รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : การเรียน
สรุปความรู้จากการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ » การเข้าร่วมเป็น Session Chair ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ECTI DAMT and NCON 2023
งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 8th International Conference on Digital Arts, Media and Technology (DAMT) and 6th ECTI Northern Section Conference on Electrical, Electronics, Computer and Telecommunications Engineering (NCON) หรือ ECTI DAMT and NCON 2023 เป็นงานประชุมที่จัดขึ้นเพื่อให้นักวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ ได้นำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องกับกับงานวิจัยด้านสื่อ ศิลปะดิจิทัล และการใช้เทคโนโลยดิจิทัล สารสนเทศ และคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ด้านต่างๆ ซึ่งในงานมีการนำเสนอบทความรวมมากกว่า 70 บทความ ซึ่งในบทความนี้จะเป็นการสรุปในส่วนที่ข้าพเจ้าเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่เป็น Session chair ใน Track Information Technology
คำสำคัญ : วิทยาการข้อมูล การเรียนรู้เครื่องจักร ระบบผู้เชี่ยวชาญ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน พาสน์ ปราโมกข์ชน  วันที่เขียน 19/9/2566 23:12:18  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 4:22:04
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การบรรยายพิเศษการออกแบบการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์ AUN-QA V.4; Criterion 3 ข้อกำหนด R3.5 The teaching and learning activities are shown to inculcate in students, new ideas, creative thought, innovation, and an entrepreneurial mindset.
การบรรยายพิเศษการออกแบบการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์ AUN-QA V.4; Criterion 3 ข้อกำหนด R3.5 The teaching and learning activities are shown to inculcate in students, new ideas, creative thought, innovation, and an entrepreneurial mindset. หัวข้อบรรยาย "การจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังผู้เรียน มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดค้นนวัตกรรม" โดยวิทยากร รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00 -12.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติและการจัดการสารสนเทศ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
คำสำคัญ : การคิดค้นนวัตกรรม  การจัดการเรียนการสอน  ความคิดสร้างสรรค์  ความคิดใหม่  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 851  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 4/3/2566 22:46:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 19:48:11
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เอกสารเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอบรม “การพัฒนาคณาจารย์ให้มีการสอนที่สร้างทักษะ ๔C สอดแทรกในรายวิชา (รุ่นที่ ๑)”
กระบวนการเรียนรู้ Learning Model คิดเป็นสัดส่วนในการเรียนรู้ ดังนี้ ลงมือปฏิบัติ : กระบวนการพี่เลี้ยง/โค้ช : เพิ่มเติมความรู้ในหลักสูตร คิดเป็นสัดส่วน ๗๐ : ๒๐ : ๑๐ และมีการทบทวนทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ อันได้แก่ ๔C ประกอบไปด้วย Creativity Critical thinking Communication and Collaboration โดยกระบวนการจัดการเรียนการสอนอยู่บนพื้นฐาน Mindset ของ Coach and Facilitator mindset ซึ่งมี Key Elements and Skill ที่ใช้ได้แก่ Deep Listening อันประกอบไปด้วย Be there ดำรงตนเพื่อคนอยู่ข้างหน้า Paraphrase การทวนสิ่งที่ได้ยินไม่เท่ากับเล่าเรื่องซ้ำสอง Empathic listening การสะท้อนความรู้สึก และการฟังแบบผู้อำนวยการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย Verbal (เนื้อหา) ๗% Vocal (น้ำเสียง) ๓๘% และ Visual (ภาษากาย) ๕๕% และการตั้งคำถามโดยโค้ช โดยที่ Mindset for Coaching and Facilitator ประกอบไปด้วย ๑. The map is not the territory. มนุษย์ทุกคนเป็นได้มากกว่าที่เห็น ๒. People is doing the best they can with the resources they have available. ทุกคนทำดีที่สุดแล้วเท่าที่ทรัพยากรที่มี ๓. Be behavioral flexibility. ทุกคนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ๔. There is no failure. It’s only feedback. จะไม่มีความล้มเหลว มีเพียงแต่การเสนอแนะหรือการสะท้อนกลับ อีกทั้งได้เรียนรู้กระบวนการ Coaching and Facilitator ซึ่งกรอบแนวคิดของผู้อำนวยการเรียนรู้ (Facilitator) ประกอบไปด้วย ๖C Model (Connect, Contract, Content, Conversation, Commit and Conclude)
คำสำคัญ : 4C  Coaching  Facilitator  การเรียนรู้ในศตวรรษที่21  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1087  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 10/2/2565 10:13:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/3/2567 21:56:14
เผยแพร่ความรู้จากการอบรม how to ทิ้ง ความน่าเบื่อในห้องเรียน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 » เผยแพร่ความรู้จากการอบรม How to ทิ้งความน่าเบื่อในห้องเรียน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564
ความน่าสนใจในเนื้อหาวิชาการ หากแม้อยู่ในห้องเรียนก็เป็นการยากที่ผู้เรียนจะสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัยการเรียนการสอนออนไลน์เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ต้องทำให้เนื้อหามีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นก็คือผู้สอน โดนเริ่มจากอันดับแรกผู้สอนต้องเปิดใจที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง และทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างการสอนในห้องเรียน กับการสอนออนไลน์ และในเมื่อผู้สอนเปิดใจแล้วขั้นตอนต่อมาคือการทำอย่างไรให้การเรีนในรูปแบบออนไลน์มีความน่าเบื่อน้อยลง ซึ่งจะพบว่าในปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่สามารถสนับสนุนส่งเสริมให้การเรียนการสอนออนไลน์มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามการศึกษารูปแบบการใช้โปรแกรมต่างๆแม้จะมีความแตกต่างกันออกไป แต่เมื่อใดที่ผู้สอนเปิดใจ ข้อจำกัดหรือ ข้อแม้เหล่านี้ก็จะหายไป ทำให้ผู้สอนสามารถค้นพบแนวทางของตนเองที่ทำให้สามารถทำงานปฎิบิติการสอนได้อย่างน่าสนใจแม้จะเป็นการสอนออนไลน์ก็ตาม
คำสำคัญ : การเรียนการสอนออนไลน์ ยอมรับ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1201  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน อนรรฆอร ศรีไสยเพชร  วันที่เขียน 4/10/2564 17:53:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 11:51:12
Piyatida Teaching KM » สัมมนา ฮาวทูทิ้ง...ความน่าเบื่อในชั้นเรียน เคล็ดลับการสร้าง Engagement ของผู้เรียน
การเรียนการสอนที่น่าเบื่อ และขาดการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนขาดความสนใจ และทำให้ผลการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ งานสัมมนานี้ถ่ายทอดเทคนิคและเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้สนุกและผู้เรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น ผ่านกิจกรรมและโปรแกรมช่วย รวมถึงการใช้จิตวิทยาการเรียนรู้มาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและใฝ่รู้ด้วยตนเอง
คำสำคัญ : การเรียนที่สนุก เทคนิคและเครื่องมือการสอน จิตวิทยาการเรียนรู้  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2867  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปิยธิดา กล่ำภู่  วันที่เขียน 30/9/2564 12:03:37  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 13:35:51
สรุปรายงานจากการอบรม » การผลิตสื่อด้วยโปรแกรมขั้นพื้นฐานในยุคโควิด
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่โรงเรียนจนถึงระดับมหาวิทยาลัย โดยนักเรียนและนักศึกษาจะต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนการสอนในชีวิตปกติใหม่ (New Normal) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคดิจิทัล เช่นเดียวกับบทบาทของครูอาจารย์ที่ต้องปรับตัว รับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนโดยใช้สื่อต่างๆ ที่เหมาะสมกับการถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้เรียนในชั้นเรียน “สื่อการเรียนรู้” (instructional media) มีบทบาทสำคัญมากในการจัดการการเรียนรู้ คุณสมบัติสำคัญของสื่อเปรียบได้กับการสื่อสาร โดยผู้สอนจะถ่ายทอดเนื้อหาต่างๆ ไปยังผู้เรียนโดยผ่านสื่อการเรียนรู้การผลิตสื่อในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ได้ง่ายสำหรับผู้ที่เริ่มต้น การผลิตสื่อโดยใช้โปรแกรมที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ipad หรืออุปกรณ์อิเลกโทรนิกส์ต่างๆ น่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับมือใหม่ที่เริ่มผลิตสื่อ เนื่องจากโปรแกรมเหล่านี้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งใช้ง่าย และไม่ยุ่งยาก แต่หากต้องการผลิตสื่อแบบมืออาชีพ อาจต้องใช้โปรแกรมที่สูงขึ้นเพื่อผลิตสื่อให้ตรงกับความต้องการ เช่น power point, canva, imovie, Loom, OBS และ DaVinci Resolve สื่อที่มีให้เลือกใช้ มีหลายโปรแกรมด้วยกัน โดยในแต่โปรแกรม จะมีข้อดีและข้อเสีย แตกต่างกันไป ดังนั้นควรเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการของตนเอง
คำสำคัญ : การผลิตสื่อ, สื่อการเรียนรู้,  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1216  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 29/9/2564 23:14:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 0:14:51
สรุปเนื้อหาจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ » ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ "ราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 9" จัดขึ้น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 โดยมีรูปแบบการจัดแบบออนไลน์
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ คือ ด้านความพร้อมของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ด้านสื่อสารสนเทศ และด้านคุณภาพการจัดการเรียนรู
คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้  สื่อสารสนเทศ  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1025  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน เยาวลักษณ์ คงธรรม  วันที่เขียน 28/9/2564 1:47:26  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 1:22:47
ทักษะการสอน (Teaching Skills) » การเรียนการสอนในยุค Covid-19
จาก Covid-19 นำมาสู่ New Normal เป็นสถานการณ์ขั้นเด็ดขาดที่จะไม่ทำไม่ได้ การพัฒนาตนเองเพื่อจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ ก็ถือว่าเป็นวิถีใหม่ของพวกเราชาวอุดมศึกษาเช่นกันค่ะ
คำสำคัญ : Covid -19, การเรียนการสอนออนไลน์, ms team, ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3503  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล  วันที่เขียน 3/10/2563 22:55:57  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 21:45:10
งานวิจัยสถาบัน » งานหนักไม่เคยฆ่าคน vs Life-long Learnings
วาทะโอวาทที่รู้จักกันดี "งานหนักไม่เคยฆ่าคน" ถอดเป็นปรัชญาการศึกษาของมหาวทิยาลัยแม่โจ้ได้อย่างไร แล้ว Life-long Learnings เข้าไปผูกกับกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างไร Stay Tuned
คำสำคัญ : งานหนักไม่เคยฆ่าคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การเรียนรู้ตลอดชีวิต Life-long learning  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2643  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุเนตร สืบค้า  วันที่เขียน 15/6/2563 10:08:35  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 16:03:43
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และแนวคิดที่คลาดเคลื่อน » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ
การศึกษาการจัดการเรียนการสอนด้วยสุยโมเดลเป็นรูปแบบหนึ่งการจัดการเรียนการสอนที่บรรลุผลตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และการพัฒนาโมเดล 5B บรรลุเป้ามายของการจัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)
คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอน  สุยโมเดล  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1980  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วิชาญ คงธรรม  วันที่เขียน 17/4/2563 9:17:43  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 7:41:40
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับจากการอบรม » ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมสัมมนาหัวข้อการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการเรียนการสอน จากที่ผู้สอนบรรยาย (Lecture) อยู่หน้าชั้นเรียน เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจจะทำในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งทำให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน รวมทั้งผู้เรียนด้วยกันเอง ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้นั้นเป็นการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ทำให้นักศึกษาเข้าใจ และจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ยาวนาน ทำให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นอย่างดี
คำสำคัญ : Active Learning  การจัดการเรียนการสอน  วิธีประเมินผล  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2413  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งกานต์ ใจวงค์ยะ  วันที่เขียน 3/12/2562 22:23:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/3/2567 22:28:22
เกร็คความรู้จากการประชุมวิชาการ » การนำโปรแกรม Kahoot มาใช้เพื่อการตอบสนองต่อการเรียนการสอน
คำสำคัญ : kahoot  โปรแกรมส่งเสริมการเรียนการสอน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3581  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุภารัตน์ ลีธนัชอุดม  วันที่เขียน 4/10/2562 15:26:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 11:26:53
การบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา » กิจกรรมนักศึกษา กับการใช้เทคโนโลยี สู่วิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21
โลกในศตวรรษที่ 21 กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือกิจกรรมนักศึกษานั้น ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะและประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนนั้นทำให้นักศึกษามีโอกาสได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ เป็นเครื่องมือฝึกให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม เป็นหมู่คณะ และรู้จักคิด รู้จักวางแผนอย่างเป็นกระบวนการ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ จะเป็นตัวกำหนดการทำงานขององค์กรอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีระยะเวลาที่แน่นอน สามารถวางระบบการทำงานที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ และปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน ฯลฯ
คำสำคัญ : กิจกรรมนักศึกษา วิชาชีวิต การเรียนรู้นอกห้องเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 9422  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ณัฐภัทร ดาวสุข  วันที่เขียน 9/9/2562 9:57:41  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 10:36:26
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 24 ประจำปี พ.ศ. 2562 (AMM 2019)
การประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 24 ประจำปี พ.ศ. 2562 “The 24th Annual Meeting in Mathematics” (AMM 2019) ณ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ระหว่างวันที่ 15-17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ตามใบขออนุมัติเดินทางไปปฏิบัติงาน ที่ ศธ 0523.4.5/153 ลงวันที่ 23 เดือนเมษายน พ.ศ. 2562 และใบขออนุมัติขยายระยะเวลาการเดินทางเข้าร่วมประชุมวิชาการฯ ที่ ศธ 0523.4.5/182 ลงวันที่ 10 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2562
คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์  การนำเสนอผลงานวิจัยทางคณิตศาสตร์  การประยุกต์ทางคณิตศาสตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2875  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 19/6/2562 16:02:04  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 0:42:44
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learner ที่มีคุณลักษณะ Soft skill
การจัดการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคดิจิตัล ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร จะทำอย่างไรให้ผู้เรียนเรียนได้อย่างสนุกและมีความสุข มีความน่าสนใจตลอดเวลา การทำให้นักศึกษามีทักษะต่างๆ ที่ต้องการ การใช้เทคโนโลยีมาช่วยเป็นสิ่งจำเป็นและทำได้ไม่ยากเกินไป เช่น Google Classroom
คำสำคัญ : Active Learner  Google Classroom  Soft Skill  การจัดการเรียนการสอน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3418  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 18/4/2562 11:57:26  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 10:59:31
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับจากการอบรม » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน
การเรียนการสอนในปัจจุบันจะต้องเปลี่ยนจากการบรรยาย เป็นการลงมือปฏิบัติ ซึ่งวิธีการหนึ่ง คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมด้วย
คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอน  การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3016  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งกานต์ ใจวงค์ยะ  วันที่เขียน 2/4/2562 23:15:06  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 8:21:12
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับจากการอบรม » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน
การเรียนการสอนในปัจจุบันจะต้องเปลี่ยนจากการบรรยาย เป็นการลงมือปฏิบัติ ซึ่งวิธีการหนึ่ง คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมด้วย
คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอน  การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3016  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งกานต์ ใจวงค์ยะ  วันที่เขียน 2/4/2562 23:15:06  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 8:21:12
สรุปรายงานการอบรม » การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learner ที่มีคุณลักษณ์ Soft Skill
ในปัจจุบันการเรียนการสอนได้จัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เอง โดยผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจากเป็นผู้ให้ความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงเป็นผู้จัดเตรียมและสนับสนุนกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ซึ่งการสื่อสาร การช่วยเหลือ ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน จะช่วยให้การเรียนรู้นั้นบรรลุวัตถุประสงค์ และยังทำให้เกิดทักษะด้านต่างๆ ตามมา เช่น ทักษะการค้นคว้า ทักษะการสื่อสาร ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะด้านภาษา ทักษะการทำงานเป็นทีม ร่วมทั้งการรับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นต้น ซึ่งเรียกทักษะเหล่านี้ว่า Soft skill ซึ่งผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดว่าต้องการพัฒนา Soft skill ของผู้เรียนด้านใด ทำให้การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นหลักสามารถพัฒนา Soft skill ของผู้เรียนควบคู่ไปด้วยเช่นกัน
คำสำคัญ : Active learner  Soft skill  การเรียนการสอน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5213  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช  วันที่เขียน 2/4/2562 18:07:03  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 20:38:22
Piyatida KM » เก็บตกจากงาน Make Learning Great Again and Again and Again!
เมื่อได้มีโอกาสไปร่วมงานนำเสนอผลงานวิจัย ในหัวข้อ รูปแบบการเรียนรู้สำหรับคนรุ่นใหม่ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงได้รวบรวมไฮไลท์ที่น่าสนใจที่ได้ฟังจากงาน มาเล่าเป็นเก็บตกเพื่อเป็นประโยชน์กับการพัฒนาการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน
คำสำคัญ : Learning  การเรียนรู้  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3781  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปิยธิดา กล่ำภู่  วันที่เขียน 29/8/2560 23:59:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 14:27:58
สรุปรายงานการอบรม » “การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ครั้งที่ 3 : การเปลี่ยนแปลงสู่มหาวิทยาลัย 4.0”
การเปลี่ยนแปลงสู่มหาวิทยาลัย 4.0 เพื่อการผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะตามที่โลก 4.0 ต้องการ คือ มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีทัศนคติที่ดีต่อการดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองที่ดี มีศีลธรรม จริยธรรม ซึ่งรูปแบบการสอนได้เปลี่ยนแปลงการถ่ายทอดความรู้ มาเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ผ่านการฝึกฝนให้เกิดทักษะโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ในหลากหลายมิติ
คำสำคัญ : มหาวิทยาลัย 4.0 นวัตกรรมการเรียนการสอน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2986  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช  วันที่เขียน 14/3/2560 14:49:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 23:27:59
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และแนวคิดที่คลาดเคลื่อน » การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และแนวคิดที่คลาดเคลื่อน
บทความนี้เป็นประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความสำคัญของการแก้ไขแนวคิดที่คลาดเคลื่อนของผู้เรียน ซึ่งถ้าไม่ได้แก้ไขแนวคิดของผู้เรียนที่มีแนวคิดที่คลาดเคลื่อน ให้มีแนวคิดที่ถูกต้องแล้ว อาจส่งผลเสียหายต่อผู้อื่นหรือสาธารณชนได้
คำสำคัญ : การเรียนรู้วิทยาศาสตร์  แนวคิดที่คลาดเคลื่อน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2668  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วิชาญ คงธรรม  วันที่เขียน 1/9/2559 17:06:04  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 6:39:18
DTI » รายงานผลการเข้าร่วมประชุมในการประชุมวิชาการ ICDAMT 2016 ณ จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
งานประชุมวิชาการ ICDAMT 2016 (International Conference on Digital Arts, Media and Technology) เป็นงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่จัดระหว่างวันที่ 17-20 กุมภาพันธ์ 2559 จัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยเชียงราย
คำสำคัญ : ICDAMT  เกมส์เพื่อการเรียนรู้  รายงานการเข้าร่วมประชุมวิชาการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3007  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน นษิ ตันติธารานุกุล  วันที่เขียน 8/3/2559 16:10:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 12:11:57
ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วม KM เรื่องการทวนสอบตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ » ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วม KM เรื่องการทวนสอบตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้
การทวนสอบตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นอีก 1 พันธกิจของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีกระบวนการในการจัดทำในหลายระดับ ตั้งแต่ ระดับมหาวิทยาลัย คณะ หลักสูตร และ รายวิชา โดยการทวนสอบตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้จะทำให้ทราบว่าการจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามหลักสูตรที่สร้างขึ้นหรือไม่ และควรมีการปรับปรุงหรือพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามที่แต่ละหลักสูตรได้กำหนดไว้
คำสำคัญ : การทวนสอบ  มาตรฐานผลการเรียนรู้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5780  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งกานต์ ใจวงค์ยะ  วันที่เขียน 7/3/2559 18:22:55  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 5:31:29
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง " Self Biography Study" » การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง " Self Biography Study"
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง " Self Biography Study" จัดโดย ดร. อรุโณทัย ไชยช่วย วันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2558 ณ โรงแรมฮอลิเดย์การ์เด็น จ. เชียงใหม่ พูดถึงการจัดการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบธรรมชาติ หรือเป็นการสอนเด็กไปตามพัฒนาการธรรมชาติของเด็ก มีรากฐานมาจากมนุษยปรัชญา (Anthroposophy) โดย ดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์ (Rudolf Steiner) การสอนแบบนี้จะทำให้เด็กโตขึ้นหรืออายุย่างเข้า 21 ปี เขาจะรู้จักตัวตนของตนเอง รู้ว่าต้องการอะไรหรือมีเป้าหมายในชีวิตอย่างไร ซึ่งต่างจากการสอนทั่วไป
คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอนแบบธรรมชาติ  การศึกษา  วอลดอร์ฟ  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4362  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ลลิดา ภู่ทอง  วันที่เขียน 4/3/2559 17:26:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 14:04:29
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2558 เมื่อวันที่ 23 – 24 มีนาคม 255 » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2558 เมื่อวันที่ 23 – 24 มีนาคม 255
ข้าพเจ้า อ.ดร.ปริศญารัตณ์ สังกะเพศ ตำแหน่งอาจารย์ สังกัดสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ จากการเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2558 เมื่อวันที่ 23 – 24 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมเวียงอินทร์ จังหวัดเชียงราย ตามหนังสือขออนุญาตเดินทางไปราชการ เลขที่ ศธ.0523.4.5 / 44 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2558 ซึ่งการเข้าร่วมประชุมวิชาการดังกล่าวข้าพเจ้าได้เลือกใช้งบประมาณการพัฒนาบุคลากรตามกรณีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ทางคณิตศาสตร์ 2. เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ 3. เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ด้านการวิจัย ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือเพื่อสร้างและพัฒนาความก้าวหน้าของงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ต่อไป
คำสำคัญ : การเรียนการสอนในทศวรรษที่ 21  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2555  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปริศญารัตณ์ สังกะเพศ  วันที่เขียน 6/9/2558 18:17:53  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/3/2567 22:27:57
รายงานวิจัยในชั้นเรียน » การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มนักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชา สต 312 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างสมการจำแนกกลุ่มนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา สต 312 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ และเพื่อศึกษาตัวแปรที่สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่มนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา สต 312 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา สต 312 ในภาคเรียนที่ 1/2557 จำนวน 273 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 41 ข้อ โดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟามีค่าเท่ากับ .9599 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพรรณนา สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มโดยวิธีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เรียนคณะผลิตกรรมการเกษตร ชั้นปีที่ 2 เกรดเฉลี่ยสะสมเท่ากับ 2.64 และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มพบว่า ระดับการปฏิบัติของทั้ง 2 กลุ่ม แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 (p<.05) ในด้านความตั้งใจเรียน (X1) ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X3) ด้านความมีวินัยในตนเอง (X4) และด้านเจตคติของผู้เรียน (X5) ส่วนด้านการแสวงหาความรู้ (X2) ไม่แตกต่างกัน (P>.05) สมการจำแนกกลุ่มนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ ซึ่งสามารถจำแนกความถูกต้องได้ร้อยละ 73.6 โดยมีสมการดังนี้ D = -5.378 + 2.110X1 + -.833X2
คำสำคัญ : การวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3429  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 3  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/4/2558 9:30:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 19:17:31
เข้าร่วมโครงการ » โครงการบูรณาการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน
รวบรวมความรู้ที่ได้รับจากการได้เข้าร่วมโครงการบูรณาการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน
คำสำคัญ : การเรียนการสอน  ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  บูรณาการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3378  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จีรวรรณ พัชรประกิติ  วันที่เขียน 12/3/2558 20:54:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/3/2567 22:27:53
การเผยแพร่ความรู้จากการอบรม » ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมรับฟังการบรรยาย เรื่อง Catalytic Conversations on Learning and the Road Ahead
การจัดการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน ต้องมีการปรับเปลี่ยน เนื่องจากลักษณะของผู้เรียนในปัจจุบัน แตกต่างจากผู้เรียนในอดีต การจัดการเรียนการสอนที่ใช้กิจกรรมเข้ามาประกอบจะทำให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3348  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งกานต์ ใจวงค์ยะ  วันที่เขียน 8/9/2557 8:59:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 8:55:35
ผลงานวิจัย » ผลการใช้รูปแบบผลการใช้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบซิปปา การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบซิปปา
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบซิปปา CIPPA ในรายวิชาหลักสถิติ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาหลักสถิติ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 2 กลุ่มเรียน 135 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเลือกกลุ่มเรียนที่ผู้วิจัยทำการสอน และการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้ตัวอย่างกลุ่มเดียวทดสอบหลังการทดลอง (One Group Posttest Design) และใช้แผนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า มีนักศึกษาที่สอบได้คะแนนตั้งแต่ 12.5 ขึ้นไป จำนวน 75 คน คิดเป็น ร้อยละ 55.6 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา อยู่ในระดับมาก 4.22 ซึ่งประเด็นความพึงพอใจในด้านการมีเทคนิคและวิธีการสอนที่หลากหลาย มีความน่าสนใจ ชัดเจน เข้าใจง่าย มีการกระตุ้นให้คิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ มีคะแนนอยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ : การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบซิปปา วิชาหลักสถิติ  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3448  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 15/8/2557 17:12:06  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/3/2567 22:02:17
การศึกษา » เพชะ คุชะ (Pecha Kucha) ช่วยสร้างสรรค์ความคิดและความมั่นใจ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเพชะ คุชะ (Pecha Kucha) นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์แบบกว้างไกลและมีความมั่นใจในตนเองมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ : Pecha Kucha  การเรียนการสอน  คณะผลิตกรรมการเกษตร  ความคิดสร้างสรรค์  เพชะคุชะ  ยุคศตรรษที่ 21  ห้องสมุด  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 12702  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 26/7/2557 17:47:21  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 17:17:25