รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : น้ำมัน
การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566 » การตั้งตำรับครีมบำรุงผิวกายที่มีน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจากดอกกุหลาบมอญ
กุหลาบมอญสุโขทัย (Damask rose) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Rosa damascena เป็นดอกกุหลาบที่พบทั้งดอกสีชมพูอ่อนถึงเข้มและสีแดง นิยมนำมาสกัดเป็นน้ำมันกุหลาบเพื่อใช้ในการผลิตน้ำหอมและผลิตเป็นน้ำกุหลาบใช้ในการแต่งกลิ่นในอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ กลีบดอกกุหลาบสามารถนำมาผลิตเป็นชาสุมนไพร ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจากดอกกุหลาบมอญสุโขทัยด้วยเทคนิคการสกัดโดยใช้คลื่นไมโครเวฟช่วย และศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมีของส่วนสกัดทั้งสองชนิด นอกจากนี้ ได้ตั้งตำรับครีมบำรุงผิวกายที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจากดอกกุหลาบ และทดสอบความคงตัวของตำรับครีมบำรุงผิวกาย ผลการทดสอบพบว่าปริมาณร้อยละผลผลิตของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดเท่ากับ 0.12 และ 30.25 ตามลำดับ ปริมาณฟีนอลิกรวมของน้ำมันหอมระเหยกุหลาบและสารสกัดมีค่าเท่ากับ 212.23±2.4 และ 438.39±3.1 mg GAE/g extract ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH ของน้ำมันหอมระเหยกุหลาบและสารสกัดดอกกุหลาบที่ทดสอบพบว่ามีค่า IC50 เท่ากับ 6.98 และ 5.78 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร (g/mL) (IC50 ของโทรล็อกซ์เท่ากับ 4.67 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) และปริมาณฟวาโวนอยด์รวมของน้ำมันหอมระเหยกุหลาบและสารสกัดดอกกุหลาบมีค่าเท่ากับ 100.22±1.3 และ 169.94±2.3 mg QE/g extract ตามลำดับ สารสกัดและน้ำมันหอมระเหยนำมาพัฒนาเป็นตำรับครีมบำรุงผิว พบว่าเนื้อครีมมีสีชมพูอ่อน กลิ่นดอกกุหลาบ มีค่ากรดด่างเท่ากับ 5.15-5.50 เนื้อครีมมีการกระจายตัวคงที่เมื่อทดสอบที่อุณหภูมิห้องและที่สภาวะเร่งเป็นเวลา 3 เดือน และมีความคงตัวไม่แยกชั้น
คำสำคัญ : ดอกกุหลาบมอญสุโขทัย  ดอกกุหลาบมอญสุโขทัย สารสกัดดอกกุหลาบ  น้ำมันหอมระเหยดอกกุหลาบ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 338  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 4/1/2567 15:00:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 9:44:13
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 4 » การตั้งตำรับน้ำมันเหลืองจากน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลและศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
ขมิ้นชันและไพลเป็นสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและสรรพคุณทางยาหลากหลาย สารสกัดและน้ำมันที่สกัดจากสมุนไพรทั้งสองชนิดมีการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือนำมาผลิตเพื่อใช้เป็นยาประจำบ้านลักษณะการใช้ทาภายนอก ในงานวิจัยนี้ ได้ตั้งตำรับน้ำมันเหลืองที่สกัดได้จากเทคนิคการกลั่นด้วยไอน้ำและมีน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลเป็นองค์ประกอบที่สัดส่วนต่าง ๆ (1:1 1:2 และ 2:1 โดยปริมาตร) นำน้ำมันหอมระเหยผสมมาผ่านกระบวนการบ่มด้วย พิมเสน การบูร เมนทอล ที่สภาวะสุญญากาศ นอกจากนี้ ได้นำน้ำมันเหลืองแต่ละสูตรมาศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ผลการศึกษาพบว่า น้ำมันเหลืองที่มีองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลที่สัดส่วน 2:1 โดยปริมาตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดี สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และ Staphylococcus epidermidis อย่างน้อยที่ระดับความเขมขน 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร นอกจากนี้ ความเขมขนต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (Minimum inhibition concentration, MIC) ทั้งสองสายพันธุ์เทากับ 58.25 และ 50.55 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สำหรับค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Minimum bactericidal concentration, MBC) ในทั้งสองเชื้อแบคทีเรีย มีค่าเท่ากับ 200.00 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ
คำสำคัญ : ขมิ้นชัน-ไพล  น้ำมันเหลือง  ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 221  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 21/8/2566 16:35:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:39:46
การพัฒนาตนเองด้านการวิจัย1 » การตั้งตำรับน้ำมันเหลือง
ขมิ้นชันและไพลเป็นสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและสรรพคุณทางยาหลากหลาย สารสกัดและน้ำมันที่สกัดจาก สมุนไพรทั้งสองชนิดมีการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือนำมาผลิตเพื่อใช้เป็นยาประจำบ้านลักษณะการใช้ทาภายนอก ในงานวิจัยนี้ ได้ตั้งตำรับน้ำมันเหลืองที่สกัดได้จากเทคนิคการกลั่นด้วยไอน้ำและมีน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลเป็นองค์ประกอบที่ สัดส่วนต่าง ๆ (1:1 1:2 และ 2:1 โดยปริมาตร) นำน้ำมันหอมระเหยผสมมาผ่านกระบวนการบ่มด้วย พิมเสน การบูร เมนทอล ที่ สภาวะสุญญากาศ นอกจากนี้ ได้นำน้ำมันเหลืองแต่ละสูตรมาศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ผลการศึกษาพบว่า น้ำมันเหลืองที่มี องค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลที่สัดส่วน 2:1 โดยปริมาตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดี สามารถ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และ Staphylococcus epidermidis อย่างน้อยที่ ระดับความเข้มข้น 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร นอกจากนี้ ความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (Minimum inhibition concentration, MIC) ทั้งสองสายพันธุ์เท่ากับ 58.25 และ 50.55 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สำหรับค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Minimum bactericidal concentration, MBC) ในทั้งสองเชื้อแบคทีเรีย มีคา่ เท่ากับ 200.00 ไมโครกรัม/ มิลลิลิตร ตามลำดับ
คำสำคัญ : น้ำมันเหลือง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 829  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 5/4/2566 16:20:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 7:24:39
วิพากย์สังคมไทย-เทศ » คนไทยราคาเท่าไร ฝรั่งราคาเท่าไร
ลองมาคำนวณเล่นๆ กันดูครับ
คำสำคัญ : ค่าครองชีพ  ค่าจ้าง  น้ำมัน  แรงงาน  เศรษฐกิจพอเพียง  ออสเตรเลีย  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : สังคม ครอบครัว ชุมชน เศรษฐกิจ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 8703  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 1  ครั้ง
ผู้เขียน ชนันท์ภัสร์ ราษฎร์นิยม  วันที่เขียน 12/3/2554 12:42:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:07:27