบประมาณที่ได้รับไปดูแลพนักงานได้อย่างดี ขณะที่อีกหลายแห่งไม่สามารถทำได้ ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยต่างๆ มีการดูดคนเก่ง คนดี เข้าไปเป็นอาจารย์ หากมหาวิทยาลัยใดไม่สามารถดูแลสิทธิประโยชน์ให้กับพนักงานได้ ก็จะไม่มีคนเก่งคนดีมาทำงาน


ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์มติชน และ www. k r u t h a i . i n f o

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=142
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
การประชุมวิชาการ » อบรมรู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้า อาจารย์ ดร.เชิดชัย มีเอียด พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติฯ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน เชิดชัย มีเอียด  วันที่เขียน 30/9/2565 13:58:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:56:14   เปิดอ่าน 1876  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ระบบบริการของหน่วยงาน : การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) » การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)
การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) เป็นการให้บริการของงานอำนวยการ กองวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานมหาวิทยาลัย แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำเอกสารดังกล่าว ไปใช้ประกอบการยื่นขอวีซ่าไปต่างประเท...
บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ระบบ ERP  ระบบบริการของหน่วยงาน  ลดขั้นตอนการดำเนินการ  หนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)  อำนวยความสะดวก     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน ธัฒฌา ธนัญชัย  วันที่เขียน 14/9/2564 15:40:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:35:22   เปิดอ่าน 2094  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
งานวิจัยสถาบัน » ผลงานวิจัยเรื่อง "ความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่"
การวิจัยเรื่อง ความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงความพร้อมในกา...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน ภัคสุณีย์ ดวงงา  วันที่เขียน 5/11/2562 16:11:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:06:43   เปิดอ่าน 3955  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการ » การเข้าร่วมประชุมวิชาการ ICAS2018
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ จากการเข้าอบรม สัมมนา หรือประชุมวิชาการ ข้าพเจ้า นายเชิดชัย มีเอียด ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดสาขาวิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอนำเสนอรายงานสรุ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน เชิดชัย มีเอียด  วันที่เขียน 7/10/2562 15:53:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:55:33   เปิดอ่าน 2342  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง