โปรแกรมลิขสิทธิ์ Microsoft Imagine X
วันที่เขียน 21/11/2558 10:53:16     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 8:33:12
เปิดอ่าน: 18815 ครั้ง

เชื่อได้ว่ามีนักศึกษาและบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์อยู่ไม่ถึง 50% ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows อย่างถูกลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา ที่ยังอยู่ในวัยเรียนที่ราคาของระบบปฏิบัติการ Windows ที่สูงอยู่ทำให้หลายๆคนเลือกที่จะใช้ Windows เถื่อนที่หาซื้อได้ในราคาสองถึงสามร้อยหรือดาวน์โหลดได้ฟรีๆในอินเตอร์เน็ต ซึ่งจริงๆแล้ว Microsoft เป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก ซึ่งเห็นได้จากโครงการ Microsoft Imagine X ที่แจกโปรแกรมให้นิสิต/นักศึกษาได้ใช้โปรแกรมกันฟรีๆ ซึ่งหลายๆคนยังไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิ์ตรงนี้อยู่

Microsoft Imagine X คืออะไร ?

 

เชื่อได้ว่ามีนักศึกษาและบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์อยู่ไม่ถึง 50% ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows อย่างถูกลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา ที่ยังอยู่ในวัยเรียนที่ราคาของระบบปฏิบัติการ Windows ที่สูงอยู่ทำให้หลายๆคนเลือกที่จะใช้ Windows เถื่อนที่หาซื้อได้ในราคาสองถึงสามร้อยหรือดาวน์โหลดได้ฟรีๆในอินเตอร์เน็ต ซึ่งจริงๆแล้ว Microsoft เป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก ซึ่งเห็นได้จากโครงการ Microsoft Imagine X ที่แจกโปรแกรมให้นิสิต/นักศึกษาได้ใช้โปรแกรมกันฟรีๆ ซึ่งหลายๆคนยังไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิ์ตรงนี้อยู่

    Microsoft Imagine X หรือ Microsoft Dreamspark Premium (หรือชื่อเก่า MSDN Academic Alliance – MSDNAA) เป็นโครงการ “แจกซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์ฟรี” สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยในภาควิชา STEM (S = Science, T=Technology, E=Engineering, M=Mathematics) เพื่อใช้ในการเรียนการสอน

     สำหรับซอฟท์แวร์ที่มีให้ดาวน์โหลดในโครงการนั้นมีทั้งสิ้น 159 รายการ ซึ่งรวมถึงโปรแกรมยอดนิยมอย่าง Windoes 8.1, Windows 7 ,Visual Studio 2015 , Microsoft SQL Server 2016, Microsoft Access 2016 และ Microsoft Visio 2016 เป็นต้น ซึ่งล่าสุดมี "ระบบปฏิบัติการ Windows 10" แจกแล้วด้วย

     ซึ่งทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เข้าร่วมโครงการนี้แล้วในระดับ Microsoft Imagine X นักศึกษาท่านใดสนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  หรือ ขอสมัครใช้งานดังนี้

  1. ส่งรายละเอียด Account E-mail "@mju.ac.th" ของนักศึกษา  เช่น mju5xxxxxxxx@mju.ac.th ส่ง E-mail มาที่ mjunoc@mju.ac.th
  2. ตรวจสอบ E-mail มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
    รหัสนักศึกษา  57 ขึ้นไป  เข้าใช้งานได้ที่  https://mail.mju.ac.th/owa   username : mju+รหัสนักศึกษา  password : รหัสผ่านการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สาย
    รหัสนักศึกษา 58-59  เข้าใช้งานได้ที่ https://portal.office.com/Home  username : mju+รหัสนักศึกษา@mju.ac.th  password : รหัสผ่านการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สาย
  3. ตอบรับการเข้าร่วม Microsoft Imagine X ทาง E-mail และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านการใช้งานระบบ
  4. เข้าใช้งานระบบ เลือก Download โปรแกรมการใช้งานที่ต้องการ

 

สามารถเข้าใช้งาน Microsoft Imagine X ได้ที่นี่ https://mju.onthehub.com

สิทธิการใช้งานซอฟต์แวร์

คือ “สิทธิในการใช้งานซอฟต์แวร์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ยินยอมให้ผู้ใช้ปลายทางใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ตามรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุในใบอนุญาตใช้งานสำหรับผู้ใช้ปลายทาง (End User License Agreement: EULA) นั้นๆ โดยผู้ใช้จะต้องได้รับสิทธิ, ปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้งาน และมีเอกสารที่แสดงสิทธิสำหรับซอฟต์แวร์แต่ละชุดอย่างถูกต้อง”

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
(การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง)

1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 132 ตอนที่ 6 ก เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา
2. มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป
3. สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ มีดังนี้

(1) คุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์และคุ้มครองสิทธิในข้อมูลที่เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ใช้บริหารจัดการสิทธิของตนไม่ให้คนอื่นมาลบหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ชอบ เช่น การลบข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ชื่อผู้สร้างสรรค์ ชื่อนักแสดง เป็นต้น โดยหากบุคคลใด ลบ หรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลดังกล่าว ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ

(2) คุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ปกป้องงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเพื่อป้องกันการทำซ้ำหรือการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น พาสเวิร์ด (password) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ในการควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยหากบุคคลใดทำลายมาตรการทางเทคโนโลยีดังกล่าว โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ยินยอมถือว่ามีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี

(3) กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว (Exception for Temporary Reproduction) เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าการทำซ้ำชั่วคราวโดยความจำเป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียกดูงานอันมีลิขสิทธิ์ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากการดูภาพยนตร์ หรือฟังเพลงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการทำซ้ำงานเพลงหรือภาพยนตร์ดังกล่าวไว้ในหน่วยความจำ (RAM) ทุกครั้ง ด้วยความจำเป็นทางเทคนิคดังกล่าวทำให้ทุกครั้งที่มีการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้งานจะต้องทำซ้ำงานด้วยเสมอ การทำซ้ำลักษณะนี้เป็นการทำซ้ำชั่วคราว ที่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

(4) เพิ่มเติมเรื่องการกำหนดข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Liability Limitation of ISP) เพื่อให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น เจ้าของเว็บไซต์ Youtube ไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเอาไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องแสดงหลักฐานต่างๆ ต่อศาลอย่างเพียงพอ และเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เอาไฟล์ละเมิดออกจากเว็บไซต์แล้ว และเจ้าของเว็บไซต์ดำเนินการตามคำสั่งศาล เจ้าของเว็บไซต์ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว

(5) เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีการจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนำหลักการระงับไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Exhaustion of Rights) มากำหนดให้ชัดเจนว่าการขายงานอันมีลิขสิทธิ์มือสองสามารถทำได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การขายภาพเขียน หนังสือ ซีดีเพลง ซีดีภาพยนตร์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากเป็นการขายซีดีภาพยนตร์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดีทัศน์ด้วย มิฉะนั้น แม้ไม่ผิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ แต่อาจมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ได้

(6) เพิ่มเติมเรื่องสิทธิทางศีลธรรมของนักแสดง (Moral Right) เพื่อเพิ่มสิทธิให้นักแสดง มีสิทธิทางศีลธรรมเท่าเทียมกับสิทธิทางศีลธรรมของผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนักแสดงมีสิทธิระบุชื่อตนในการแสดงที่ตนได้แสดง และห้ามไม่ให้บุคคลใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ

(7) เพิ่มบทบัญญัติเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive damages) โดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่ามีการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนาให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสามารถเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย

(8) กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือทำลายสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำละเมิด และสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=442
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง » Assignment in Microsoft Teams
การมอบหมายงาน (Assignment ) สำหรับนักศึกษาในห้องเรียน ระบบ Microsoft Teams สร้างความสะดวกในการมอบหมายงานให้กับนักศึกษา การส่งงาน และสามารถให้คะแนนนักศึกษาแต่ละคนในห้องเรียน สำหรับผู้ที่อยู่ในสถาบัน...
Assignment  Microsoft Teams  การมอบหมายงาน  การให้คะแนน     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 26/3/2567 18:01:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 5:37:52   เปิดอ่าน 121  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา » Google Sites สร้างเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย
Google Sites คือโปรแกรมหนึ่งของ บริษััท Google ที่เปิดให้ สมาชิกของ Google สามารถ สร้างเว็บไซต์ของตนเองได้ฟรี โดยการสร้างเว็บไซต์ ด้วย Google Sites นั้น ทำได้ง่าย เหมือนกับการแก้ไข เอกสารธรรมดา ๆ ช...
Google Sites  เว็บไซต์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 11/3/2567 17:19:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 6:35:23   เปิดอ่าน 223  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา CLOs ผ่าน มคอ.3
หัวข้อนี้เน้น การออกแบบหลักสูตรให้ตอบสนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร สะท้อนถึงความต้องการ ของผู้ที่เกี่ยวข้องครบทุกภาคส่วน และผลการเรียนรู้นั้นต้องครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะเฉพาะทางและทักษ...
CLO  ELO  PLO     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 18/11/2566 23:45:59  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 13:06:43   เปิดอ่าน 346  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » แอปพลิเคชันสำหรับช่วยในการจัดเรียนการสอน
การเรียนผ่านเครื่องมือช่วยสอนโดยใช้แอปพลิเคชันมีบทบาทในการส่งเสริมและช่วยเหลืออาจารย์และนักศึกษาเป็นอย่างมาก บทความนี้ได้รวบรวม 8 เครื่องมือช่วยสอนสำหรับอาจารย์ในการช่วยจัดการเรียนการสอนให้เกิดความ...
Canva  Kahoot  Nearpod  Plicker  Quizizz  Storyboard  Visme  Voxer     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 18/11/2566 23:01:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 20:41:38   เปิดอ่าน 244  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง