การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มนักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชา สต 312 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ
วันที่เขียน 28/4/2558 9:30:16     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:28:37
เปิดอ่าน: 3508 ครั้ง

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างสมการจำแนกกลุ่มนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา สต 312 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ และเพื่อศึกษาตัวแปรที่สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่มนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา สต 312 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา สต 312 ในภาคเรียนที่ 1/2557 จำนวน 273 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 41 ข้อ โดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟามีค่าเท่ากับ .9599 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพรรณนา สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มโดยวิธีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เรียนคณะผลิตกรรมการเกษตร ชั้นปีที่ 2 เกรดเฉลี่ยสะสมเท่ากับ 2.64 และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มพบว่า ระดับการปฏิบัติของทั้ง 2 กลุ่ม แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 (p<.05) ในด้านความตั้งใจเรียน (X1) ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X3) ด้านความมีวินัยในตนเอง (X4) และด้านเจตคติของผู้เรียน (X5) ส่วนด้านการแสวงหาความรู้ (X2) ไม่แตกต่างกัน (P>.05) สมการจำแนกกลุ่มนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ ซึ่งสามารถจำแนกความถูกต้องได้ร้อยละ 73.6 โดยมีสมการดังนี้ D = -5.378 + 2.110X1 + -.833X2

รายละเอียดเพิ่มเติมตามลิงก์ข้างล่าง

http://www.e-manage.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTI2OTgx

ความคิดเห็นทั้งหมด (3)
อาทิตย์ แก้วถาวร     วันที่เขียน : 14/5/2558 0:00:00

Like

อาทิตย์ แก้วถาวร     วันที่เขียน : 14/5/2558 0:00:00

ชอบครับ

อาทิตย์ แก้วถาวร     วันที่เขียน : 14/5/2558 0:00:00

ชอบครับ

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
การอบรมและสัมมนา » link smart home cabling system technology for the future
เนื้อหาการอบรม link smart home cabling system technology for the future จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของเครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topology) องค์ประกอบพื้น...
เครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ  ช่องทางการติดต่อสื่อสารในระบบโทรคมนาคม  ประเภทของสายสัญญาณและ connector  รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เส้นใยนำแสง  องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน ภานุวัฒน์ เมฆะ  วันที่เขียน 10/7/2567 9:56:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:56:15   เปิดอ่าน 267  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:50:09   เปิดอ่าน 618  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง