เมนู
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Maejo University
ติดต่อ
บุคลากร (เข้าสู่ระบบ)
หน้าหลัก
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ตามคำสำคัญ
เครื่องหมายดีเอ็นเอ
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ
:
เครื่องหมายดีเอ็นเอ
1
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ
»
การพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอและการประยุกต์ใช้เครื่องหมาย SNP
เครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA marker) คือ ชิ้นส่วนดีเอ็นเอสายสั้น ๆ ที่มีลำดับเบสสามารถเข้าคู่กับช่วงใดช่วงหนึ่งบนสายดีเอ็นเอ ทำให้ระบุตำแหน่งบนโครโมโซมและสามารถแยกความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตเป้าหมายได้ มีประโยชน์หลายอย่าง ได้แก่ gene mapping, map-based cloning, marker-assisted breeding, plant variety protection, genetic diversity และ purity testing เครื่องหมายดีเอ็นเอที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติ คือ เป็น polymorphic มีการถ่ายทอดแบบ co-dominant เกิดทั่วจีโนม ตรวจสอบได้ง่าย รวดเร็ว และราคาไม่แพง ให้ผลที่ทำซ้ำได้ ตรวจสอบจีโนไทป์ได้ครั้งละหลาย ๆ ตัวอย่าง (high-throughput genotyping) ได้ผลถูกต้องและสม่ำเสมอ เครื่องหมายดีเอ็นเอมีหลายชนิด เช่น restriction fragment length polymorphism (RFLP), amplified fragment length polymorphism (AFLP), random amplified polymorphic DNA (RAPD), simple sequence repeat (SSR) และ single nucleotide polymorphism (SNP)
คำสำคัญ :
SNP
การปรับปรุงพันธุ์พืช
เครื่องหมายดีเอ็นเอ
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
27358
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
ผู้เขียน
ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์
วันที่เขียน
14/3/2560 13:11:15
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 21:10:42
สรุปรายงานจากการอบรม
»
การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอในการตรวจสอบสายพันธุ์พืช
เทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์กำลังมีบทบาทสำคัญในการเกษตร โดยเฉพาะในงานด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช เป็นการสร้างพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะดีตรงตามความต้องการของตลาด ผู้ปลูก และผู้บริโภค อีกทั้งให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคและแมลงได้ดี มีระยะเวลาการเก็บเกี่ยวสั้น ผลผลิตมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเป็นต้น ดังนั้นในการปรับปรุงพันธุ์จึงจำเป็นต้องหาวิธีการในการคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ดี โดยใช้เวลาปรับปรุงน้อย ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนการผลิต และนำพืชพันธุ์ใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วกว่าคู่แข่งทางธุรกิจ ในปัจจุบันงานด้านการปรับปรุงพันธุ์จึงนิยมใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอมาใช้คัดเลือกพืชสายพันธุ์ใหม่ เพราะมีความถูกต้อง แม่นยำสูง ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดระยะเวลาในการดูแลพืช
คำสำคัญ :
เครื่องหมายดีเอ็นเอ
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
9559
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
ผู้เขียน
วริศรา สุวรรณ
วันที่เขียน
12/3/2560 20:39:32
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
22/11/2567 0:55:01