รหัสอ้างอิง :
2063
|
|
ชื่อสมาชิก :
ฐาปกรณ์ เครือระยา
|
เพศ :
ชาย
|
อีเมล์ :
thapakorn_k@mju.ac.th
|
ประเภทสมาชิก :
บุคลากรภายใน [สังกัด]
|
ลงทะเบียนเมื่อ :
11/4/2559 13:27:50
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
11/4/2559 13:27:50
|
|
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การวาดรูปสีน้ำเบื้องต้น
เทคนิคสำหรับสีน้ำเบื้องต้นสามารถฝึกตาม โดยเริ่มร่างภาพตามต้นแบบดอกกล้วยไม้ที่เราเตรียมไว้ ซึ่งต้องหามุม จังหวะ และกะองศาจองดอกให้ถูก โดยช่อดอกแกนต้องตรง ถัดมามองภาพรวมของดอกทั้งหมดเป็นวงรีและตามด้วยกลีบสองข้างที่ยื่นออกมาและก้านของดอก แบ่งช่วงดอกด้านใน หลังจากขั้นตอนด้านบนจึงค่อยเก็บรายละเอียดด้านในของดอกทั้งหมดทำไปพร้อมๆกัน
การเริ่มลงสีจะใช้วิธีเปียกบนแห้ง คือรอให้สีที่ลงแต่ละชั้นแห้งก่อนแล้วจึงผสมสีให้เข้ม ขึ้นลงทับชั้นต่อไปเรื่อยๆ ผสมสีเพิ่มเพื่อลงในชั้นต่อไป ตรงนี้เป็นส่วนสำคัญ กะปริมาณสีและน้ำให้ดี
เพิ่มความเข้มของสีลงทับชั้นต่อไป ข้อควรระวังอย่าลงสีในลักษณะกดและย้ำภู่กัน ถูไปมาจะทำให้กระดาษช้ำจนงานเสีย สีเขียวที่ก้านผมผสม เหลืองไปนิดหน่อยและบวกแดงอีกนิด เพิ่มความเข้มชั้นต่อไป ระหว่างนี้อาจจะมีบางส่วนเป็นรอยด่างบ้าง ถ้าเกิดขึ้นมาแล้วอย่าไปใส่ใจมันมากควบคุมภาพรวมของงานสำคัญกว่า เพิ่มน้ำหนักเขียวเข้มในงานโดยใช้สีที่มีความเข้มเป็นส่วนของเงา
เก็บงานรอบสุดท้าย ซึ่งแต่ละคนอาจแบ่งชั้นของน้ำหนักมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ไม่มีผิดหรือถูก อยู่ที่ว่าเราสามารถสื่อออกมาให้คนอื่นรับรู้ได้ว่าเรากำลังวาดอะไร
|
การวาดรูปสีน้ำเบื้องต้น
»
หลักการการวาดสีน้ำ
|
หลักการระบายสีน้ำ และเทคนิคการระบายสีน้ำ ความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจคุณสมบัติของสีน้ำ และต้องสามารถควบคุมได้ การลงมือทดลองจะเห็นธรรมชาติและความเป็นไปของจังหวะสี ดังนั้นการสร้างสรรค์ภาพวาดสีน้ำจึงต้องใช้เทคนิคพื้นฐานการระบายสีน้ำ ซึ่งจะสามารถนำไปสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมสีน้ำที่สมบูรณ์
การระบายแบบเปียกบนเปียก (Wet ON Wet) : คือ สีเปียก (สีผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษเปียก (กระดาษที่ระบายน้ำหรือน้ำสีไว้แล้ว) วิธีการคือ ใช้พู่กันจุ่มสี (ค่อนข้างข้น) แตะแต้มบนกระดาษที่เปียกอยู่แล้วตามด้วยสีอื่น สีจะไหลซึม รุกรานเข้าหากันอย่างกลมกลืนและมีส่วนที่เกิดเป็นสีใหม่เพิ่มขึ้นมา
ถ้าทำบนกระดาษเปียกชุ่ม สีจะรุกรานกันรวดเร็วและนุ่มนวล เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายท้องฟ้า หรือน้ำทะเลได้ ถ้าทำบนกระดาษเปียก สีจะรุกรานไม่มากแต่ยังคงผสมผสานกลมกลืนกันดี เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายเป็นพวกวัตถุรูปทรงทั่วไปได้ ถ้าทำบนกระดาษหมาด สีจะผสมผสานกลมกลืนกันน้อย เห็นการแยกสัดส่วนชัดเจนกว่า เทคนิคนี้นำไปใช้ สร้างพื้นผิวแสดงความแตกต่าง ไม่เรียบ
การระบายแบบเปียกบนแห้ง (Wet ON Dry) : เป็นลักษณะการระบายเรียบโดยใช้สี (ผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษแห้งมี 3 รูปแบบ ดังนี้
ระบายเรียบสีเดียว (Flat wash) : โดยใช้พู่กันจุ่มสีระบายไปตามแนวนอนบนกระดาษที่เอียงเล็กน้อยให้น้ำสีไหลลงไปกองข้างล่างแล้วระบายต่อเนื่องกันลงไปจนจบ การระบายครั้งต่อไปให้ต่อที่ใต้คราบน้ำที่ยังเปียกอยู่ ผลที่ได้คือสีจะใส เรียบสม่ำเสมอ ระวัง อย่านำพู่กันไปจุ่มน้ำ หรือเติมน้ำลงในสี ระหว่างทำงานเพราะจะทำให้สีที่ได้ไม่เรียบเกิดเป็นขั้นได้
ระบายเรียบหลายสี (Colour wash) : ทำเหมือนกับระบายเรียบสีเดียวแต่เมื่อจบสีที่ 1 แล้วให้ระบายสีที่ 2 ต่อที่ใต้คราบน้ำขณะที่เปียกอยู่ ผลที่ได้คือ สีต่างๆ จะมีการผสมผสานกลมกลืนกันอย่างต่อเนื่อง หมายเหตุ ทั้งการระบายเรียบสีเดียว และ หลายสี เป็นพื้นฐานของงานสีน้ำที่นำไปใช้ระบาย ให้เกิดภาพแล้วแต่ว่าจะให้เป็นสีเดียว หรือหลายสี เช่น ภาพคนใส่เสื้อผ้า ก็ต้องเป็นระบายเรียบหลายสี
ระบายเรียบอ่อนแก่ (Grade wash) : เป็นการระบายให้เกิดค่าน้ำหนักของสี จะเริ่มจากอ่อนไปหาแก่ หรือ จากแก่ไปหาอ่อนก็ได้ ถ้าเริ่มจาก แก่ไปหาอ่อน ก็ผสมสีให้ข้นกว่าปกติ แล้วระบายเรียบได้ช่วงหนึ่งให้ล้างพู่กันจนสะอาดแล้วจุ่มน้ำมาระบายใต้คราบน้ำเป็นระยะๆให้สีจางลงไปเรื่อยๆ ถ้าเริ่มจาก อ่อนไปหาแก่ ให้ผสมสีเจือจางแล้วระบายเรียบไปช่วงหนึ่ง ก็เพิ่มสีให้มีความเข้มข้นขึ้น แล้วระบายต่อใต้คราบน้ำลงมา เป็นระยะๆ ให้สีเข้มขึ้นการระบายเรียบอ่อนแก่ เป็นเทคนิคที่นำไปใช้ระบายให้เกิด มิติ แสง-เงา
การระบายแบบแห้งบนแห้ง (DRY ON DRY) : เป็นการระบายสีข้นๆบนกระดาษแห้งในลักษณะต่างๆเช่น แตะ แต้ม ขีด เขียน ลากเส้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการใช้ส่วนต่างๆของพู่กันคือปลายบ้าง โคนบ้างเพื่อให้เกิดเป็นลักษณะต่างๆ เทคนิคนี้นำไปใช้เน้นเพื่อเพิ่มรายละเอียดของภาพ เช่น เมื่อเราทำภาพตัวบ้านเสร็จแล้วเราก็มาใส่ประตู หน้าต่าง ด้วยการใช้สีข้นๆ แตะ แต้ม ลงไปเราก็จะได้รายละเอียดของภาพแบบ
ดังนั้น การวาดภาพสีน้ำกระบวนการสำคัญคือการให้แสงและเงา ที่เข้าใจธรรมชาติของภาพ แล้วนำมาร้างสรรค์งานภาพวาดสีน้ำต่อไป
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
5371
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ฐาปกรณ์ เครือระยา
วันที่เขียน
5/9/2563 22:15:54
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 16:50:44
|
|
|
|
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้