ระบบบริหารสถาบันการศึกษาครบวงจร
วันที่เขียน 26/7/2555 15:10:59     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 19:01:18
เปิดอ่าน: 6314 ครั้ง

แนวทางการพัฒนาระบบสถาบันการศึกษาครบวงจร

ระบบบริหารสถาบันการศึกษาครบวงจร

          เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับบริษัท VisionNet ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดการจัดทำระบบบริหารสถาบันการศึกษาครบวงจร ทั้งด้านการบริการการศึกษา  ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดเก็บเอกสารสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนระบบให้บริการอื่นๆ  ทำให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งจากกองกลาง กองคลัง สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เห็นมุมมองของการพัฒนาระบบที่สามารถยืดหยุ่นและทำงานได้จริงภายใต้กรอบนโยบาย และกฎระเบียบของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง ด้วยวิธีการพัฒนาระบบในลักษณะ Turn Key Solution คือการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบงานแบบเบ็ดเสร็จ ครอบคลุมซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ และให้บริการแบบครบวงจร แม้กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนโยบายของสถาบันการศึกษา และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับความจำเป็นด้านสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร อย่างมีระบบ ง่ายแก่การตรวจสอบ สั่งการ และประเมินผล ภายใต้กระบวนการบริหารจัดการด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 29110

          ซึ่งในรายละเอียดการพัฒนาระบบเพื่อการบริหารจัดการ ซึ่งครอบคลุมในฐานข้อมูล 5 ด้าน คืองบประมาณ พัสดุ บัญชี การเงิน บุคลากรและเงินเดือน ให้มีการเชื่อมโยงการใช้เงินจากระบบอื่นๆ เพื่อการตรวจสอบสิทธิ์และวงเงินในการตัดยอดงบประมาณ สะท้อนถึงการเชื่อมโยงข้อมูลรวมศูนย์กลาง รองรับการทำงานหลายวิทยาเขต จะทำให้สะดวกในการบริหาร ง่ายต่อการสืบค้น เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน ติดตามและตรวจสอบข้อมูลการดำเนินงานได้ รองรับการส่งข้อมูลบุคลากร นักศึกษาให้ สกอ. / กยศ มีการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล และเก็บประวัติการเข้าใช้งานของผู้ใช้ระบบ

          และที่น่าสนใจคือการพัฒนานวัตกรรมใหม่ของระบบบริการการศึกษา ที่สามารถทำงานร่วมกับระบบอีเมล ภายใต้การให้บริการของ Live@edu เช่นการแจ้งยืนยันผลการทำธุรกรรม การส่งข่าวสารถึงนักศึกษา การลงทะเบียนออนไลน์ การตรวจสอบตารางเรียนตารางสอบ การตรวจสอบและแจ้งผลการศึกษา การตรวจสอบการสำเร็จการศึกษา ผ่านอีเมลของมหาวิทยาลัยได้

 

สิ่งที่ทีมผู้พัฒนาระบบของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ต้องนำมาพัฒนาต่อยอด

  1. กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตามมาตรฐานสากล เช่น ISO/IEC 29110
  2. ต่อยอดการพัฒนาระบบเพื่อการบริการการศึกษาร่วมกับระบบอีเมลของมหาวิทยาลัย

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=161
ความคิดเห็นทั้งหมด (1)
นเรศ บุญเพิ่มพูน     วันที่เขียน : 30/7/2555 0:00:00

น่าสนใจมากและเป็นสิ่งใหม่และท้าทายสำหรับผู้พัฒนา แต่ที่สำคัญคือการวางระบบการบันทึกและที่มาของข้อมูลที่จะต้องมีความถูกต้องที่สุดเนื่องจากในการเชื่อมโยงเข้ากับระบบการเงินและด้านอื่นๆอีก 4 ด้านนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางระบบการเชื่อมข้อมูลที่มีความเสถียรภาพสูงสุดควบคู่กับ Security ที่แข้มแข็ง แต่อย่างไรก้อตามหากบุคลากรให้ความสำคัญและมีความเข้าใจและทำหน้าที่อย่างมุ่งมั่นในการร่วมกันพัฒนาร่วมกันใช้และควบคู่กับการตรวจสอบข้อมูลอย่างจริงจัง จะเป้นแรงผลักดันที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้เกิดระบบที่มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ » UX/UI Design ต่างกันอย่างไร
การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล มีความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design: UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (...
UI Design  UX Design  UX UI  UX/UI  การออกแบบเว็บ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ช่อทิพย์ สิทธิ  วันที่เขียน 6/9/2567 14:14:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:01:52   เปิดอ่าน 101  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาโปรแกรม » การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร
การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการนำระบบจัดเก็บและทำลายเอกสารมาช่วยปรับปรุงประสิทธิผล ในกระบวนการทำ...
Re-Design Process?  ระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/9/2567 11:45:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:53:41   เปิดอ่าน 250  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » ข้อมูลเปิด (Open Data) เบื้องต้น
ข้อมูลเปิด (Open Data) คือ ข้อมูลที่สามารถเข้าถึง ใช้งาน แก้ไข และแบ่งปันได้โดยไม่จำกัดข้อกำหนดหรือค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดมักถูกเผยแพร่ในรูปแบบที่สามารถอ่านและวิเคราะห์ได้ง่าย เช่น ไฟล์ CSV, JSON, หร...
การเข้าถึง  การใช้งาน  การแบ่งปัน  การเปิดเผย  ข้อมูลเปิด     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 2/9/2567 9:45:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:01:22   เปิดอ่าน 98  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง