เพิ่มความน่าสนใจให้สื่อด้วย Infographic รูปแบบใหม่
วันที่เขียน 21/2/2560 18:14:15     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/6/2566 17:04:34
เปิดอ่าน: 8775 ครั้ง

การออกแบบสื่อรูปแบบใหม่ ที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย ดึงดูดความสนใจ

      Infographic สำหรับนักออกแบบสื่อต่างๆ คงได้ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย แต่สำหรับบางคนอาจจะไม่รู้จักว่าคืออะไร แล้วมีประโยชน์อย่างไร ดังนั้นจึงขอแนะนำให้รู้จักและแนะนำการออกแบบเบื้องต้นอย่างง่ายสำหรับผู้ที่ชื่นชอบงานด้านออกแบบสื่อต่างๆ
      ก่อนอื่นมารู้จักความหมายกัน คำว่า Information หมายถึง สารสนเทศ ข้อมูลที่ผ่านการคิดวิเคราะห์แล้วผ่านการประมวลผลแล้วทำให้เป็นข้อมูลที่ดี สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ส่วนคำว่า Graphic หมายถึง ภาพในรูปแบบดิจิตอล ใช้การสื่อความหมาย
ด้วยการใช้เส้น ภาพวาด  สัญลักษณ์  ภาพถ่าย  กราฟ  แผนภูมิ  การ์ตูน  ฯลฯ
       สรุปคำว่า  Infographic คือ การนำเอาข้อมูล ข้อเท็จจริง ข่าวสาร จากสื่อต่างๆมาผ่านกระบวนการประมวลผล ซึ่งอาจจะทำการเรียงข้อมูล คำนวณ สรุปผล จัดกลุ่มข้อมูล เป็นต้น มานำเสนอข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ในลักษณะแผนภาพ เพื่อให้อ่านและเข้าใจได้ง่าย โดยใช้ภาพกราฟิกเป็นเครื่องมือสำคัญ ซึ่ง infographic ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ ข้อมูลและภาพกราฟิก

               

ลักษณะของข้อมูลในรูปแบบ infographic

          - ต้องสั้น กระชับ ตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออก
          - ภาพต้องเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน
          - ออกแบบให้ดูเรียบง่าย สบายตา
           -จัดวางองค์ประกอบให้ลงตัว
          - การใช้สีสันและลวดลายที่น่าสนใจ
          - ประหยัดเวลาของผู้อ่าน เพราะทำให้สามารถศึกษาข้อมูลยากๆได้เร็วขึ้น 

       infographic เป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อสร้างความน่าสนใจ ความเข้าใจ และการจดจำได้ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยการทำงานใช้โปรแกรมออกแบบทางด้านกราฟิก เช่น โปรแกรม Adobe Illustrator  เพื่อช่วยสร้างงานลายเส้น หรือสำหรับบางคนใช้โปรแกรม Adobe Photoshop  สำหรับการตกแต่งภาพถ่าย ซึ่งสำหรับมือสมัครเล่นสามารถใช้โปรแกรมง่ายๆในกลุ่มออฟฟิต หรือใช้โปรแกรมPaint ได้ 

ตัวอย่างการออกแบบสื่อรูปแบบ infographic

การจัดองค์ประกอบศิลป์และองค์ประกอบภาพ

                                           จุด 1 2 3 เป็นจุดดึงดูดสายตา ส่วนจุด 4 จุดรวมสายตา
                                                                           

        การใช้สี ควรใช้สีให้น้อย ประมาณ 3-4 สีก็พอ  โดยกำหนดให้สีพื้น 60% สีรอง 30% และสีเน้น 10%
 ตัวอย่างใช้โทนสีของภาพ
 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=618
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา » ASEAN DIGITAL LITERACY PROGRAMME (การรู้เท่าทันสื่อในสังคมออนไลน์)
ปัจจุบันการดำเนินชีวิตประจำวันมีความเกี่ยวข้องกับสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะการใช้งานผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ โซเซียลมีเดีย โดยเฉพาะในประเทศไทย มีการใช้งานโซเซียลมีเดียเพื่อการติดต่อสื่อสาร การจ...
digital  literacy  ข่าวปลอม  สื่อ  ออนไลน์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 9/2/2566 9:42:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/6/2566 12:05:28   เปิดอ่าน 358  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา » ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy)
Digital literacy หรือทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นทักษะด้านดิจิทัลพื้นฐานที่จะเป็นตัวช่วยสำคัญในการปฏิบัติงาน การสื่อสาร และการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในลักษณะ “ทำน้อย ได้มาก” หรือ “Work...
Digital  Literacy  การรู้  ดิจิทัล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 25/11/2564 9:56:37  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/6/2566 16:59:51   เปิดอ่าน 99133  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง