กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เชิญบุคลากรเข้าร่วมโครงการ AUN-QA Sharing
หัวข้อเรื่อง “ระบบประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ AUN QA Version 4.0 (AUN-QA Overview)”
ระหว่างวันที่ 19,21 มกราคม 2565 ผ่านทางโปรแกรม Zoom Meeting โดยสามารถสรุปประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
1. การออกแบบหลักสูตรให้ตอบสนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร สะท้อนถึงความต้องการ ของผู้ที่เกี่ยวข้องครบทุกภาคส่วน และผลการเรียนรู้นั้นต้องครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะเฉพาะทาง และทักษะทั่วไป
- Expected Learning Outcomes (ELOs) are what a learner is expected to know, understand, and be able to do after the completion of a learning process ในระดับหลักสูตร จะหมายถึง 2 อย่างคือ
- Program Learning Outcomes (PLOs) สิ่งที่หลักสูตร ต้องการ/คาดหวัง ให้บัณฑิตเป็น เมื่อเรียนครบตามโปรแกรมของหลักสูตร
- Course Learning Outcomes (CLOs) สิ่งที่รายวิชา ต้องการ/คาดหวัง ให้นิสิตได้รับ เมื่อเรียนครบตามเนื้อหาของรายวิชา
- Year Learning Outcomes (YLOs) ที่จะระบุว่านิสิตต้องได้อะไรในแต่ละปี
- Design backward เป็นการออกแบบย้อนกลับว่า ถ้าต้องการบัณฑิตหน้าตาแบบนี้ ต้องทำอย่างไร
(Backward Curriculum Design: Content, Course, Structure, Study plan, Curriculum mapping
2. ระบบการประกันคุณภาพของ AUN-QA
การประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance : AUNQA) ประกอบด้วย 3 มิติ คือ
- Strategic เป็นการประกันคุณภาพระดับสถาบันการศึกษา
- Systemic เป็นการประกันคุณภาพระบบการประกันคุณภาพภายใน
- Tactical เป็นการประกันคุณภาพระดับโปรแกรมหรือระดับหลักสูตร
3. เกณฑ์ AUN-QA เพื่อเป็นเกณฑ์การประกันคุณภาพระดับหลักสูตร เพื่อยืนยันว่า หลักสูตรได้มาตรฐานเทียบเคียงเกณฑ์คุณภาพการศึกษาระดับอาเซียน
- การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ AUN-QA version 3 สู่ version 4 ซึ่งเป็น version ล่าสุด เป็นการจัดหมวดหมู่ใหม่ ให้มีความกำชับมากขึ้น โดยจุดมุ่งเน้นยังเน้น
- การผลักดันการศึกษาแบบ Outcome Based Education หรือการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลการเรียนรู้เกณฑ์จาก version3 ที่มี 11 เกณฑ์ ลดลงเหลือ 8 เกณฑ์ แต่สาระเดิมไม่ได้หายไป แต่เป็นการผนวกเข้าไว้ด้วยกัน เรื่องใดที่เป็นเรื่องเดียวกัน กระบวนการเดียวกัน หรือกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน ก็จะผนวกไว้ในข้อเดียวกัน ดังนั้น Version 4 จึงมีจำนวนเกณฑ์ที่ลดลง
- การนำเกณฑ์ AUN-QA ในหลักสูตรระดับปริญญาตรี สามารถดำเนินการใช้ได้ตามเกณฑ์ได้เลย แต่กรณีหลักสูตรแต่หลักสูตรระดับบัณฑิต (ป.โท-เอก) ที่เน้นการวิจัย หรือจัดการศึกษาที่แตกต่างจากระบบปกติ เช่น จัดการเรียนการสอนแบบไม่มี Couse work ควรจะต้องพิจารณาการกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่กำหนดไว้ในภาคผนวก (addendum) ส่วนท้ายของเล่มคู่มือ AUN-QA version 4 ก่อน
4. แนวทางของ AUN-QA Version 4.0 จำนวน 8 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 : ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ด้านที่ 2 : โครงสร้างโปรแกรมและเนื้อหา ด้านที่ 3 : แนวทางการจัดเรียนการสอน ด้านที่ 4 : การประเมินผู้เรียน ด้านที่ 5 : คุณภาพของบุคลากรสายวิชาการ ด้านที่ 6 : การบริการและการช่วยเหลือผู้เรียน ด้านที่ 7 : สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานด้านที่ 8 : ผลผลิตและผลลัพธ์