การบริการวิชาการสู่ชุมชน ว่าด้วยการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรม
วันที่เขียน 21/6/2559 10:46:40     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 19:14:17
เปิดอ่าน: 3903 ครั้ง

การบริการวิชาการสู่ชุมชนด้านการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรมนั้น ผู้จัดทำโครงการต้องมีบทบาทในการอนุรักษ์ซ่อมแซมและสร้างจิตสำนึก ด้วยการเข้ามาทำความรู้จักงานศิลปกรรมภายในชุมชนและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปกรรมที่มีในท้องถิ่น ดังโครงการที่ได้จัดทำขึ้นตามชุมชนต่างๆ เช่นการอนุรักษ์และทำทะเบียน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่พบภายในชุมชนนั้นๆ ซึ่งต้องอาศัยคนในชุมชนโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์งานศิลปกรรมดังกล่าว ทั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้อาวุโสภายในชุมชน เข้ามาร่วมวิภาคและแสดงความคิดเห็น รวมทั้งเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ของชุมชน เพื่อได้รับรู้และเข้าใจร่วมกัน อันเป็นการกระบวนการปลุกจิตสำนึกร่วมกับชุมชน นอกจากนี้งานบริการวิชาการยังได้สร้างกลุ่มผู้นำในการอนุรักษ์ศิลปกรรมในท้องถิ่น โดยส่งผลให้เกิดกระบวนการอนุรักษ์ต่อไปได้อย่างมีระบบ โดยอาศัยกลุ่มประธานชุมชน กลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มเยาวชน เข้ามามีบทบาทหน้าที่ในการแสดงความสามารถและแสดงความคิดเห็นในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมภายในชุมชน มีสิทธิ เสรีภาพในการจัดกิจกรรมต่างๆ โดยอาศัยแนวทางการปฏิบัติตามที่คณะวิจัยได้เสนอแนะ คือการทำงานร่วมกับชุมชน บทเรียนสำคัญจากการทำงานร่วมกับชุมชนนั้น คือการสร้างความรู้สึกร่วมให้ได้ โดยลำดับแรกของการทำงานนั้น ต้องทำให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมที่ตนมีให้ได้ โดยอธิบายทั้งในด้านรูปแบบทางศิลปกรรม สถานะภาพในปัจจุบันและการใช้งานในอดีต รวมไปถึงสร้างความรู้สึกรักและหวงแหนในงานศิลปกรรม ว่าชุมชนดังกล่าวเป็นหนึ่งในชุมชนที่มีเพียงไม่กี่แห่ง ที่มีภาพตุงค่าวธรรมชุดนั้น ซึ่งมีความสำคัญมากในทางวิชาการ ต่อจากนั้นจะเป็นกระบวนการสร้างความไว้วางใจระหว่างคนในชุมชน และทีมงานวิจัยว่าที่ผ่านมาได้เข้าไปทำงานในพื้นที่ใดแล้วบ้าง รวมไปถึงแสดงรูปแบบของการทำงานในชุมชนต่างๆ ที่ผ่านมา ให้คนในชุมชนรับรู้และเข้าใจถึงกระบวนการการทำงานทั้งหมด นอกจากนี้การมีพระสงฆ์เข้าเป็นหนึ่งในทีมงานวิจัย สามารถสร้างความเชื่อมั่นในวงการสงฆ์ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเมื่อพระสงฆ์ในชุมชนนั้นไว้วางใจแล้ว นั่นหมายถึงความไว้วางใจจากคนในชุมชนนั้นๆด้วย การสร้างสำนึกร่วม ถึงเป็นการกระตุ้นให้ตระหนักถึงคุณค่าและอยากเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรมตนเอง ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา ในการทำงานแต่ละครั้ง ทีมนักวิจัยจะให้เกียรติคนในชุมชนในการซ่อมแซมภาพตุงค่าวธรรมด้วยตัวเอง ทั้งนี้ทีมงานจะเป็นผู้แนะนำวิธีการในเบื้องต้น โดยเป็นกระบวนการที่ง่ายไม่สลับซับซ้อน ถือเป็นกระบวนการที่คนในชุมชนคุ้นเคย และสามารถร่วมกับคณะวิจัยในการทำงานได้อย่างมั่นใจ การสร้างสำนึกร่วมดังกล่าว เป็นกระบวนการสำคัญที่สามารถนำไปสู่การรักและหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรมตนเองให้กับคนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี กระบวนการสุดท้ายคือ การสร้างบทบาทหน้าที่ให้คนในชุมชน ถือเป็นกระบวนการที่ไม่ได้เน้นความรู้ทางวิชาการ แต่เน้นให้ทุกคนมีหน้าที่ปฏิบัติ ต่องานงานศิลปกรรมชิ้นนั้นๆ เช่นการจัดเก็บในที่ๆจัดเตรียมไว้ การให้ชาวบ้านช่วยกันถือ เพื่อบันทึกภาพร่วมกัน หรือแม้กระทั่งการขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลรักษางานศิลปกรรมชิ้นนั้นๆ ก่อนจะนำถวายคืนให้กลับวัด และจัดเก็บเป็นกระบวนการสุดท้าย จากประสบการณ์และแนวทางการบริการวิชาการสู่ชุมชนเบื่องต้นนี้ เป็นเพียงกระบวนการและวิธีการหนึ่งเท่านั้น ที่เป็นผลจากการเรียนรู้ร่วมกับคนในชุมชน ในการเข้าไปจัดการทั้งองค์ความรู้ จัดการมรดกทางวัฒนธรรม และการจัดการคนในชุมชน ซึ่งแต่ละชุมชนล้วนแล้วแต่มีบริบททางสังคมที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งองค์ความรู้หรือแนวทางดังกล่าวอาจจะสามารถนำไปปรับใช้ในกระบวนการบริการวิชาการสู่ชุมชนต่างๆได้ ต่อไป

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
การบริการวิชาการสู่ชุมชนด้านการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรม » ช่อฟ้าแบบลำปาง
รูปแบบช่อฟ้ากลุ่มลำปางอันเป็นอัตลักษณ์เชิงช่าง ก็ต้องกล่าวถึงช่อฟ้าเซรามิกประดับวิหารวัดพระธาตุเสด็จ ที่เป็นช่อฟ้าเซรามิกรูปทรงเป็นพญานาค ที่ระบุว่าสร้างในปี จ.ศ. 1008 หรือ พ.ศ. 2189 ปัจจุบันจัดแส...
ช่อฟ้าลำปาง     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 26/8/2564 13:42:04  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:51:02   เปิดอ่าน 1923  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การบริการวิชาการสู่ชุมชนด้านการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรม » วัดร้างแสนขานกับจิตรกรรมเขียนสีกลางกรุ อายุ 600 ปี ค้นพบใหม่อีกแห่งในล้านนา
เจดีย์วัดร้างแสนขาน ตั้งอยู่บนถนนมณีนพรัตน์ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ปรากฏชื่อวัดแสนขาน ในเอกสารตำนานพงศาวดาร แต่สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัดที่ปรากฏชื่อในพงศาวดารโยนกว่า “...พญา...
จิตรกรรมวัดร้างแสนขาน, จิตรกรรมล้านนา 600 ปี     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 5/9/2563 22:20:19  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:34:21   เปิดอ่าน 2634  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
บทความ » อาหารพื้นบ้านของชาวล้านนา
ภาคเหนือหรืออาณาจักรล้านนาในอดีต เป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตจวบจน ปัจจุบัน มีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้จากหลาย ๆ แหล่ง ทำให้ได้รับวัฒนธรรมหลากหลาย จากชนชาติ...
อาหารล้านนา     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ผู้เขียน กัณณิกา ข้ามสี่  วันที่เขียน 11/10/2562 10:31:57  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:35:07   เปิดอ่าน 5848  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง