ภาษาและวัฒนธรรม ตามเส้นทางแสวงบุญคุมาโนะโคโด
วันที่เขียน 24/8/2561 14:29:31     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 11/10/2567 11:36:17
เปิดอ่าน: 4228 ครั้ง

ทัศนศึกษาเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรม ตามเส้นทางแสวงบุญคุมาโนะโคโด” ประเทศญี่ปุ่น

             ทัศนศึกษาเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรม ตามเส้นทางแสวงบุญคุมาโนะโคโด

                             วันที่ 25-30 กรกฎาคม 2561  ประเทศญี่ปุ่น 

โดย ผศ. ลลิดา ภู่ทอง 

 

          การเดินทางครั้งนี้ผู้เขียนได้ซื้อบัตร JR Kansai wide area pass ราคาประมาณ 2600 บาทในการเดินทาง เพราะพักคืนละเมือง ต้องเดินทางทุกวัน แบกเป้เล็กๆประมาณ 5 กิโล โขคดีที่เป็นฤดูร้อน เสื้อผ้าที่เอาไปบางๆเหมือนบ้านเรา ใช้เป้เล็กๆเดินทางได้สบาย

  k1

 

ระหว่างการเดินทางในการทัศนศึกษาได้สังเกตและเรียนรู้การใช้ภาษาอังกฤษและวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่น การสื่อสารในเอกสารต่างๆที่มีการใช้ภาษาญี่ปุ่นร่วมกับภาษาอังกฤษ เพื่อความสะดวกของนักท่องเที่ยว

 

 

 

สถานที่สำคัญที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว มักจะมีข้อมูลที่มีสองภาษา เช่น  วัด  สถานีรถไฟ  

ระหว่างที่นั่งรถไฟไปเมืองต่างๆ ผู้เขียน สังเกตเห็นแผ่นกระดาษนี้ทุกที่นั่ง บนกระเป๋าด้านหน้าที่นั่ง มีข้อความว่า In case of Tsunami is expected ซึ่งหมายความว่า ในกรณีที่เกิดซึนามิ ให้ออกจากรถไฟ โดยออกได้ 2 วิธี คือ ปีนโดยใช้บันไดลงและบันไดนั้น เขาจะบอกที่เก็บบันไดในรถไฟให้อย่างชัดเจน และอีกวิธีคือ ออกโดยกระโดดลงทางประตู แล้ววิ่งไปตามป้ายดังในรูป ซึ่งผู้เขียนสังเกตตามข้างทางรถไฟ ตามเสาจะมีป้ายนี้เป็นระยะๆ ป้ายนี้คงนำไปสู่ที่หลบภัย 

 

ผู้เขียนสงสัยว่าทำไมต้องมีแผ่นกระดาษนี้ตามที่นั่งในรถไฟ จะเกิดซึนามิได้ไงบนรถไฟ ต่อเมื่อไปถึงเมือง วากายามะ เพื่อจะต่อรถไฟไปเมือง คัตสึระ ที่อยู่ริมทะเล เจ้าหน้าที่สถานีรถไฟบอกว่า มีประกาศเรื่อง ลมไต้ฝุ่นเข้าญี่ปุ่น รถไฟหยุดวิ่งหลายสาย จึงถึงบางอ้อว่า รถไฟสายนี้วิ่งเลียบทะเล ทำให้มีโอกาสเจอซึนามินี่เอง คนญี่ปุ่นมีความรอบคอบและมีวินัยเป็นอย่างดี จึงตระเตรียมข้อมูลในการหนีซึนามิไว้ทุกทาง (ตามรูปด้านล่าง)

 

  

 

            ข้อมูลบางอย่างมีภาษาอังกฤษอธิบายให้อย่างดี เช่น การกินราเมนที่ วากายามะ จนทำให้ผู้เขียนต้องไปลองดู และสถานที่บางแห่งมีหลายภาษา รวมทั้งภาษาไทยด้วย คิดว่าน่าจะมีคนไทยไปเที่ยวมากขึ้น บางที่เจ้าหน้าที่รู้ว่าเราเป็นคนไทย ก็ทักสวัสดี เป็นภาษาไทย 

 

  

 

                        อย่างไรก็ตาม มีหลายแห่งที่เขาไม่ได้เตรียมภาษาอังกฤษให้ ต้องอาศัยการเดาจากรูปภาพเอง

 

 

 

 

 ระหว่างการเดินทางได้สังเกตเห็นการใช้ภาษาอังกฤษของคนญี่ปุ่นว่า คนรุ่นใหม่พูดภาษาอังกฤษได้ สื่อสารได้ เช่น ตอนแยกกับเพื่อนที่เมืองอุรุชิมาเพื่อขึ้นรถไฟไปสนามบิน Kansai ต้องเปลี่ยนขึ้นรถไฟถึงสามสถานี มีที่หนึ่งที่ผู้เขียนขึ้นนั่งรถแล้ว ไม่แน่ใจว่านั่งถูกสายรึปล่าว เลยถามสาวรุ่น(อายุน่าจะประมาณ 20 ปี)ที่นั่งข้างๆว่า Is this train to Kansai airport ? เธอตอบว่า No. Not this one. The other way round. ผู้เขียนรีบวิ่งแจ้นลงจากรถไฟแทบไม่ทัน

แต่บางคนการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษก้อมีข้อจำกัด เช่น ตอนที่ถามนายสถานีรถไฟ Hashimoto จะไปลงสถานีคีคัตสึระ(Kii Katsuura) ต้องต่อรถที่ Wakayama เขาบอกว่า Due to Typhoon. No train to Wakakyama today.(มีพายุไต้ฝุ่นเข้า ไม่มีรถไฟไปวากายามาวันนี้) เราก้อคิด ตายละหว่า จองที่พักไว้ เสียเงินฟรีแน่ๆ เลยพยายามถามเขาว่ามีวิธีไหนบ้าง ปรากฏว่า เขาบอกว่ามีเที่ยวนี้เที่ยวนั้น อ้าว! แล้วเมื่อกี้บอกว่า วันนี้ไม่มีรถไป Wakayama  เออ คิดอีกที คิดว่าเขาพยายามบอกว่าไม่มีเที่ยวที่เราถามก้อได้ แต่ไม่อยากเรื่องมาก พอบอกว่ามีเที่ยวนี้ เลยถามเวลา แล้วก็ยืนรอ ระหว่างรอก้อไปยืนอ่านประกาศภาษาอังกฤษตามรูป เลยทำให้เข้าใจธรรมชาติของคนญี่ปุ่นมากขึ้นว่า เนื่องจากเขาต้องเจอภัยธรรมชาติที่รุนแรงบ่อยๆ เขาจึงต้องรอบคอบ เตรียมการณ์ตลอดเวลา ความมีระเบียบวินัยจึงสำคัญมาก ไม่งั้นเวลามีภัยมา คงโกลาหล ยิ่งทำให้ทุกอย่างยิ่งแย่ลงไป

ตอนนั่งรถไฟไปสนามบินคันไซผู้เขียนเดินทางคนเดียว ระหว่างที่นั่ง มีนักเรียนชั้นประถมขึ้นรถเต็ม มีเด็กคนหนึ่งมานั่งข้างๆ และงีบหลับ กระเป๋ายังอยู่หลัง(ผู้เขียนไม่ได้ถ่ายรูป เด็กเหมือนในภาพที่ยืมมาจากเว็บไซต์อื่น) กระเป๋าด้านหน้าก้อเอียงมาโดนผู้เขียนนิดหน่อย แต่(คิดว่าเป็น)พี่ที่นั่งตรงข้าม โตกว่าหน่อย ค่อยๆมาขยับกระเป๋าด้านหน้า ไม่ให้โดนผู้เขียน ( เก้าอี้นั่งในรถไฟที่ผู้เขียนนั่ง จะเป็นม้านั่งหันหน้าเข้าหากัน ) พี่สองคนที่นั่งตรงข้าม เวลาคุยกัน ก้อจะกระซิบเบาๆ และเขาก็ดึงหนังสือการ์ตูนขึ้นมาอ่านกัน แทนที่จะเป็นโทรศัพท์ เห็นแล้วน่าชื่นใจ ทำให้เข้าใจถึงมารยาทการอบรมและการสอนของคนญี่ปุ่นมากขึ้น

 

 

 ยกตัวอย่างสถานที่ที่ผู้เขียนไปเยือน ได้แก่

 

 

 

วัดเซอิงันโต-จิ  

เคียงคู่กับคุมาโนะซันซัง วัดเซอิงันโต-จิเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่มรดกโลก สถานที่นี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 ปริมณฑลแห่งนี้มีชื่อเสียงในเรื่องทัศนียภาพงดงามดุจภาพวาดของน้ำตกนาจิ ป่าดึกดำบรรพ์นาจิและมหาสมุทรแปซิฟิค(ขอบคุณข้อมูลจาก https://th.visitwakayama.jp/themes/world-heritage-the-kumano-kodo-pilgrimage-routes/)

 

  

 

 

ความมหัศจรรย์แห่งน้ำพุร้อนธรรมชาติ

          การแช่น้ำร้อนในญี่ปุ่น คือการผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นวิธีการยอดเยี่ยมที่จะเติมเต็มวันแห่งการทัศนาจรหรือการเดินทางไกลให้บริบูรณ์ เป็นการบรรเทาความเจ็บปวดและบาดแผลจากการเดินทาง คงเหลือไว้แต่ความทรงจำถึงป่าอันชุ่มชื้นและศาลเจ้าอันงดงามที่อิงแอบอยู่ในป่าอันสันโดษนั้น ตลอดเส้นทางคุมาโนะโคโด มีทางเลือกในการอาบออนเซ็นมากมาย รวมถึงธารน้ำพุร้อนคาวะยุออนเซ็นด้วย(ขอบคุณข้อมูลจาก https://th.visitwakayama.jp/themes/world-heritage-the-kumano-kodo-pilgrimage-routes/)

 

ในรูป--ผู้คนใส่ชุดยูกาตะ เดินไปแช่น้ำออนเซ็นตามบ่อต่างๆในเมือง ผู้เขียนก็ไปมาครบเช่นกัน

 

 

 

 

มนตร์เสน่ห์วิถีชีวิตแบบเอโดะ

          เพื่อสัมผัสกับธรรมชาติอันล้ำลึกของการต้อนรับแขกผู้มาเยือนแบบญี่ปุ่น สถานที่ดีที่สุดในการมีประสบการณ์การต้อนรับแบบญี่ปุ่นนี้ ก็คือโรงแรมเล็กๆแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม หรือที่เรียกว่า เรียวคัง รูปแบบคลาสิกประณีตของห้องพัก ซึ่งมักจะตรงแต่งด้วยโชจิ (ประตูเลื่อนกรุกระดาษสาญี่ปุ่น) พื้นปูเสื่อทาทามิ และโทโคโนะมะ (ส่วนที่เป็นหลืบในห้อง ซึ่งเอาไว้ประดับประดาดอกไม้และภาพม้วน)(ขอบคุณข้อมูลจาก https://th.visitwakayama.jp/themes/world-heritage-the-kumano-kodo-pilgrimage-routes/)

 

 

 

 

 

 

ด้านอาหารการกินนั้น ถือว่าอาหารตาม 7-11 หรือ Family mart สะอาด สะดวกและไม่แพง  ใส่กล่องดูดีและสวยงาม ซื้อกินบนรถไฟได้อย่างสะดวก (โชคดี ที่บนรถไฟเที่ยวนั้นไม่ค่อยมีคน ไม่งั้นผู้เขียนจะรู้สึกเกรงใจเรื่องกลิ่นอาหาร) แต่ผู้เขียนรู้สึกว่า ในแต่ละวันกล่องใส่อาหารเหล่านี้ คงสร้างขยะที่ย่อยสลายได้ยากเป็นจำนวนมาก

การมาญี่ปุ่นครั้งนี้ ได้เห็นข้อจำกัดของการใช้ภาษาอังกฤษของคนญี่ปุ่นในบางส่วน ซึ่งก็คงไม่ต่างจากบ้านเรา แต่ก็ไม่ทำให้ความงามจากน้ำใจของคนญี่ปุ่นที่พยายามสื่อและช่วยเหลือลดลงเลย เห็นความซื่อสัตย์ ความมีระเบียบวินัย ที่น่าชื่นชมและเอาแบบอย่าง แต่ขยะจากกล่องอาหารและขนมต่างๆนั้น ผู้เขียนอดตั้งคำถามในใจไม่ได้ว่า แล้วคนญี่ปุ่นเขาได้ตระหนักถึงเรื่องนี้หรือไม่ อย่างไร          

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
การบริการวิชาการสู่ชุมชนด้านการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรม » ซุ้มประตูโขงวัดพระธาตุเสด็จ จังหวัดลำปาง
ซุ้มประตูโขงวัดพระธาตุเสด็จ นครลำปาง กับหลักฐานความงามในอดีตจากภาพถ่ายโบราณ ถ้ากล่าวถึงซุ้มประตูโขงสกุลช่างลำปางที่สวยงามอีกหนึ่งหลัง ในยุคพม่าปกครองล้านนา (พ.ศ. 2101-2300) คือซุ้มประตูโขง...
ซุ้มประตูโขง     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 26/8/2564 13:47:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 11/10/2567 7:23:08   เปิดอ่าน 2540  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การบริการวิชาการสู่ชุมชนด้านการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรม » ช่อฟ้าแบบลำปาง
รูปแบบช่อฟ้ากลุ่มลำปางอันเป็นอัตลักษณ์เชิงช่าง ก็ต้องกล่าวถึงช่อฟ้าเซรามิกประดับวิหารวัดพระธาตุเสด็จ ที่เป็นช่อฟ้าเซรามิกรูปทรงเป็นพญานาค ที่ระบุว่าสร้างในปี จ.ศ. 1008 หรือ พ.ศ. 2189 ปัจจุบันจัดแส...
ช่อฟ้าลำปาง     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 26/8/2564 13:42:04  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/10/2567 13:14:52   เปิดอ่าน 1873  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การบริการวิชาการสู่ชุมชนด้านการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรม » วัดร้างแสนขานกับจิตรกรรมเขียนสีกลางกรุ อายุ 600 ปี ค้นพบใหม่อีกแห่งในล้านนา
เจดีย์วัดร้างแสนขาน ตั้งอยู่บนถนนมณีนพรัตน์ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ปรากฏชื่อวัดแสนขาน ในเอกสารตำนานพงศาวดาร แต่สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัดที่ปรากฏชื่อในพงศาวดารโยนกว่า “...พญา...
จิตรกรรมวัดร้างแสนขาน, จิตรกรรมล้านนา 600 ปี     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 5/9/2563 22:20:19  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 11/10/2567 10:02:48   เปิดอ่าน 2605  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
บทความ » อาหารพื้นบ้านของชาวล้านนา
ภาคเหนือหรืออาณาจักรล้านนาในอดีต เป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตจวบจน ปัจจุบัน มีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้จากหลาย ๆ แหล่ง ทำให้ได้รับวัฒนธรรมหลากหลาย จากชนชาติ...
อาหารล้านนา     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ผู้เขียน กัณณิกา ข้ามสี่  วันที่เขียน 11/10/2562 10:31:57  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 11/10/2567 9:11:41   เปิดอ่าน 5780  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง