รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ ประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4
วันที่เขียน 16/4/2566 14:57:15     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:50:14
เปิดอ่าน: 368 ครั้ง

ตามบันทึกข้อความทาง http://erp.mju.ac.th ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566 ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้าเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 ณ คณะวิทยาศาสตร์ ไปแล้วนั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ ฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้ 1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ การประชุมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสำหรับนักวิจัยทั้งระดับชาติได้เผยแพร่งานวิจัยและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อจะนำไปสู่วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแนวหน้าสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ต่อไป ได้รับเกรียติจากรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 พร้อมทั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวรายงานความเป็นมาของงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ ณ ห้องเอกภพวิทยา อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งการประชุมวิชาการในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ คณะผลิตกรรมการเกษตร และคณะเทคโนโลยีการประมง และทรัพยากรทางน้ำ โดยมีการบรรยายพิเศษเรื่อง “การพัฒนางานวิจัย เพื่อสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์” โดยรองศาสตราจารย์ ดร. พานิช อินต๊ะ คณะวิทยาลัยเทคโนโลยี และสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และมีการบรรยายพิเศษเรื่อง “การพัฒนาวัสดุแอโนดแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน เพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมกักเก็บพลังงาน” โดยรองศาสตราจารย์ ดร. ฐปนีย์ สารครศรี ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตลอดทั้งได้มีการนำเสนอผลงานตามกลุ่มสาขาวิชา ดังต่อไปนี้ 1. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และสิ่งแวดล้อม 2. เคมีและนวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม 3. คณิตศาสตร์และสถิติ 4. วัสดุศาสตร์ และฟิสิกส์ประยุกต์ 5. วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ 7. เกษตรศาสตร์ พืชศาสตร์ และการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน 2. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ 1. ได้ทราบถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้จากการศึกษาและวิจัยของคณาจารย์ และนักศึกษา 2. ได้พบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ ในการศึกษาและวิจัยของคณาจารย์ และนักศึกษา 3. ได้เห็นความก้าวหน้าทางวิชาการในแขนงต่าง ๆ 3. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ) 1. ได้เห็นความก้าวหน้าทางวิชาการของคณาจารย์และนักศึกษา 2. ได้มีความร่วมมือทางวิชาการร่วมกันกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ พร้อมนี้ได้แนบหลักฐานการเข้าร่วมประชุม ฯ จากการเข้าประชุม/อบรมฯลฯ มาพร้อมนี้แล้ว จำนวน 1 แผ่น/ชุด จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ( รองศาสตราจารย์พัฒนพงศ์ เทียนชัย ) 16 เมษายน 2566

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1342
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
การอบรมและสัมมนา » link smart home cabling system technology for the future
เนื้อหาการอบรม link smart home cabling system technology for the future จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของเครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topology) องค์ประกอบพื้น...
เครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ  ช่องทางการติดต่อสื่อสารในระบบโทรคมนาคม  ประเภทของสายสัญญาณและ connector  รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เส้นใยนำแสง  องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน ภานุวัฒน์ เมฆะ  วันที่เขียน 10/7/2567 9:56:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:56:15   เปิดอ่าน 267  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:50:09   เปิดอ่าน 618  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง