การประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศด้วย JMETER
วันที่เขียน 14/12/2558 18:04:50     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 0:00:06
เปิดอ่าน: 9773 ครั้ง

ในการพัฒนาระบบ web applciation ขึ้นมานั้น ประสิทธิภาพของ web application จะเป็นสิ่งสำคัญซึ่งอาจจะไปเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบงานต่าง ๆ ที่อาจทำให้ระบบช้าไปทั้งระบบ หรือที่แย่ไปกว่านั้นทำให้ระบบล่มไปเลยและสาเหตุส่วนใหญ่ก็จะมาจาก web application ที่เราเป็นคนพัฒนาขึ้นมาด้วย ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าปัญหาน่าจะเกิดจาก server ช้า ระบบ database tuning ไม่ดี หรือระบบ network ออกแบบมาไม่ดี และในที่สุดแล้ว อาจจะสงสัยที่ web application ที่พัฒนาขึ้นมา

การประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศด้วย JMETER 

         ในการพัฒนาระบบ web applciation  ขึ้นมานั้น  ประสิทธิภาพของ web application จะเป็นสิ่งสำคัญซึ่งอาจจะไปเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบงานต่าง ๆ ที่อาจทำให้ระบบช้าไปทั้งระบบ หรือที่แย่ไปกว่านั้นทำให้ระบบล่มไปเลยและสาเหตุส่วนใหญ่ก็จะมาจาก web application ที่เราเป็นคนพัฒนาขึ้นมาด้วย   ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าปัญหาน่าจะเกิดจาก server ช้า  ระบบ database tuning ไม่ดี  หรือระบบ network ออกแบบมาไม่ดี และในที่สุดแล้ว อาจจะสงสัยที่ web application ที่พัฒนาขึ้นมา ดังนั้น ถ้าเราต้องการวัดประสิทธิภาพของระบบว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนนั้น เราสามารถใช้โปรแกรมในการทดสอบระบบต่าง ๆ  อาทิ เช่น 

                                                   

        software ที่จะช่วยในเรื่องการทดสอบประสิทธิภาพของ application ที่ดี ใช้งานง่าย ฟรี และเป็นopensource  มีชื่อว่า JMeter           Software ตัวนี้เป็นหนึ่งในหลาย ๆ project ของ Apache พัฒนาโดยใช้ภาษา java 100%  ซึ่งสามารถใช้งานได้กับทุกภาษาโปรแกรมที่ทำงานอยู่บน HTTP Server

                                                        
                         

 

สำหรับการใช้งานโปรแกรม JMeter นั้น มีขั้นตอน ดังนี้

  1. เตรียม web application ที่จะทำการทดสอบให้เรียบร้อย จากนั้น download JMeter เวอร์ชั่นล่าสุดได้ที่ JMeter website และเราต้องมี JDK ในเครื่องด้วยตั้งแต่ JDK 1.4 เป็นต้นไป
  2. แตกไฟล์ที่โหลดมาก่อน     จากนั้นเข้าไปที่ directory /bin แล้ว run JMeter สำหรับ windows ให้เรียกไฟล์ jmeter.bat   แต่ถ้าเป็น linux ให้เรียก jmeter.sh
  3. ทำการตั้งค่าทดสอบในโปรแกรม JMeter (ในที่นี้ ผู้เขียนได้ทำการทดสอบระบบฐานข้อมูลกล้วยไม้ไทย https://oc.mju.ac.th/)

                              

 

ทำการทดสอบ  โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ของโปรแกรม JMeter  ดังนี้ 

                            

 

ผลการทดสอบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยใช้โปรแกรม JMeter    ทดสอบค่าต่าง ๆ ได้ผลลัพธ์  ดังต่อไปนี้

                           

                         

             
                   จากกราฟแสดงให้เห็นว่า ค่าเฉลี่ยเวลาโดยรวม (Average) ที่ส่ง request ไปหา server = 59 ms  ค่าเวลากึ่งกลาง (Median) = 52 ms   การกระจายตัว (Deviation) = 35 ms และค่าประมวลผล request ต่อนาทีของ Server (Throughput) = 4,239.564 request ต่อนาที

                                                                    


              จากกราฟแสดงให้เห็นว่า ค่าเฉลี่ยเวลาโดยรวม (Average) ที่ส่ง request ไปหา server = 62 ms  ค่าเวลากึ่งกลาง (Median) = 50 ms   การกระจายตัว (Deviation) = 52 ms และค่าประมวลผล request ต่อนาทีของ Server (Throughput) = 4,172.172 request ต่อนาที

                          

                       

                    จากกราฟแสดงให้เห็นว่า ค่าเฉลี่ยเวลาโดยรวม (Average) ที่ส่ง request ไปหา server = 68 ms  ค่าเวลากึ่งกลาง (Median) = 52 ms   การกระจายตัว (Deviation) = 88 ms และค่าประมวลผล request ต่อนาทีของ Server (Throughput) = 3,815.78 request ต่อนาที

  • สรุป

              ในการวัดประสิทธิภาพของระบบนั้น เราสามารถพิจารณาที่ Throughput ของระบบ    ถ้าจำนวน request   สูงขึ้นมาเรื่อย ๆ ค่าของ Throughput ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน   เมื่อไรก็ตามที่จำนวน request และ จำนวนการประมวลผลของระบบการทดสอบเริ่มนิ่ง  นั่นแสดงว่า ค่าของ Throughput ของระบบนิ่งหรือเสถียรแล้วเช่นกัน   ซึ่งถ้าการเพิ่มจำนวน request มันทำให้ค่า Throughput ลดลงมา  แสดงว่ามีส่วนใดส่วนหนึ่งในระบบงานเกิดปัญหาคอขวดมาแล้ว  หรือนั่นคือ เกินขีดความสามารถของระบบในตอนนั้น เช่น  เข้าคิวเพื่อรอทำงานนานเกินไป เช่น  CPU, database และ network เป็นต้น  ส่งผลให้ response time สูงขึ้นมาก จนเกิด timeout    โดยจำเป็นต้องนำข้อมูลจากระบบ monitoring อื่น ๆ เข้ามาพิจารณาด้วย เช่น Monitoring server, access log เป็นต้น    เพื่อทำให้การวิเคราะห์ผล มีประสิทธิภาพและถูกต้องมากยิ่งขึ้น   ซึ่งค่าของ Throughput  นั้นเป็นแนวคิดหลักในการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ

อ้างอิง 

  1. วัดประสิทธิภาพของ Web Application ด้วย JMeter  สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2558, จาก http://oracle-java.blogspot.com/2007/08/web-application-jmeter.html
  2. พื้นฐานเกี่ยวกับ Performance testing  สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2558, จากhttp://www.somkiat.cc/performance-testing-about-throughput/
  3. JMeter :: ทดสอบประสิทธิภาพของ Web application  สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2558, จาก http://www.narisa.com/forums/index.php?app=blog&blogid=9&showentry=2873
  4. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลกล้วยไม้ไทย, นายสมชาย อารยพิทยา และคณะ,  รายงานผลการวิจัย, 2558
  5. ระบบฐานข้อมูลกล้วยไม้ไทย  สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2558, จาก https://oc.mju.ac.th/ 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ » UX/UI Design ต่างกันอย่างไร
การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล มีความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design: UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (...
UI Design  UX Design  UX UI  UX/UI  การออกแบบเว็บ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ช่อทิพย์ สิทธิ  วันที่เขียน 6/9/2567 14:14:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:01:52   เปิดอ่าน 101  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาโปรแกรม » การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร
การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการนำระบบจัดเก็บและทำลายเอกสารมาช่วยปรับปรุงประสิทธิผล ในกระบวนการทำ...
Re-Design Process?  ระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/9/2567 11:45:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:53:41   เปิดอ่าน 250  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » ข้อมูลเปิด (Open Data) เบื้องต้น
ข้อมูลเปิด (Open Data) คือ ข้อมูลที่สามารถเข้าถึง ใช้งาน แก้ไข และแบ่งปันได้โดยไม่จำกัดข้อกำหนดหรือค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดมักถูกเผยแพร่ในรูปแบบที่สามารถอ่านและวิเคราะห์ได้ง่าย เช่น ไฟล์ CSV, JSON, หร...
การเข้าถึง  การใช้งาน  การแบ่งปัน  การเปิดเผย  ข้อมูลเปิด     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 2/9/2567 9:45:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:01:22   เปิดอ่าน 98  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง