เทคนิคการเพิ่มความเร็วของอินเตอร์เน็ตให้แรงและเร็ว !!!
วันที่เขียน 24/3/2564 22:53:43     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:56:19
เปิดอ่าน: 3265 ครั้ง

การเพิ่มความเร็วของอินเตอร์เน็ตให้มีความเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งแบบใช้งานที่บ้านหรือสำนักงาน

เทคนิคการเพิ่มความเร็วของอินเตอร์เน็ตให้แรงและเร็ว !!!

              ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เกิดขึ้น ทำให้ต้องมีการทำงานรูปแบบ Work Form Home หรือการเข้าทำงานแบบสลับวัน ในบางองค์กรหรือหน่วยงาน  ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือสัญญาณ Wi-Fi  จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้ และเป็นเรื่องน่าหงุดหงิดหากอินเตอร์เน็ตที่เราใช้งานและจ่ายค่าบริการรายเดือนไปแล้ว แต่สัญญาณที่ได้กลับขาดๆหายๆ หรืออ่อนแรงเสีย  ดังนั้นจึงขอแนะนำ เทคนิคการเพิ่มความเร็วของอินเตอร์เน็ตให้แรงและเร็ว !!! โดยไม่จำเป็นต้องอัพเดทแพ็กเกจอินเตอร์เน็ตรายเดือนราคาแพง เป็นการช่วยประหยัดเงินในระยะยาวอีกทางหนึ่งได้ โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

  1. เลือกตำแหน่งติดตั้งเราท์เตอร์ในจุดที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตบ่อยที่สุด โดยพยายามเลือกจุดติดตั้งไว้ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของตัวบ้านหรือสำนักงาน
    ตรงจุดที่มองดูแล้วว่าเสาอากาศสามารถกระจายสัญญาณ WiFi ออกไปได้ทั่วถึงและครอบคลุมจุดต่างๆ ที่ใช้งานมากที่สุด
  2. วางเราท์เตอร์ไว้บนที่สูง ถ้าจำเป็นต้องติดที่ชั้นล่าง แต่อยากให้สัญญาณแรงไปถึงชั้น 2 ให้เลือกวางเราท์เตอร์ WiFi ไว้บนเฟอร์นิเจอร์สูง หรือเลือกแขวนเราท์เตอร์ ยิ่งใกล้เพดานยิ่งดี ที่สำคัญอย่าวางเราท์เตอร์ในมุมอับ
  3. หลีกเลี่ยงจุดติดตั้งที่อยู่ใกล้สิ่งกีดขวางสัญญาณ สิ่งกีดขวางที่เป็นคู่ปรับของสัญญาณ WiFi เช่น กำแพงคอนกรีต, โลหะ, และกระจก สิ่งของที่มีส่วนประกอบพวกนี้สามารถลดทอนหรือถึงขั้นกีดกันสัญญาณ WiFi ที่ส่งออกมาจากเราท์เตอร์ให้หายไปได้ เพราะฉะนั้นหลีกเลี่ยงจุดติดตั้งเราท์เตอร์ให้ไกลไว้จะเป็นการดีที่สุด
  4. คลื่นรบกวนจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้สัญญาณ WiFi กระจายตัวอยู่บนคลื่นความถี่ 2.4 gHz กับ 5gHz ซึ่งตรงกับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่าง เช่น เตาไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ หรือโทรศัพท์ไร้สาย เมื่อคุณใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้จะทำให้สัญญาณบนคลื่นความถี่เดียวกันมาชนกันและเกิดการหักล้างจนทำให้สัญญาณ WiFi ถูกรบกวน ฉะนั้นเลือกจุดติดตั้งให้ห่างไกลจุดที่วางเครื่องใช้ไฟฟ้า
  5. หมุนเสาสัญญาณเราเตอร์ เสาอากาศเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการปล่อยสัญญาณและรองรับการเชื่อมต่อของสัญญาณ WiFi กับ Device ต่างๆ การเลือกปรับเสาสัญญาณให้เหมาะสมจะช่วยทำให้สัญญาณ Wi-Fi ถูกส่งออกไปได้ตรงจุดที่ใช้งานมากที่สุด โดยปรับเสาเป็นแนวตั้งถ้าต้องการให้สัญญาณกระจายได้ดีในชั้นที่วางเราท์เตอร์ และปรับเสาเป็นแนวนอนขนานไปกับพื้น ถ้าต้องการให้สัญญาณการกระจายได้ดีในการใช้งาน
  6. ตั้งรหัสผ่านการเข้าใช้งาน WiFi ยิ่งมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อมากเท่าไหร่ สัญญาณ Wi-Fi ก็ยิ่งอ่อนแรงลงเท่านั้น ซึ่งการเลือกจุดติดตั้งเราท์เตอร์ที่ดีที่สุดในบ้านหรือสำนักงานก็อาจจะบังเอิญเผื่อแผ่สัญญาณไปถึงคนข้างบ้านได้ ฉะนั้นจึงควรป้องกันการเข้าใช้งาน WiFi ของข้างบ้านที่ไม่ได้รับเชิญด้วยการตั้งรหัสเข้าใช้งาน
  7. เพิ่มตัวช่วยกระจายสัญญาณ ถ้าบ้านหรือสำนักงานกว้างและมีหลายชั้นให้พิจารณาการติดตั้งตัวช่วยเพิ่มอย่างการเดินสายแลน หรือซื้อ Wireless Access Points ติดตั้งเพิ่มระหว่างชั้นเพื่อขยายสัญญาณ WiFi ให้กระจายได้ครอบคลุมมากขึ้น
  8. ปิด router เมื่อไม่ได้ใช้งาน หากเราท์เตอร์ทำงานต่อเนื่องติดกันตลอด 24 ชั่วโมง ก็ต้องมีพังหรือเสีย การที่เราเปิดใช้งานเราท์เตอร์อย่างหนัก ทั้งวันทั้งคืนก็ส่งผลให้เครื่องอืดได้ ทางที่ดีหากยังไม่ได้ใช้ก็ปิดไป พอจะใช้ใหม่ก็ค่อยเปิด ให้เครื่องได้พักบ้าง
  9. ตรวจสอบความแรงของสัญญาณ หากอยากรู้จุดบอดสัญญาณไร้สายภายในบ้านหรือสำนักงาน ให้ลองใช้แอปบนมือถือชื่อ CloudCheck เพื่อทดสอบ แอปนี้ช่วยระบุตำแหน่งที่สัญญาณแรงที่สุดได้ เพื่อให้สามารถหาตำแหน่งวางเราท์เตอร์ที่ดีที่สุดได้
    หรือใช้แอป Speedtest เพื่อทดสอบความแรงของสัญญาณอินเตอร์เน็ต
  10. ตรวจสอบเราท์เตอร์ไร้สาย ได้รับการอัปเดตเฟิร์มแวร์และไดรเวอร์เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด แม้ว่าเราท์เตอร์รุ่นใหม่กว่าส่วนใหญ่จะมีกระบวนการอัปเดตในตัว แต่อาจจำเป็นต้องเข้าถึงการตั้งค่าของเราท์เตอร์เพื่อเริ่มการอัปเดตด้วยตนเอง หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของผู้ผลิตอุปกรณ์เพื่อค้นหาการแก้ไขบัก

 

วิธีการอื่นๆ ในการเพิ่มความเร็ว Wi-Fi และเพิ่มระยะในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

           1.ใช้เครื่องขยายระยะสัญญาณไร้สาย แม้ว่าอุปกรณ์นี้จะไม่เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อ แต่ก็สามารถเร่งสัญญาณเข้าสู่จุดบอดภายในบ้านหรือสำนักงานได้ ตัวอย่างเช่น หากเราท์เตอร์อยู่บนชั้นหนึ่งของบ้านหรือสำนักงาน อาจต้องการใช้เครื่องขยายระยะสัญญาณไร้สายบนชั้นอื่นเพื่อเร่งสัญญาณ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากสำหรับบริเวณที่มีผนังหนา หรือมีโครงสร้างทางกายภาพอื่นๆ ที่กีดขวางสัญญาณไร้สาย

          2.เพิ่มจุดเชื่อมต่อ จินตนาการว่าจุดเชื่อมต่อนั้นเป็นการสร้างโครงข่ายระบบไร้สายภายในบ้านหรือสำนักงาน จุดเชื่อมต่อจะส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตถึงกันและกันเพื่อสร้างเป็นเครือข่ายไร้สาย ซึ่งเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีหลายชั้น

           3.เพิ่มความเร็วในการสตรีมข้อมูล โดยปรับเปลี่ยนการตั้งค่าเราท์เตอร์ไร้สาย เพื่อเพิ่มความกว้างของช่องสัญญาณด้วยตัวเลือก 20, 40, 80 และแม้แต่ 160 MHz เพื่อยกระดับความเร็วในการเชื่อมต่อ Wi-Fi และขยายระยะสัญญาณได้

           หวังว่าเทคนิคนี้เป็นการช่วยให้สามารถเพิ่มความเร็วของระบบอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายหรือWIFI ที่ใช้งานในบ้านหรือสำนักงาน ได้เป็นอย่างดี

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ » UX/UI Design ต่างกันอย่างไร
การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล มีความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design: UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (...
UI Design  UX Design  UX UI  UX/UI  การออกแบบเว็บ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ช่อทิพย์ สิทธิ  วันที่เขียน 6/9/2567 14:14:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:01:52   เปิดอ่าน 101  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาโปรแกรม » การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร
การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการนำระบบจัดเก็บและทำลายเอกสารมาช่วยปรับปรุงประสิทธิผล ในกระบวนการทำ...
Re-Design Process?  ระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/9/2567 11:45:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:53:41   เปิดอ่าน 250  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » ข้อมูลเปิด (Open Data) เบื้องต้น
ข้อมูลเปิด (Open Data) คือ ข้อมูลที่สามารถเข้าถึง ใช้งาน แก้ไข และแบ่งปันได้โดยไม่จำกัดข้อกำหนดหรือค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดมักถูกเผยแพร่ในรูปแบบที่สามารถอ่านและวิเคราะห์ได้ง่าย เช่น ไฟล์ CSV, JSON, หร...
การเข้าถึง  การใช้งาน  การแบ่งปัน  การเปิดเผย  ข้อมูลเปิด     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 2/9/2567 9:45:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:01:22   เปิดอ่าน 98  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง