การออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ด้วยระบบการเรียนรู้ร่วมกันและการใช้ทีมเป็นฐาน
วันที่เขียน 7/9/2561 10:52:28     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:28:00
เปิดอ่าน: 4893 ครั้ง

การจัดการเรียนรู้ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะการจัดการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันจะต้องเน้นการพัฒนาผลการเรียนรู้ (Learning Outcome) เป็นประการสำคัญ ดังนั้นวิธีการจัดการเรียนรู้จะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ด้วยระบบการเรียนรู้ร่วมกันและการใช้ทีมเป็นฐานเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนอีกวิธีหนึ่งที่จะสามารถพัฒนาผลการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้

ผมได้มีเข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง การออกแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ด้วยระบบการเรียนรู้ร่วมกันและการใช้ทีมเป็นฐาน  วันที่ 22 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561  ซึ่งสามารถนำมาถ่ายทอดให้กับคณาจารย์ของคณะฯ ในการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน (Team Based Learning: TBL) ถือเป็นรู้แบบการสอนที่ได้รับการคิดและพัฒนาโดยนักศึกษาที่ชื่อว่า Larry K. Michaelsen จากมหาวิทยาลัยโอกลาโฮมา ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้มีการเผยแพร่รูปแบบการสอนในระดับอุดมศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน ถือเป็นรู้แบบการสอนที่เน้นความร่วมมือกันในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และร่วมกันทำงานเป็นทีมตามความเหมาะสมและแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน โดยมีการกำหนดเป้ามหายที่ชัดเจน สมาชิกภานในทีมจะมีหน้าที่ ความรับผิดขอบและการมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างยั่งยืน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานเป็นวิธีการสอนที่ใช้ผู้สอน 1 คน ต่อผู้เรียนกลุ่มเล็กหลายกลุ่มโดยสมาชิกในแต่ละกลุ่มจะมีประมาณ 6 – 7 คน ซึ่งการเรียนด้วยวิธีการนี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นทั้งในและนอกชั้นเรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพในการเรียน ดังนี้

  1. พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา
  2. ลดเวลาในการบรรยายของผู้สอน
  3. ทำให้เกิดความมั่นใจว่าผู้เรียนมีการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน
  4. ทำให้เกิดการเรียนการสอนแบบที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ
  5. ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม
  6. ส่งเสริมพัฒนาทักษะการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลและทักษะในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
  7. พัฒนาทักษะการรู้คิดของผู้เรียนในห้องเรียนขนาดใหญ่ให้มีระดับที่สูงขึ้น
  8. เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานจะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้สอนสามารถใช้หลักสำคัญ 4 ประการ ได้แก่

  1. การจัดตั้งและจักการกลุ่มอย่างถูกต้อง
  2. ผู้เรียนรับผิดชอบในงานรายบุคคลและงานกลุ่ม
  3. แบบฝึกหัดกลุ่มส่งเสริมการเรียนการพัฒนาทีม
  4. ผู้เรียนได้รับการสะท้อนกลับบ่อย ๆ ในเวลาที่เหมาะสม

 

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้การเรียนรู้ร่วมกันและการใช้ทีมเป็นฐาน (Team Based Learning: TBL)

  • กำหนดหัวข้อที่จะใช้วิธีการสอนแบบทีมเป็นฐาน
  • อธิบายขั้นตอนการจัดการเรียนการสอบแบบทีมเป็นฐาน เกณฑ์การกำหนดกลุ่มเรียน การให้คะแนน และกำหนดข้อตกลงในการเข้าชั้นเรียนร่วมกัน เช่น การเข้าเรียนตรงเวลา การเตรียมตัวก่อนเรียน และการทำข้อสอบด้วยตนเอง เป็นต้น
  • แบ่งกลุ่มนักศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยพิจารณาตามความแตกต่างแต่ละปัจจัยเพื่องกันความได้เปรียบเสียเปรียบ เช่น ผลการเรียน เพศ อายุ ประสบการณ์ แบ่งผู้เรียนกลุ่มละ 5 หรือ 7 คน และผู้เรียนจะเป็นกลุ่มเดิมจนจบการเรียนแบบทีมเป็นฐาน
  • จัดการเรียนการสอนแบบทีมเป็นฐานโดยก่อนเข้าเรียน 1 สัปดาห์ ผู้สอนแจกเอกสารประกอบการเรียนและแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษาเตรียมตัวศึกษาก่อนเรียน และแจ้งให้ทราบว่าจะมีการทดสอบที่คิดคะแนนเป็นส่วนหนึ่งของผลการเรียน และย้ำให้อ่านเอกสารและค้นคว้าเพิ่มเติมก่อนเข้าเรียน
  • ในชั้นเรียนดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบทีมเป็นฐานโดยให้นักศึกษาทำแบบทดสอบรายบุคคล ใม่อนุญาตให้ดูเอกสารประกอบการเรียน โดยให้ตอบในกระดาษคำตอบทั่วไปแล้วเก็บไปเพื่อตรวจคะแนนหลังจากนั้นให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มที่แบ่งไว้ให้กลุ่มทำแบบทดสอบรายกลุ่ม ซึ่งเป็นชุดเดียวกับแบบทดสอบรายบุคคล โดยให้นักศึกษาร่วมกันเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด โดยทำในกระดาษคำตอบที่ใช้ในเทคนิค Immediate Feedback Assessment Technique (IF-AT) ซึ่งจะทราบผลการตอบทันที หากคำตอบไม่ถูกต้องกลุ่มจะช่วยกันหาคำตอบต่อไปจนกว่าจะได้คำตอบที่ถูกต้อง ทำเช่นนี้จนครบทุกข้อ จากนั้นเก็บกระดาษคำตอบเพื่อตรวจให้คะแนนตามความแม่นยำในการตอบคำถาม โดยพิจารณาจากจำนวนตัวเลือกที่ตอบผิด และต่อมาในขั้นตอนการประยุกต์ใช้ความรู้ ผู้สอนแจกโจทย์ปัญหาที่เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ ให้นักศึกษาในกลุ่มฝึกการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาแล้วตอบคำถามสั้น ๆ หลังจากนั้นแต่ละกลุ่มนำเสนอคำตอบ ผู้สอนเฉลยวิธีคิดวิเคราะห์ปัญหาที่ถูกต้อง และเปิดโอกาสให้กลุ่มที่ตอบคำถามต่างจากเฉลยได้แสดงความคิดเห็น หลังจากนั้นผู้สอนสรุปประเด็นความรู้และให้ข้อมูลจากการสังเกตการทำงานของแต่ละกลุ่ม เพื่อเป็นแนวทางเพื่พัฒนากระบวนการทำงานเป็นทีมให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป เมื่เสร็จสิ้นการเรียนแต่ละหัวข้อให้นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังเรียนโดยทำในกระดาษคำตอบทั่วไป แล้วเก็บเพื่อตรวจคะแนน หลังเสร็จสิ้นการสอน ผู้สอนแจกแบบสอบถามเพื่อให้นักศึกษาประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนแบบทีมเป็นฐาน

หากคณาจารย์ท่านใดสนใจวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานสามารถนำไปใช้ได้ เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาให้เป็นไปตามผลการเรียนรู้ที่หลักสูตรกำหนดได้เลยครับ แล้วหากมีผลการสอนเป็นประการใด อาจจะนำผลที่เกิดขึ้นกับการจัดการเรียนรู้มาแบ่งปันกันก็ได้ครับ

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=861
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
การอบรมและสัมมนา » link smart home cabling system technology for the future
เนื้อหาการอบรม link smart home cabling system technology for the future จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของเครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topology) องค์ประกอบพื้น...
เครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ  ช่องทางการติดต่อสื่อสารในระบบโทรคมนาคม  ประเภทของสายสัญญาณและ connector  รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เส้นใยนำแสง  องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน ภานุวัฒน์ เมฆะ  วันที่เขียน 10/7/2567 9:56:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:56:15   เปิดอ่าน 267  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:50:09   เปิดอ่าน 618  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง