eduroam@MJU
วันที่เขียน 12/11/2559 12:36:22     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 12:04:13
เปิดอ่าน: 5792 ครั้ง

eduroam เป็นบริการเครือข่ายโรมมิ่งเพื่อการศึกษาและการวิจัย อำนวยความสะดวกให้แก่บุคลากรหรือนักศึกษาจากสถาบันที่เป็นสมาชิก ที่ต้องเดินทางไปปฏิบัติภารกิจในสถาบันที่เป็นสมาชิกสถาบันอื่น ให้สามารถใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทันที โดยเชื่อมต่อกับเครือข่าย eduroam และใช้การยืนยันตัวบุคคล ผ่านส่วนกลางไปยังสถาบันต้นสังกัดด้วยบัญชีผู้ใช้ที่ออกโดยสถาบันต้นสังกัด เมื่อผ่านกระบวนการยืนยัน ตัวบุคคลแล้วผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้ สิทธิ์ในการใช้งานเครือข่ายจะอยู่ภายใต้ เงื่อนไขการให้บริการของสถาบันผู้ให้บริการเครือข่าย

eduroam


eduroam ย่อมาจาก "educational roaming" เป็นเครื่องหมายที่จดทะเบียนโดย TERENA ที่ก่อกำเนิดจาก เครือข่ายการศึกษาและวิจัยของยุโรป (NRENs) เพื่อการใช้งานเครือข่ายที่เรียบง่าย ปลอดภัย และรองรับผู้ใช้งานที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นได้


eduroam มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

eduroam เป็นบริการเครือข่ายโรมมิ่งเพื่อการศึกษาและการวิจัย อำนวยความสะดวกให้แก่บุคลากรหรือนักศึกษาจากสถาบันที่เป็นสมาชิกที่ต้องเดินทางไปปฏิบัติภารกิจในสถาบันที่เป็นสมาชิกสถาบันอื่น ให้สามารถใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทันที โดยเชื่อมต่อกับเครือข่าย eduroam และใช้การยืนยันตัวบุคคลผ่านส่วนกลางไปยังสถาบันต้นสังกัดด้วยบัญชีผู้ใช้ที่ออกโดยสถาบันต้นสังกัด เมื่อผ่านกระบวนการยืนยันตัวบุคคลแล้วผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้ สิทธิ์ในการใช้งานเครือข่ายจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขการให้บริการของสถาบันผู้ให้บริการเครือข่าย

ประโยชน์ของ eduroam

  1. บุคลากรหรือนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ของสถาบันอื่นที่เป็นสมาชิก สามารถเข้าถึงและใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันนั้นได้
  2. บุคลากรหรือนักศึกษาของสถาบันอื่นที่เป็นสมาชิก สามารถเข้าถึงและใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ สถาบันที่เป็นสมาชิกไม่ต้องลงทะเบียนหรือสร้างบัญชีสำหรับการใช้บริการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้แก่บุคลากรหรือนักศึกษาของสถาบันที่เป็นสมาชิกอื่นที่เดินทางเข้ามาปฏิบัติภารกิจในพื้นที่บุคลากรหรือนักศึกษา ใช้บัญชีผู้ใช้เดียวกันกับที่ใช้อยู่ในสถาบันของตนเองเพื่อยืนยันตัวบุคคลเมื่อเดินทางไปใช้ในสถาบันอื่นได้ทันที


eduroam ทำงานอย่างไร

eduroam มีการทำงานบนพื้นฐานของมาตรฐาน 802.1x ร่วมกับกลุ่มของ RADIUS proxy server ซึ่งมีการจัดกลุ่มตามลำดับชั้น โดย RADIUS server แต่ละตัวจะทำหน้าที่ในการส่งต่อข้อมูลการยืนยันตัวบุคคลจากเครือข่ายผู้ให้บริการ (Service Provider) ไปยังเครือข่ายต้นสังกัดของผู้ใช้งานเพื่อยืนยันสิทธิ์การเข้าใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้


คุณสมบัติการเชื่อมต่อ eduroam

SSID: eduroam
Security type: WPA2-Enterprise
Encryption: TKIP/AESNetwork
authentication method: PEAP (EAP-MSCHAP)

 

การใช้งาน eduroam 

การใช้งาน eduroam ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้

  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้บริการเครือข่าย eduroam สามารถเข้าใช้งานด้วยบัญชีผู้ใช้งานที่ออกโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ โดยใช้หลักการการใช้งานเดียวกับระบบเครือข่ายไร้สาย MJU_WLAN   มีรูปแบบการใช้งานดังนี้ 

ชื่อบัญชี : username@mju.ac.th
รหัสผ่าน : รหัสผ่านเดียวกันกับระบบเครือข่ายไร้สายมหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอสงวนสิทธิ์ในการบันทึกประวัติการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้งานซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550


การใช้งาน eduroam สำหรับนักศึกษาและบุคคลากรเมื่อไปเยือนสถาบันอื่น

    นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถใช้งานเครือข่าย eduroam ได้จากสถาบันที่เข้าร่วม ผ่าน ssid eduroam ยืนยันตัวบุคคลด้วยบัญชีผู้ใช้งานเพื่อเข้าใช้งานเครือข่าย มีรูปแบบการใช้งานดังนี้

ชื่อบัญชี : username@mju.ac.th
รหัสผ่าน : รหัสผ่านเดียวกันกับระบบเครือข่ายไร้สายมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

ผู้ใช้งานต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการให้บริการที่หน่วยงานผู้ให้บริการเป็นผู้กำหนด สามารถสืบค้นรายชื่อ สถาบันที่ให้บริการเครือข่าย eduroam ได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาซึ่งเป็นผู้ดำเนินการหลักของประเทศไทย (eduroam.uni.net.th)

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=605
ความคิดเห็นทั้งหมด (1)
ณัฐธนะนันท์ เอี่ยมตะกูล     วันที่เขียน : 22/6/2563 0:00:00

การเข้า edoroam ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผ่านโทรศัพท์ Vivo เข้าหรัสแล้ว ไม่สามารถเชื่อมต่อได้ ต้องดำเนินการอย่างไรต่อคะ

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง » Assignment in Microsoft Teams
การมอบหมายงาน (Assignment ) สำหรับนักศึกษาในห้องเรียน ระบบ Microsoft Teams สร้างความสะดวกในการมอบหมายงานให้กับนักศึกษา การส่งงาน และสามารถให้คะแนนนักศึกษาแต่ละคนในห้องเรียน สำหรับผู้ที่อยู่ในสถาบัน...
Assignment  Microsoft Teams  การมอบหมายงาน  การให้คะแนน     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 26/3/2567 18:01:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 5:37:52   เปิดอ่าน 121  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา » Google Sites สร้างเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย
Google Sites คือโปรแกรมหนึ่งของ บริษััท Google ที่เปิดให้ สมาชิกของ Google สามารถ สร้างเว็บไซต์ของตนเองได้ฟรี โดยการสร้างเว็บไซต์ ด้วย Google Sites นั้น ทำได้ง่าย เหมือนกับการแก้ไข เอกสารธรรมดา ๆ ช...
Google Sites  เว็บไซต์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 11/3/2567 17:19:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 8:35:58   เปิดอ่าน 224  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา CLOs ผ่าน มคอ.3
หัวข้อนี้เน้น การออกแบบหลักสูตรให้ตอบสนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร สะท้อนถึงความต้องการ ของผู้ที่เกี่ยวข้องครบทุกภาคส่วน และผลการเรียนรู้นั้นต้องครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะเฉพาะทางและทักษ...
CLO  ELO  PLO     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 18/11/2566 23:45:59  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 13:06:43   เปิดอ่าน 346  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » แอปพลิเคชันสำหรับช่วยในการจัดเรียนการสอน
การเรียนผ่านเครื่องมือช่วยสอนโดยใช้แอปพลิเคชันมีบทบาทในการส่งเสริมและช่วยเหลืออาจารย์และนักศึกษาเป็นอย่างมาก บทความนี้ได้รวบรวม 8 เครื่องมือช่วยสอนสำหรับอาจารย์ในการช่วยจัดการเรียนการสอนให้เกิดความ...
Canva  Kahoot  Nearpod  Plicker  Quizizz  Storyboard  Visme  Voxer     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 18/11/2566 23:01:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 11:18:33   เปิดอ่าน 246  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง