GLPI เครื่องมือบริหารจัดการทางสารสนเทศ
การบริหารจัดการการบริการระบบสารสนเทศขององค์กรให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยความเป็นมืออาชีพ นั้น เราสามารถนำเครื่องมือการบริหารจัดการการบริการต่าง ๆ เช่น โปรแกรม GLPI (http://www.glpi-project.org/spip.php) , iTOP (http://www.combodo.com/-Overview-.html) เป็นต้น มาช่วยในการจัดกระบวนจัดการการงานบริการด้าน IT ขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้
GLPI เป็น Free Open Source และโปรแกรมสำเร็จรูปในรูปแบบ Web base ซึ่งเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่จะช่วยบริหารระบบและการจัดการข้อมูลทางด้านสารสนเทศ ของหน่วยงานที่มีการใช้ระบบ IT นั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บประวัติ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ การจัดเก็บประวัติการซ่อม สามารถใช้งานได้ในรูปแบบของ Web Base การใช้งานง่ายเป็นมิตรกับ User นอกเหนือจากนี้ยังเพิ่มความสามารถในการแจ้งเตือนผ่านทางระบบ Email ได้อีกด้วย
- ฟังก์ชันหลักของโปรแกรม มีดังนี้
- การเก็บข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูล
- การแจ้งซ่อมต่างๆ User สามารถเข้ามาสร้างและจัดการได้เอง สามารถป้อนข้อมูลการแจ้งซ่อมผ่านทางหน้า Web ได้ทันที พร้อมทั้งมี option สำหรับในการส่ง Email หลังจากที่เปิด job การแจ้งซ่อมได้อีกด้วย
- สามารถพิมพ์เอกสารออกมาและสรุปเป็น Report ต่างๆได้
- การติดตั้ง GLPI
GPLI เป็น Web Application ที่ทำงานบน Web Server โดยเราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ของเราทำเป็น Web Server โดยการใช้โปรแกรมจำลอง Web Server ซึ่งสามารถ Download และนำมาติดตั้งได้
วิธีการติดตั้งโปรแกรม GLPI มีดังนี้
- ติดตั้งโปรแกรมจำลอง web server ใช้งานได้หมด ทั้ง IIS, Appserv, xampp
- ดาวโหลดไฟล์ GPLI >> GLPI Version 0.84.8 (เป็นไฟล์ zip)
- แตกไฟล์ ลงใน Folder ของ Web Server ของเรา ถ้าใช้ Appserv จะอยู่ใน folder ที่ชื่อว่า www
- เปิด Web Browser ขึ้นมาและพิมพ์ http://127.0.0.1/gpli <<(gpli คือชื่อโฟเดอร์ อาจจะประยุกต์เปลี่ยนไปเป็นชื่ออื่น ๆ ที่สอดคล้อง เช่น Support , helpdesk, inventory เป็นต้น
- การใช้งาน GLPI
- เริ่มต้นใช้งานโดยใส่ชื่อเข้าสู่ระบบ glpi และรหัสผ่าน glpi (สามารถเปลี่ยนแปลงในภายหลังได้)
- กดปุ่มตกลงเพื่อเข้าใช้ระบบงาน
รูปที่ 1 แสดง การ Login เข้าใช้งานโปรแกรม GLPI
รูปที่ 2 แสดง การบันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
รูปที่ 3 แสดง การจัดการความช่วยเหลือในการบริการทางระบบสารสนเทศ
- สรุปการนำเครื่องมือบริหารจัดการทางสารสนเทศมาช่วยในการบริหารงานตามวิธีการปฏิบัติที่ดีทางกระบวนการ ITIL
เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การดำเนินงานตามกระบวนการทาง ITIL เป็นไปอย่างมีระบบ มีขั้นตอน สามารถตรวจสอบผลการดำเนินงานผ่านทางระบบออนไลน์ ซึ่งกระบวนการทาง ITIL นี้จัดว่าเป็นการรวบรวมเอาความรู้ที่มีอยู่แล้วในการบริหารจัดการศูนย์ฯ ที่ได้ถูกนำไปใช้แล้วในวงการอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ IT ในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ITIL จึงถูกเรียกว่าเป็น Best Practice ของการบริหารจัดการ IT ในเวลาต่อมาได้มีการกล่าวถึง ITIL ในแง่ที่เป็น IT Service Management Framework กันอย่างแพร่หลาย และได้กลายเป็น de facto standard ไปในปัจจุบัน ประโยชน์จากการนำความรู้ ITIL มาใช้นั้น คือประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่สามารถปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งได้แก่
- การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้คุ้มค่ามากขึ้น
- สร้างเสริมความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งในตลาด
- ช่วยลดงานซ้ำซ้อนหรืองานที่ไม่จำเป็นลงได้
- ช่วยทำให้งานแต่ละโปรเจคท์ดำเนินไปได้ตามที่วางแผนไว้
- ปรับปรุงความสามารถในการให้บริการ IT แก่ลูกค้าให้ดีขึ้น
- สามารถหาต้นทุนของการให้บริการที่มีคุณภาพตามที่กำหนดได้
(เทพฤทธิ์ ฤทธิ์ทองพิทักษณ์, 2551)
อ้างอิง
- โปรแกรมจัดการระบบงาน IT สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2557, จาก http://bullfrogtail.blogspot.com/2011/03/glpi-it-and-asset-management-software.html
- GLPI เครื่องมือบริหารจัดการทางสารสนเทศ สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2557, จากhttp://glpithailand.blogspot.com/2014/03/glpi.html
- GLPI (Gestion Libre De Parc Informatioque) สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2557, จาก http://www.glpi-project.org/spip.php
- iTOP สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2557, จาก http://www.combodo.com/-Overview-.html
- ประวัติความเป็นมาของ ITIL (IT Infrastructure Library) สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2557, จาก http://www.bejame.com/article/2000
- IT Infrastructure Library (ITIL) สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2557, จากhttp://www.tmi.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=282&catid=27:it-infrastructure&Itemid=49
- ภาพรวมของ ITIL 2011 สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2557, จาก http://www.bejame.com/article/2040
- ศิริสุดา สุภาวรรณ. (2555). การนำมาตรฐาน ITIL มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา บริษัท ดีคอมพ์กรุ๊ป จำกัด. สารนิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, กรุงเทพฯ.