การเรียนแบบมีความสุข vs คุณภาพการศึกษา
วันที่เขียน 13/1/2554 9:07:58     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:53:54
เปิดอ่าน: 5693 ครั้ง

จำนวน F = คุณภาพการศึกษา???

จากวันที่ประชุมเกรด...และรู้ว่าวิชา Botany มีนักศึกษาติด F ...26 คน (ติด W อีกสิบกว่าคน) เลยอยากเล่าว่าในห้องเรียนนักศึกษามีพฤติกรรมเป็นอย่างไรบ้าง

     วันแรกทีเจอ นศ. เราออกแบบกระบวนการทำ body scan โดยใช้ระยะเวลาสั้น ๆ จากนั้นให้นศ. มีเวลาไคร่ครวญเพื่อหาเป้าหมายในการเข้ามาเรียนที่แม่โจ้ และปิดท้ายคือความคาดหวังในการเรียนวิชา...Botany….

นศ. ส่วนใหญ่สะท้อนออกมาในเชิงบวกกับการเข้ามาเรียนที่แม่โจ้ แต่มีทัศนคติเชิงลบกับวิชา Botany ….เป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับการเข้ามาร่วมสอนกับเจ้าของวิชาที่สอนอยู่เดิม

     เรา (คนเดียว)เริ่มออกแบบการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม โดยแรกสุดเราจะให้นักษาเขียมาว่า เค้าอยากให้อาจารย์สอนอย่างไร ซึ่งก็นำมาสู่การออกแบบในบบปฏิบัติการแรก ๆ (เราช่วยสอนเฉพาะ Lab.)   

      เราให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2 คน (มอบหมายคนที่มีผลการเรียนดีดูแลคนที่มีผลการเรียนต่ำกว่า) โดยบทแรก ๆ จะเรียนเกี่ยวกับ Morphology ของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งนศ.จะเรียนรู้ลักษณะภายนอกจากตัวอย่างที่มีอยู่ในห้อง โดยการวาดรูป และ label คำศัพท์ให้ถูกต้องทั้งภาษาไทย และอังกฤษ เราก็เลยคุยกับ นศ.ว่าคะแนนจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ผลจาก report และคะแนนการนำเสนอ โดยจะให้แต่ละกลุ่มเลือกพืชมา 1 ชนิดเพื่อนำเสนอด้วยปากเปล่า (ทั้งไทย และอังกฤษ) บทแรก นศ. ทำไม่ค่อยได้เลย สั่นมาก ไม่มั่นใจ ไม่กล้าพูด ต้องใช้เวลามาก แต่ก็ผ่านได้ และทุกท้ายชั่วโมง จะทำกระบวนการที่เรียกว่า AAR (After Action Review) โดยให้ นศ. สะท้อนว่าเค้าได้อะไร และอยากให้เราปรับปรุงกระบวนการสอนอย่างไรเพื่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ก็มีการสะท้อนที่เป็นประโยชน์ ผนวกกับการแซวเพื่อนๆ และอาจารย์บ้าง ทำให้บรรยากาศการเรียน เฮฮา ไม่เครียด (เปิดเพลงบรรเลงให้ฟังระหว่างชั่วโมง)

บทต่อ ๆ มา เราจะให้ นศ. สะท้อนหรือเล่าเรื่อง ดี ๆ เรื่องอะไรก็ได้ที่เค้าพบเจอในช่วง 2- 3 เรื่อง ที่เราไม่ได้เจอกัน...จากนั้นก็จะเข้าสู่บทเรียน....แล้วก็ทำ AAR

     การออกแบบการเรียนการสอนในส่วนของกายวภาคของพืช (Plant Anatomy) ก็ท้าทายเรา (อาจารย์ + นศ.) มาก มีทั้งหมด 3 บทด้วยกันคือ ราก ลำต้นและใบ เราออกแบบโดยให้มีการแบ่งกลุ่มใหม่ทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับจำนวนหัวข้อใน Lab นั้น ๆ แต่ส่วนใหญ่ไม่เกิน 4 กลุ่ม มอบหมายให้แต่ละกลุ่มศึกษาอย่างละเอียดทั้งเนื้อหาและโครงสร้างกายวิภาคของพืช โดยให้วาดรูปและลงสีตามออกมาตามข้อมูลที่เห็นจากกล้องจุลทรรศน์  จากนั้นให้กลุ่มนำเสนอภาพวาดประกอบกับการเชื่อมสัญญาณภาพสไลด์จากกล้องจุลทรรศน์ออกจอทีวี (จะมีคะแนนในส่วนการนำเสนอ โดย นศ.ให้คะแนนกันเอง) จากนั้นให้เวลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันข้ามกลุ่ม เป้าหมายคือให้ทุกคนในห้องรู้เท่ากัน เพราะสุดท้ายจะมีคะแนนตอบคำถามที่จะมีการจับฉลากชื่อสมาชิกจากกลุ่ม เพื่อตอบคำถาม และคะแนนที่ได้จะเป็นคะแนนของกลุ่ม

     จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้...พบว่าวิธีการแบบนี้ทำให้นักศึกษากระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้น มีการนำหนังสือหลายเล่มที่เกี่ยวข้องมาเรียนในชั่วโมง Lab มาแวะเวียนถามคำถามอย่างสม่ำเสมอ....มารบกวนให้เราฟังทั้งหมดที่เค้าจะนำเสนอ...รวมถึงการสังเกตช่วงเวลาที่เค้านั่งวาดรูปและช่วยกันอธิบายให้เพื่อน ๆ ฟัง เป็นช่วงเวลาที่คิดว่าเค้ามีความสุข แม้ว่าอาจจะตื่นเต้นตอนท้ายที่ต้องจับฉลากที่จะได้ตัวแทนมาตอบคำถาม....

     ในการเรียนชั่วโมงสุดท้าย เราให้กำลังใจพวกเค้า แล้วทำกระบวนการใหญ่โดยให้เค้าสะท้อนความรู้สึกทั้งหมดที่เค้ามีต่อวิชา Botany เพื่อเล่าให้คนที่รักฟัง.....แล้วเหล่านี้คือส่วนหนึ่งที่นำมาให้เห็นถึงสิ่งที่ นศ. สะท้อนมาใน AAR

อาจารย์ผู้ที่ทำหน้าที่ตัดเกรดให้เหตุผลว่า ที่ให้ F เพราะอยากให้นักศึกษามี “ปัญญา” และมี “คุณภาพ”

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
การอบรมและสัมมนา » link smart home cabling system technology for the future
เนื้อหาการอบรม link smart home cabling system technology for the future จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของเครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topology) องค์ประกอบพื้น...
เครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ  ช่องทางการติดต่อสื่อสารในระบบโทรคมนาคม  ประเภทของสายสัญญาณและ connector  รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เส้นใยนำแสง  องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน ภานุวัฒน์ เมฆะ  วันที่เขียน 10/7/2567 9:56:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:56:15   เปิดอ่าน 267  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:50:09   เปิดอ่าน 618  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง