นโยบายการพัฒนาสายงานวิชาชีพICT ไทย
(คุณเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น เพื่อการจัดทำสายงานวิชาชีพด้าน ICT ให้แก่กลุ่มคนที่มีอาชีพ/ตำแหน่งงานของบุคลากรด้าน ICT โดยมีผู้แทนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ที่นำระบบ ICT มาใช้เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนามาเข้าร่วมประชุม ในวันที่ 22 ม.ค. 2556 ณ.โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ เชียงใหม่ นั้น ผู้เขียนขอสรุปผลการเข้าร่วมประชุมมานำเสนอให้ท่านผู้อ่านที่สนใจ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย ดังนี้
ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ) ได้ดำเนินงานจัดทำแผนผลักดันเพื่อมุ่งเป้าสู่การเป็น Smart Thailand (2009 - 2013) ตามแผนแม่บท ICT ประเทศไทย ฉบับที่ 2 ซึ่งภายใต้ Smart Thailand มีองค์ประกอบต่าง ๆ (รูปภาพ ที่ 1)
ภาพที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนา /ที่มาจากเว็บไซต์ www.dmf.go.th/km/resource/files/resource-26.ppt , เข้าถึงเมื่อ 25 ม.ค. 2556
จากภาพที่1 :หัวข้อที่ 1 กล่าวถึงการพัฒนากำลังคน(Human Resources) จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 ICT Professionals หมายถึง คนที่มีอาชีพหรือวิชาชีพที่ทำงานเกี่ยวข้องในสาขาICT / จากการสำรวจในตลาดแรงงาน
เมื่อปี พ.ศ. 2552 จำนวน 3แสนคน ตั้งเป้าไว้ 30 % ต้องมีมาตรฐาน (Standard) (ซึ่งได้มีการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างกระทรวง
ICT, สภาอุตสาหกรรม และสภาหอการค้า ว่า อาชีพใดใน ICT จำเป็นต้องมีใบ Certificate , มีการรับรองคุณวุฒิ และการกำหนดมาตรฐาน เพื่อรองรับการแข่งขันในอุตสาหกรรมและการก้าวเข้าสู่อาเซียน ซึ่งเหลือปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 อีก 1 ปี ได้มีการตั้ง ASEAN ICT MASTER PLAN ไว้ในปี 2015 จะก้าวเข้าสู่ ICT HUB (ภาพที่ 2) โดยมีรัฐมนตรี10 ประเทศลงนามร่วมกัน
1.2 “Information-Literate” People หมายถึง คนที่ตระหนักรู้ว่าจะใช้สารสนเทศอะไร ในโลกไซเบอร์ (ตามความจำกัดความของยูเนสโก) ซึ่งในกลุ่มนี้มีการตั้งเป้าไว้50 % ในจำนวนประชากรของประเทศ 65 ล้านคน
ภาพที่ 2 ASEAN ICT MASTER PLAN /ที่มาจากเว็บไซต์ http://www.itgthailand.com/wp-content/uploads/2011/10/ASEAN-ICT-Masterplan-20151.jpg , เข้าถึงเมื่อ 25 ม.ค. 2556
จากภาพที่2 : ทางกระทรวงICT จะมุ่งเป้าสู่ Global ICT Hub โดยมีนโยบายในเรื่องการพัฒนาคนในประเด็น ที่ 5 : Human
Capital Development ในกลุ่มอาเซียน ซึ่งมี 2 ประเด็นย่อย คือ
1. Skillful ICT Workforce คือ กลุ่ม ICT Professional
2. Knowledgeable Community คือ ประชาชนทั่วๆ ไปที่มีความรู้ตามเงื่อนไขที่ตระหนักรู้ว่าจะใช้สารสนเทศอะไร ในโลกไซเบอร์
(ยูเนสโก กำหนดคำจำกัดความกว้าง ๆ ไว้ คือ จำนวนบุคลากร 100 % ต้องตระหนักรู้และค้นคว้าหาความรู้ได้ว่าจะใช้สารสนเทศอะไรในอินเทอร์เน็ต และสามารถนำความรู้มาใช้ประโยชน์ได้ชีวิตประจำวันได้) ทางสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำการสำรวจได้ประมาณ 12 % (ปี 2010) : สิ้นแผน 2013 นี้ สำนักงานสถิติจะมีการประเมินคนไทยอีกครั้ง คาดว่าต้องได้ประมาณ 50 % ครึ่งหนึ่งของประเทศ สาเหตุเนื่องมาจากการที่เด็กและเยาวชนอายุในการเข้าสู่โลกไซเบอร์จะลดลงเรื่อย ๆ (ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งที่จะให้บุคคลที่อยู่รอบๆ เช่นพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ได้ตะหนักรู้ว่าสามารถที่จะทำอะไรได้มากแค่ไหนเพื่อป้องกันภัยร้ายที่จะก้าวมาถึงในบ้านได้ตลอดเวลา)
ในแผนนี้ เป็นปีแรกที่อาเซียนจะเริ่ม registry expert บุคลากร ICT โดยจะเริ่มขึ้นทะเบียนบุคลากรที่เป็นผู้ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานในการเข้าสู่อุตสาหกรรมตลาดแรงงาน ที่จะมีการรับการจ้างงานจากทั่วโลกผ่านทางPortal กลาง ที่เป็น Asean ICT Hub ดังนั้นการแข่งขันจะสูงจึงมีความจำเป็นที่จะต้องก้าวเข้าไปสู่มาตรฐาน และในตอนนี้แต่ละมหาวิทยาลัยได้ bundle เข้าไปในหลักสูตรที่จะให้นักศึกษามีคุณภาพในระดับวัดได้ค่าแรงขึ้น มีคุณภาพสูง
วัตถุประสงค์ของการทำเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในอาเซียน ในเรื่องของการจ้างงานของบุคลากร จะต้องมีลักษณะของ Professional , ต้องมีมาตรฐานรับรองในแต่ละประเทศ , การทำงานในแต่ละประเทศค่าแรงต้องเท่ากัน ซึ่งอันนี้คือกรอบที่ตกลงในสาขาอื่น (สาขา ICT ไม่ได้เป็นสาขาบังคับที่จะเปิดในปี 2015 แต่ทางกระทรวงฯได้เตรียมการที่จะเข้าสู่กลไกการเคลื่อนย้ายแรงงานภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศแล้ว เพราะเชื่อว่ากลไกตลาดจะมีการจ้างงานจากบุคลากรสาขาIT แน่ ดังนั้นจะมีการดูที่ราคาในการจ้างงานแรงที่มีคุณภาพ)
แหล่งอ้างอิง
1.การประชุมรับฟังความคิดเห็นการจัดทำสายงานวิชาชีพด้านICT , เมธินี เทพมณี , 22 ม.ค. 2556